นโยบายเศรษฐกิจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นโยบายเศรษฐกิจ ของรัฐบาลครอบคลุมระบบการตั้งระดับการเก็บภาษีอากร งบประมาณภาครัฐ ปริมาณเงินและอัตราดอกเบี้ย ตลอดจนตลาดแรงงาน การเป็นเจ้าของกิจการของรัฐและการแทรกแซงทางเศรษฐกิจอย่างอื่นของรัฐบาล

นโยบายเศรษฐกิจส่วนใหญ่จำแนกได้เป็นนโยบายการคลังซึ่งว่าด้วยการกระทำของรัฐเกี่ยวกับภาษีอากรและรายจ่าย หรือนโยบายการเงินซึ่งว่าด้วยมาตรการของธนาคารกลางเกี่ยวกับปริมาณเงินและอัตราดอกเบี้ย

ประเภทของนโยบายเศรษฐกิจ[แก้]

ตัวอย่างการแบ่งประเภทนโยบายเศรษฐกิจ เช่น[1]

  • นโยบายรักษาเสถียรภาพมหภาค ซึ่งพยายามรักษาการเติบโตของปริมาณเงินไว้ในอัตราที่ไม่ก่อให้เกิดเงินเฟ้อมากเกิน และพยายามปรับวัฏจักรธุรกิจให้ราบรื่นขึ้น
  • นโยบายการค้า ซึ่งหมายถึง พิกัดศุลกากร ความตกลงการค้าและสถาบันระหว่างประเทศที่ควบคุมการค้า
  • นโยบายที่ออกแบบมาเพื่อสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ
  • นโยบายที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์การพัฒนา
  • นโยบายที่จัดการกับการกระจายรายได้ ทรัพย์สิน และ/หรือ ความมั่งคั่ง
  • ตลอดจน นโยบายข้อบังคับ นโยบายต่อต้านการรวมกันผูกขาด นโยบายอุตสาหกรรม และนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจแบบอาศัยเทคโนโลยี

อ้างอิง[แก้]

  1. Walter Plosila, "State Science- and Technology-Based Economic Development Policy: History, Trends and Developments, and Future Directions," Economic Development Quarterly, Vol. 18, No. 2, May 2004, pp. 113-126