ข้ามไปเนื้อหา

นางนาค สะใภ้พระโขนง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นางนาค สะใภ้พระโขนง
ใบปิดประชาสัมพันธ์
แนวชีวิต
ตลก
สร้างโดยเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์
เเรงบันดาลใจจากแม่นาค เดอะมิวสิคัล[1]
บทละครโทรทัศน์สมหมาย เลิศอุฬาร
กำกับโดยนิติวัฒน์ ชลวณิชสิริ
แสดงนำจิรายุ ละอองมณี
อาทิตยา ตรีบุดารักษ์
รัดเกล้า อามระดิษ
ดนตรีแก่นเรื่องเปิด
ดนตรีแก่นเรื่องปิด
  • "รอยยิ้มเธอในยามเช้า"
    โดย โบ๊ท ปรัชญา
  • "หนึ่งราตรี"
    โดย อาย กุลนรี
ประเทศแหล่งกำเนิดประเทศไทย
ภาษาต้นฉบับภาษาไทย
จำนวนตอน25
การผลิต
ผู้จัดละครวิรัตน์ เฮงคงดี
ควบคุมงานสร้างฤกษ์ชัย พวงเพ็ชร์
ความยาวตอน40–45 นาที
ออกอากาศ
สถานีโทรทัศน์
ออกอากาศ16 มกราคม 2566 (2566-01-16) –
13 มีนาคม 2566 (2566-03-13)
ละครเรื่องถัดไปครูเพ็ญศรีกับเลดี้ปอบ

นางนาค สะใภ้พระโขนง เป็นละครโทรทัศน์ไทยแนวชีวิตตลก เล่าเกี่ยวกับเรื่องราวความรักของนางนาคและพี่มาก กับเรื่องราวของอุปสรรคความรักระหว่างแม่ผัวกับลูกสะใภ้ ผู้เป็นกุญแจสำคัญของเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของตำนาน นางนาค สะใภ้พระโขนง ผลิตโดย รฤก โปรดั๊กชั่น กำกับการแสดงโดย นิติวัฒน์ ชลวณิชสิริ นำแสดงโดย จิรายุ ละอองมณี, อาทิตยา ตรีบุดารักษ์ และ รัดเกล้า อามระดิษ ออกอากาศทางช่องเวิร์คพอยท์ ทุกวันจันทร์ถึงวันพุธ เวลา 19:00 น. และสตริมมิงทางโทรทัศน์บนเน็ตฟลิกซ์ เริ่มออกอากาศตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2566

นักแสดง

[แก้]

ตัวละครหลัก

[แก้]

ตัวละครสมทบ

[แก้]

ตัวละครรับเชิญ

[แก้]
  • อมตา ปิยะวานิช แสดงเป็น แม่หมอคง
  • ชาลี ดีเด็ด แสดงเป็น อาจารย์กู้
  • โยธิน มาพบพันธ์ แสดงเป็น หลวงพ่อ
  • ศุภชัย เกิดสุวรรณ แสดงเป็น ขุนแสงพลค่าย
  • วันทนีย์ ชนะชัยยั่งยืน แสดงเป็น ชาวบ้านพระโขนง
  • ชัยวัฒน์ เที่ยงสุนทร แสดงเป็น ชาวบ้านพระโขนง
  • ณัฐ เค้ายวนผึ้ง แสดงเป็น ลูกน้องนายหน้าบนเรือ
  • สุนันท์ สุทธิโป แสดงเป็น ฉ่ำ (ชาวบ้าน)
  • ณฐกร เรืองศรี แสดงเป็น หวัง (ลูกน้องหมอผีกู้)
  • ชาลี อิ่มมาก แสดงเป็น อาจารย์คง
  • วัลลภ เถียรทอง แสดงเป็น พี่มาก (วัยชรา)

เค้าโครงเรื่อง

[แก้]

เรื่องราวได้รับแรงบันดาลใจจาก ละครเวทีแม่นาคเดอะมิวสิคัล ของค่ายดรีมบ็อกซ์ โดยเวอร์ชันนี้จะใช้ตัวละครแม่เหมือน (รัดเกล้า อามระดิษ) แม่ของพี่มากมาเป็นตัวแปรสำคัญของเรื่องราวความรักระหว่าง นางนาค (อาทิตยา ตรีบุดารักษ์) และ พี่มาก (จิรายุ ละอองมณี) โดยมีความแตกต่างจากเวอร์ชันอื่นตรงที่เรื่องนี้จะเล่าเหตุการณ์เรื่องราวก่อนที่นางนาคจะเสียชีวิตมากขึ้นเพื่อให้เข้าใจเหตุการณ์ต่างๆและสาเหตุที่ทำให้นางนาคต้องกลายมาเป็นผี และเรื่องราวที่เล่าสืบทอดกันต่อมาจนปัจจุบันที่ว่าผีแม่นาคนั้นดุร้าย ล้วนมาจากฝีมือของคนทั้งสิ้น ตรงกับสำนวนที่ว่า "คนร้ายกว่าผี"

เพลงประกอบ

[แก้]

เรตติ้ง

[แก้]

จากตารางด้านล่างนี้ ตัวเลขสีน้ำเงิน แสดงเรตติงต่ำที่สุด และ ตัวเลขสีแดง แสดงเรตติงสูงที่สุด

ตอนที่ วันที่ออกอากาศ เรตติงทั่วประเทศ อ้างอิง
1 16 มกราคม 2566 1.89 [2]
2 17 มกราคม 2566 2.19
3 18 มกราคม 2566 2.09 [3]
4 23 มกราคม 2566 2.22 [4]
5 24 มกราคม 2566 2.12
6 25 มกราคม 2566 2.27
7 30 มกราคม 2566 2.03 [5]
8 31 มกราคม 2566 2.07 [6]
9 1 กุมภาพันธ์ 2566 2.22
10 6 กุมภาพันธ์ 2566 2.17 [7]
11 7 กุมภาพันธ์ 2566 2.29
12 8 กุมภาพันธ์ 2566 2.33 [8]
13 13 กุมภาพันธ์ 2566 2.40 [9]
14 14 กุมภาพันธ์ 2566 2.62 [6]
15 15 กุมภาพันธ์ 2566 2.82
16 20 กุมภาพันธ์ 2566 2.82
17 21 กุมภาพันธ์ 2566 2.87
18 22 กุมภาพันธ์ 2566 3.02 [10]
19 27 กุมภาพันธ์ 2566 2.88
20 28 กุมภาพันธ์ 2566 2.8
21 1 มีนาคม 2566 2.92 [11][12]
22 6 มีนาคม 2566 3.00
23 7 มีนาคม 2566 2.79
24 8 มีนาคม 2566 3.19
25 13 มีนาคม 2566 3.35
เฉลี่ย 2.5348

รางวัล

[แก้]

• รางวัลมายาทีวีอวอร์ด สาขา Rising Star Of The Year 2023 ผู้ได้รับรางวัลคือ อาทิตยา ตรีบุดารักษ์ จากบท นางนาค

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ที่มาของ 'นางนาค สะใภ้พระโขนง' ที่คุณอาจไม่เคยรู้".
  2. ""นางนาค สะใภ้พระโขนง" สู้ได้! "มายด์-เก้า" ดันละครเย็นเวิร์คพอยท์เรตติ้งไม่ธรรมดา | daradaily". www.daradaily.com.
  3. "'นางนาค สะใภ้พระโขนง' ขึ้นแท่นละครมาแรงจากช่องเวิร์คพอยท์". workpointTODAY.
  4. "Facebook". www.facebook.com.
  5. "Facebook". www.facebook.com.
  6. 6.0 6.1 "Facebook". www.facebook.com.
  7. "'นางนาค สะใภ้พระโขนง' มาแรงต่อเนื่อง ทำเรตติ้งใหม่ทั่วประเทศ ทลายสถิติตั้งแต่ออนแอร์". workpointTODAY.
  8. "Facebook". www.facebook.com.
  9. "Facebook". www.facebook.com.
  10. "Facebook". www.facebook.com.
  11. "Facebook". www.facebook.com.
  12. "Facebook". www.facebook.com.