นิวเวฟ
นิวเวฟ | |
---|---|
แหล่งกำเนิดทางรูปแบบ | พังก์ร็อก อาร์ตร็อก[1][2] การาจร็อก แกลมร็อก ผับร็อก สกา เร็กเก ฟังก์ ดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ บับเบิลกัมป็อป[3][4] ดิสโก้[5][6][7] |
แหล่งกำเนิดทางวัฒนธรรม | กลางถึงปลายทศวรรษที่ 1970 สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา |
เครื่องบรรเลงสามัญ | เสียงร้อง - กีตาร์ - กีตาร์เบส - กลอง - คีย์บอร์ด |
รูปแบบอนุพันธุ์ | Neue Deutsche Welle |
แนวย่อย | |
ซินธ์ป็อป – อิเล็กโทรแคลช – อิเล็กโทรป็อป – ม็อดรีไววอล – แดนซ์พังก์ - ดาร์กเวฟ | |
แนวประสาน | |
ซินธ์พังก์ – ทูโทน | |
หัวข้ออื่น ๆ | |
โพสต์-พังก์ ออลเทอร์เนทิฟร็อก |
นิวเวฟ (อังกฤษ: new wave music) เป็นแนวเพลงป็อปร็อกที่เกิดขึ้นในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 และกลางคริสต์ทศวรรษ 1980 ที่ผูกพันกับพังก์ร็อก โดยทั่วไปคำนี้มีความหมายเดียวกับพังก์ร็อก ก่อนที่จะรวมกับอิเล็กทรอนิกส์ ดนตรีทดลอง ม็อด ดิสโก้ และป็อป ต่อมานิวเวฟได้มีแนวเพลงย่อยได้แก่ นิวโรแมนติกและกอทิกร็อก
ในฐานะที่เป็นแนวเพลงที่ได้รวมเอามากจากเสียงของพังก์ร็อกที่เป็นต้นฉบับ และอุปนิสัยของชนกลุ่มน้อย เช่นเน้นเพลงในเวลาสั้นและเราะราน[6][8]แต่มันเป็นลักษณะซับซ้อนมากขึ้นในเพลงและเนื้อเพลงทั้ง ลักษณะทั่วไปของดนตรีนิวเวฟ นอกเหนือจากอิทธิพลของพังก์รวมถึงการใช้เครื่องสังเคราะห์เสียง และการผลิตแบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการจัดแต่งทรงผมและศิลปะหลากหลายขึ้น[9] ในฐานะที่คำว่านิวเวฟมักจะใช้เพื่ออธิบายเพลงซึ่งเป็นที่เล่นโวหารและพิสดาร ลวงและปรากฏที่หัวใจ ผสมผสานในการติดท่อนแบบไพเราะชัดเจน ในลักษณะรูปแบบของแนวเพลงนี้แตกต่างกันอย่างมากตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 ที่ช่วงเพลงร็อกกำลังฟื้นฟูในคริสต์ทศวรรษ 1960 รวมทั้งสกาและเร็กเก ไปยังถึงแนวเพลงซินธ์ป็อปซึ่งเน้นในเชิงเพลงแดนซ์[10]
นิวเวฟถูกมองว่าเป็นหนึ่งในแนวเพลงที่ชัดเจนที่สุดในคริสต์ทศวรรษ 1980 ในเวลานั้นมันได้ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ต่อหลายศิลปินและกลุ่มวงดนตรีในเวลานั้นที่ถูกเรียกว่าเป็นวงนิวเวฟ แนวเพลงได้อยู่ประจำช่องเอ็มทีวี[9][10] และความนิยมมากของศิลปินนิวเวฟที่ได้รับการบันทึกเพียงบางส่วนต่อการเปิดเผยในช่องโทรทัศน์[10] แม้จะมีความสำเร็จเชิงพาณิชย์ในช่วงปี ค.ศ. 1980 ก็ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์[10] แนวเพลงเริ่มที่จะหายไปในราวปี ค.ศ. 1984 แต่ก็ไม่เคยหายไปจริง ๆ และได้รับการฟื้นตัวอย่างดีตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1990 หลังจากที่ "มีความรู้สึกโหยหา" ต่อนิวเวฟที่ได้ถูกข้ามไปอย่างรวดเร็วและส่งผลให้มีอิทธิพลต่อหลายศิลปิน แนวเพลงได้รับการฟื้นฟูในปี ค.ศ. 1990 และต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 เล็กน้อย และกลายเป็นที่นิยมอีกครั้งในปี ค.ศ. 2004 ต่อมาแนวเพลงมีอิทธิพลต่อความหลากหลายแนวเพลงอื่น[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Taylor, John. "100 Greatest Artists of All Time: Roxy Music". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-19. สืบค้นเมื่อ 17 March 2011.
- ↑ Kemp, Mark. "David Bowie: Biography". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-12. สืบค้นเมื่อ 17 March 2011.
- ↑ Cooper, Kim, Smay, David, Bubblegum Music is the Naked Truth (2001), page 248 "Nobody took the bubblegum ethos to heart like the new wave bands"/
- ↑ Erlewine, Stephen Thomas. "New Wave". Allmusic. Rovi Corporation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-25. สืบค้นเมื่อ 4 May 2014.
- ↑ "Keyboard Magazine, June 1982". Synthpunk.org. สืบค้นเมื่อ 15 May 2011.
- ↑ 6.0 6.1 "Disco inferno". The Independent. UK. December 11, 2004. สืบค้นเมื่อ 15 May 2011.
- ↑ Bernard Edwards, 43, Musician In Disco Band and Pop Producer The New York Times 22 April 1996 "As disco waned in the late 70s, so did Chic's album sales. But its influence lingered on as new wave, rap and dance-pop bands found inspiration in Chic's club anthems"
- ↑ Reynolds, Simon "Rip It Up and Start Again PostPunk 1978–1984" p160
- ↑ 9.0 9.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อallmusic.com
- ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-25. สืบค้นเมื่อ 2012-06-05.
- ↑ Q&A with Theo Cateforis, author of Are We Not New Wave? Modern Pop at the Turn of the 1980s The University of Michigan Press 2011