นโยบายพลังงานแห่งชาติปากีสถาน
นโยบายพลังงานแห่งชาติปากีสถานได้รับการประกาศเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553 โดยนายกรัฐมนตรีแห่งปากีสถาน ยูซาฟ ราซา จิลานี เพื่อรับมือกับภาวะขาดแคลนพลังงานที่เริ่มขยายวงกว้างขึ้นในประเทศ[1] การประกาศดังกล่าวมีขึ้นหลังจากการประชุมสามวันในกรุงอิสลามาบาด ซึ่งอภิปรายถึงสาเหตุของวิกฤตการณ์พลังงานในปากีสถานและหนทางที่เป็นไปได้ในการแก้ไข[2] ป้ายนีออนดังกล่าวถูกสั่งห้ามและวันสุดสัปดาห์ถูกขยายออกไปจากหนึ่งวันเป็นสองวันในความพยายามที่จะรักษาพลังงานไฟฟ้าไว้
เบื้องหลัง
[แก้]เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นและสาธารณูปโภคผลิตพลังงานไฟฟ้าที่ล้มเหลวอย่างรุนแรง ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนพลังงานในปากีสถาน ความขาดแคลนดังกล่าวนำไปสู่เหตุการณ์ไฟฟ้าดับขยายวางกว้าง ซึ่งทำให้อุตสาหกรรมเป็นอัมพาตและนำไปสู่การประท้วงและจลาจล[1] ช่วงที่ไม่มีกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นนานประมาณ 6-8 ชั่วโมงต่อวันในเขตเมือง[3] และมากกว่านั้นในเขตชนบท
ผู้เชี่ยวชาญได้เตือนถึงวิกฤตการณ์พลังงานที่อาจมาถึงในอนาคต นับตั้งแต่ พ.ศ. 2549[4] ในงานสัมมนา Fueling the Future: Meeting Pakistan's Energy Needs in the 21st Century (เติมเชื้อเพลิงให้กับอนาคต: การบรรลุความต้องการพลังงานของปากีสถานในคริสต์ศตวรรษที่ 21) ซึ่งถูกจัดขึ้นในวอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 จากนั้น ที่ปรึกษาด้านพลังงานต่อนายกรัฐมนตรีปากีสถาน Mukhtar Ahmed กล่าวว่า ปากีสถานกำลังหาหนทางในการพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาขาดแคลนพลังงาน[5] บริษัทพลังงานไฟฟ้าปากีสถาน ประมาณการว่ามีการขาดแคลนพลังงานว่า 6 จิกะวัตต์ หรือกว่า 60% ของปริมาณการผลิตทั้งหมด[6] เป็นที่เชื่อกันว่าหนึ่งในสาเหตุหลักของการขาดแคลนพลังงาน คือ ความล้มเหลวของรัฐบาลที่ผ่านมาในการคาดการณ์ถึงการต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้น และความล่าช้าในการสนับสนุนโครงการเพื่อเพิ่มการผลิตพลังงาน นอกจากนั้น ยังมีการปล้นพลังงานอย่างกว้างขวางและการขาดกาลงทุนในระบบส่งไฟฟ้าที่มีอยู่แล้ว[7]
สหรัฐอเมริกาได้จัดอันดับการพัฒนาสาธารณูปโภคด้านพลังงานของปากีสถานเป็นหนึ่งในเรื่องที่มีลำดับความสำคัญสูงสุด[8] ทูตพิเศษสหรัฐอเมริกา ริชาร์ด ฮอลบรูค บรรยายสถานการณ์ด้านพลังงานในปากีสถานว่า "ยอมรับไม่ได้" และกล่าวว่าสหรัฐอเมริกาจะดำเนินการ "อย่างจำกัด" เพื่อช่วยเหลือให้ปากีสถานผ่านพ้นวิกฤตการณ์ดังกล่าว[9]
มาตรการ
[แก้]มาตรการต่าง ๆ ที่ออกมามีเป้าหมายที่จะลดการบริโภคลง 500 เมกาวัตต์ วันสุดสัปดาห์อย่างเป็นทางการถูกขยายออกไปจากหนึ่งเป็นสองวัน มีการสั่งห้ามป้ายนีออนและไฟประดับตกแต่ง พลังงานที่ถูกส่งไปยังสำนักงานของรัฐลดลง 50% และอนุญาตให้เปิดเครื่องปรับอากาศหลังจาก 11 นาฬิกาเท่านั้น ตลาดตามท้องถนนจะได้รับการร้องขอให้ปิดก่อนปกติ[1] ศูนย์การค้า ยกเว้นร้านขายยาจะถูกปิดเมื่อเวลา 20 นาฬิกา และพิธีฉลองการแต่งงานจะถูกจำกัดเหลือเพียงสามชั่วโมง รัฐบาลจะจ่ายหนี้ 1.38 พันล้านดอลลาร์สหรัฐให้กับผู้ผลิตพลังงาน เพื่อจ่ายให้กับผู้จัดหาเชื้อเพลิง[10] อุปทานพลังงานของเมืองหลวงทางพาณิชย์ของปากีสถาน การาจี จะถูกลดลง 300 เมกาวัตต์ เพื่อให้มีการแจกจ่ายพลังงานไปยังส่วนที่เหลือของประเทศอย่างเป็นธรรม[11] Tube well จะไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดบริการระหว่าง 19-23 นาฬิกา มาตรการต่าง ๆ เหล่านี้จะได้รับการพิจารณาอีกครั้งเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553[12]
การตอบสนอง
[แก้]ไม่กี่วันหลังจากการประกาศมาตรการ ผู้ค้าในละฮอร์ปฏิเสธการตัดสินใจของรัฐบาลและเปิดตลาดหลังจาก 20 นาฬิกา อันเป็นการฝ่าฝืนการสั่งห้ามของรัฐบาลเช่นเดิม[13] ร้านค้ายังเปิดทำการอยู่ในเมืองอื่นหลังจาก 20 นาฬิกาเช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีความสับสนในการสนับสนุนสุดสัปดาห์ซึ่งมีสองวัน ธนาคารและสถาบันการศึกษาจำนวนมากยังคงเปิดทำการต่อไป[14] การให้ความเห็นในอารมณ์ไม่เกรงกลัวของผู้ค้า บทบรรณาธิการในหนังสือพิมพ์ ดอน กระตุ้นให้ทุกคนหาส่วนกลางระหว่างความคิด[15]
ปฏิกิริยาต่อการตัดสินใจของการจำกัดอุปทานพลังงานในการาจี หัวหน้าพรรคการเมืองหลายพรรคในสมัชชาส่วนภูมิภาค Sindh ประณามการตัดสินใจดังกล่าว บางคนเรียกว่า "ทฤษฎีสมคบคิดในการสร้างสถานการณ์ในการรักษากฎหมายและความสงบเรียบร้อย"
นักวิเคราะห์บางคนพยากรณ์ว่าการลดในสัปดาห์ทำการของธนาคารเหลือ 5 วัน จะทำให้มีรายได้ลดลง[16]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "Pakistan's PM announces energy policy to tackle crisis". BBC. April 22, 2010. สืบค้นเมื่อ 22 April 2010.
- ↑ "Steps taken to tackle energy crisis". Geo TV. April 22, 2010. สืบค้นเมื่อ 23 April 2010.
- ↑ "Pakistan turns off lights to end energy crisis". Khaleej Times. April 22, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-08. สืบค้นเมื่อ 22 April 2010.
- ↑ "Major energy crisis feared". Dawn. July 29, 2006. สืบค้นเมื่อ 24 April 2010.
- ↑ "Pakistan needs to tackle energy crisis". Dawn. June 24, 2006. สืบค้นเมื่อ 24 April 2010.
- ↑ "Electricity shortfall reaches 6,000MW". Dawn. April 18, 2010. สืบค้นเมื่อ 23 April 2010.
- ↑ "Crisis talks as power shortages hit Pakistan industry". Reuters. April 22, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-01. สืบค้นเมื่อ 22 April 2010.
- ↑ "Pakistan announces measures to save energy". Forbes. April 22, 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-03. สืบค้นเมื่อ 22 April 2010.
- ↑ "US to help Pakistan tide over energy crisis". Dawn. April 20, 2010. สืบค้นเมื่อ 24 April 2010.
- ↑ "Pakistan War on Power Deficit to Shut Offices, Ban Neon Signs". Bloomberg Businessweek. April 22, 2010. สืบค้นเมื่อ 22 April 2010.
- ↑ "Gilani vows to reduce load-shedding". Dawn. April 23, 2010. สืบค้นเมื่อ 22 April 2010.
- ↑ "Energy conservation strategy announced". The News International. April 23, 2010. สืบค้นเมื่อ 23 April 2010.
- ↑ "Traders defy order of markets' closure". Dawn. April 23, 2010. สืบค้นเมื่อ 23 April 2010.
- ↑ "Two holidays: confusion over implementation". The News International. April 24, 2010. สืบค้นเมื่อ 24 April 2010.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Traders' defiance". Dawn. April 25, 2010. สืบค้นเมื่อ 25 April 2010.
- ↑ "Two-day weekend to hurt banks' earnings". The News International. April 25, 2010. สืบค้นเมื่อ 25 April 2010.[ลิงก์เสีย]