นากางิงแคปซูลทาวเวอร์

พิกัด: 35°39′56.20″N 139°45′48.20″E / 35.6656111°N 139.7633889°E / 35.6656111; 139.7633889
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นากางิงแคปซูลทาวเวอร์
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
สถานะถูกรื้อถอน
ประเภทอยู่อาศัย, ออฟฟิศ
สถาปัตยกรรมเมทาบอลิซึม
ที่ตั้ง8 โชเม-16-10 กินซะ, ชูโอ-คุ, โทเคียว-โตะ 104-0061, ญี่ปุ่น
พิกัด35°39′56.20″N 139°45′48.20″E / 35.6656111°N 139.7633889°E / 35.6656111; 139.7633889
เริ่มสร้างค.ศ. 1970
แล้วเสร็จค.ศ. 1972
รื้อถอนค.ศ. 2022
ข้อมูลทางเทคนิค
จำนวนชั้น13
พื้นที่แต่ละชั้น3,091.23 m2 (33,273.7 sq ft)
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกคิโช คูโรกาวะ

นากางิงแคปซูลทาวเวอร์ (ญี่ปุ่น: 中銀カプセルタワービルโรมาจิNakagin Kapuseru Tawā Biru, อังกฤษ: Nakagin Capsule Tower) เป็นอาคารมิกซ์ยูสที่อยู่อาศัยกับสำนักงาน ออกแบบโดยคิโช คูโรกาวะ ตั้งอยู่ในย่านชิมบาชิ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ใช้เวลาก่อสร้างเพียง 30 วัน ในปี 1972[1] และเป็นหนึ่งในอาคารไม่กี่แห่งของสถาปัตยกรรมแบบเมตาบอลิซึมญี่ปุ่น ขบวนการทางสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของการฟื้นฟูวัฒนธรรมใหม่ในญี่ปุ่นยุคหลังสงครามโลก ที่ยังหลงเหลือมาถึงปัจจุบัน (อีกแห่งที่มีชื่อเสียงคือ ศูนย์การประชุมนานาชาติเกียวโต) อาคารนี้เป็นตัวอย่างแรกของสิ่งก่อสร้างแบบแคปซูล (capsule architecture) ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ถาวร ปัจจุบันอาคารยังคงอยู่แต่ขาดการทำนุบำรุงอย่างมาก[2] ข้อมูลจากตุลาคม 2012 พบว่าราว 30 ห้องจาก 140 ห้องแคปซูลยังคงใช้งานเป็นห้องอยู่อาศัย นอกนั้นเป็นสำนักงานหรือที่เก็บของ บางส่วนถูกทิ้งร้างและเริ่มเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา ข้อมูลจากสิงหาคม 2017 แคปซูลในอาคารยังสามารถจองเพื่อพักได้ แค่มีคิวรอคอยที่ยาวนาน

ในวันที่ 12 เมษายน 2022 มีการประกาศแผนการรื้อถอนอาคารอย่างเป็นทางการ โดยหน่วยประกอบ (component units) ของอาคารจะถูกนำมาใช้งานในรูปแบบอื่นแทน (repurposed)[3][4] โครงการเรี่ยไรเงินและความยายามขึ้นทะเบียนอาคารเป็นอาคารภายใต้การพิทักษ์ที่มีมาที่งหมดไม่ประสบผลสำเร็จ[4][5]

งานก่อสร้างและออกแบบ[แก้]

แบบจำลองห้องพักแคปซูลในอาคาร

อาคารประกอบด้วยอาคารคอนกรีตย่อยสองอาคาร มีความสูง 11 และ 13 ชั้น ตามลำดับ ประกอบด้วยห้องแคปซูลจำนวน 140 ห้อง แต่ละห้องมีขนาด 2.5 x 4 x 1.3 เมตร, มีหน้าต่างที่ฝั่งด้านหนึ่ง แคปซูลแต่ละห้องสามารถต่อกันเป็นห้องที่ใหญ่ขึ้นได้ ถึงแม้ว่าแคปซูลจะสร้างขึ้นเพื่อผลิตในระดับอุตสาหกรรม แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่มีห้องใดที่ถูกแทนที่หรือเปลี่ยนใหม่เลย[6] กลุ่มประชากรเป้าหมายที่จะเป็นลูกค้าคือมนุษย์เงินเดือน (ซาลารีมัง) ชาวโตเกียว[2]

แผนการทุบทำลายหรือรีโนเวท[แก้]

ในการจะทุบทำลายอาคารได้นั้น 80% ของเจ้าของแคปซูลในอาคารต้องยินยอมการทุบทำลาย[7] ซึ่งผ่านการยินยอมครั้งแรกในวันที่ 15 เมษายน 2007 โดยอ้างเหตุผลความมอซอ, สกปรก, เบียดเสียด และความกังวลต่อแร่ใยหิน และเสนอให้ก่อสร้างอาคารใหม่ที่มีขนาดใหญ่กว่าแทนที่[2][8] คูโรกาวะ เสนอโดยใช้ข้อดีของงานออกแบบอาคารที่มีความจืดหยุ่นโดยการ "ถอดปลั๊ก" (unplugging) กล่องแคปซูลออกและใส่เข้าใหม่แทน แผนนี้ได้รับการสนับสนุนโดยสมาคมสถาปนิกหลายแห่ง รวมถึงสถาบันสถาปนิกญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามผู้อยู่อาศัยของอาคารกังวลเรื่องความปลอดภัยของความต้านทานแผ่นดินไหว และเป็นการใช้งานพื้นที่อย่างไม่คุ้มค่าในย่านมูลค่าสูงอย่างกินซะของโตเกียว[8] คูโรกาวะเสียชีวิตในปี 2007 ประกอบกับขาดผู้มาพัฒนาอาคารต่อเนื่องจากการถดถอยของเศรษฐกิจปลายทศวรรษ 2000[2]

นิคอไล อูรูสซ็อฟ นักวิจารณ์สถาปัตยกรรมของ เดอะนิวยอร์กไทมส์ คัดค้านการทำลายอาคารและระบุว่าอาคารนี้เป็น "สถาปัตยกรรมอันงดงาม; เช่นเดียวกับอาคารอันยิ่งใหญ่อื่น ๆ นี่เป้นการตกตะกอน (crystallization) ของอุดมคติทางวัฒนธรรมที่ห่างไกลออกไป การดำรงอยู่[ของอาคารนี้]ยังเป็นเครื่องเตือนถึงทางที่ไม่ถูกเลือกเดิน (paths not taken) ของความเป็นไปได้ของโลกที่ถูกก่อร่างขึ้นด้วยกลุ่มของค่านิยมอีกชุดหนึ่ง"[2]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Koolhaas & Obrist (2011), p. 388
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Nicolai Ouroussoff, Architecture: Future Vision Banished to the Past, The New York Times, July 7, 2009, Accessed July 7, 2009.
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ArchDaily
  4. 4.0 4.1 "CNN: Tokyo's iconic Nakagin Capsule Tower to be demolished". CNN. April 6, 2022.
  5. Falor, Sanskriti. Explained Desk, Editor New Delhi (April 7, 2022) Explained Why Japan's Nakagin Capsult Tower Being Demolished Indian Express
  6. Watanabe (2001), p. 148-149
  7. Forster, Katie Tokyo’s tiny capsules of architectural flair October 3, 2014 Japan Times Wayback Machine copy as of December 30, 2016
  8. 8.0 8.1 Yuki Solomon, Kurokawa’s Capsule Tower To Be Razed, Architectural Record, April 30, 2007, Google cache version retrieved December 5, 2018.

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]