นากางิงแคปซูลทาวเวอร์
นากางิงแคปซูลทาวเวอร์ | |
---|---|
![]() | |
![]() | |
ข้อมูลทั่วไป | |
สถานะ | ถูกรื้อถอน |
ประเภท | อยู่อาศัย, ออฟฟิศ |
สถาปัตยกรรม | เมทาบอลิซึม |
ที่ตั้ง | 8 โชเม-16-10 กินซะ, ชูโอ-คุ, โทเคียว-โตะ 104-0061, ญี่ปุ่น |
พิกัด | 35°39′56.20″N 139°45′48.20″E / 35.6656111°N 139.7633889°E |
เริ่มสร้าง | ค.ศ. 1970 |
แล้วเสร็จ | ค.ศ. 1972 |
รื้อถอน | ค.ศ. 2022 |
ข้อมูลทางเทคนิค | |
จำนวนชั้น | 13 |
พื้นที่แต่ละชั้น | 3,091.23 m2 (33,273.7 sq ft) |
การออกแบบและการก่อสร้าง | |
สถาปนิก | คิโช คูโรกาวะ |
นากางิงแคปซูลทาวเวอร์ (ญี่ปุ่น: 中銀カプセルタワービル; โรมาจิ: Nakagin Kapuseru Tawā Biru, อังกฤษ: Nakagin Capsule Tower) เป็นอาคารมิกซ์ยูสที่อยู่อาศัยกับสำนักงาน ออกแบบโดยคิโช คูโรกาวะ ตั้งอยู่ในย่านชิมบาชิ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ใช้เวลาก่อสร้างเพียง 30 วัน ในปี 1972[1] และเป็นหนึ่งในอาคารไม่กี่แห่งของสถาปัตยกรรมแบบเมตาบอลิซึมญี่ปุ่น ขบวนการทางสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของการฟื้นฟูวัฒนธรรมใหม่ในญี่ปุ่นยุคหลังสงครามโลก ที่ยังหลงเหลือมาถึงปัจจุบัน (อีกแห่งที่มีชื่อเสียงคือ ศูนย์การประชุมนานาชาติเกียวโต) อาคารนี้เป็นตัวอย่างแรกของสิ่งก่อสร้างแบบแคปซูล (capsule architecture) ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ถาวร ปัจจุบันอาคารยังคงอยู่แต่ขาดการทำนุบำรุงอย่างมาก[2] ข้อมูลจากตุลาคม 2012 พบว่าราว 30 ห้องจาก 140 ห้องแคปซูลยังคงใช้งานเป็นห้องอยู่อาศัย นอกนั้นเป็นสำนักงานหรือที่เก็บของ บางส่วนถูกทิ้งร้างและเริ่มเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา ข้อมูลจากสิงหาคม 2017 แคปซูลในอาคารยังสามารถจองเพื่อพักได้ แค่มีคิวรอคอยที่ยาวนาน
ในวันที่ 12 เมษายน 2022 มีการประกาศแผนการรื้อถอนอาคารอย่างเป็นทางการ โดยหน่วยประกอบ (component units) ของอาคารจะถูกนำมาใช้งานในรูปแบบอื่นแทน (repurposed)[3][4] โครงการเรี่ยไรเงินและความยายามขึ้นทะเบียนอาคารเป็นอาคารภายใต้การพิทักษ์ที่มีมาที่งหมดไม่ประสบผลสำเร็จ[4][5]
งานก่อสร้างและออกแบบ
[แก้]
อาคารประกอบด้วยอาคารคอนกรีตย่อยสองอาคาร มีความสูง 11 และ 13 ชั้น ตามลำดับ ประกอบด้วยห้องแคปซูลจำนวน 140 ห้อง แต่ละห้องมีขนาด 2.5 x 4 x 1.3 เมตร, มีหน้าต่างที่ฝั่งด้านหนึ่ง แคปซูลแต่ละห้องสามารถต่อกันเป็นห้องที่ใหญ่ขึ้นได้ ถึงแม้ว่าแคปซูลจะสร้างขึ้นเพื่อผลิตในระดับอุตสาหกรรม แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่มีห้องใดที่ถูกแทนที่หรือเปลี่ยนใหม่เลย[6] กลุ่มประชากรเป้าหมายที่จะเป็นลูกค้าคือมนุษย์เงินเดือน (ซาลารีมัง) ชาวโตเกียว[2]
แผนการทุบทำลายหรือรีโนเวท
[แก้]ในการจะทุบทำลายอาคารได้นั้น 80% ของเจ้าของแคปซูลในอาคารต้องยินยอมการทุบทำลาย[7] ซึ่งผ่านการยินยอมครั้งแรกในวันที่ 15 เมษายน 2007 โดยอ้างเหตุผลความมอซอ, สกปรก, เบียดเสียด และความกังวลต่อแร่ใยหิน และเสนอให้ก่อสร้างอาคารใหม่ที่มีขนาดใหญ่กว่าแทนที่[2][8] คูโรกาวะ เสนอโดยใช้ข้อดีของงานออกแบบอาคารที่มีความจืดหยุ่นโดยการ "ถอดปลั๊ก" (unplugging) กล่องแคปซูลออกและใส่เข้าใหม่แทน แผนนี้ได้รับการสนับสนุนโดยสมาคมสถาปนิกหลายแห่ง รวมถึงสถาบันสถาปนิกญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามผู้อยู่อาศัยของอาคารกังวลเรื่องความปลอดภัยของความต้านทานแผ่นดินไหว และเป็นการใช้งานพื้นที่อย่างไม่คุ้มค่าในย่านมูลค่าสูงอย่างกินซะของโตเกียว[8] คูโรกาวะเสียชีวิตในปี 2007 ประกอบกับขาดผู้มาพัฒนาอาคารต่อเนื่องจากการถดถอยของเศรษฐกิจปลายทศวรรษ 2000[2]
นิคอไล อูรูสซ็อฟ นักวิจารณ์สถาปัตยกรรมของ เดอะนิวยอร์กไทมส์ คัดค้านการทำลายอาคารและระบุว่าอาคารนี้เป็น "สถาปัตยกรรมอันงดงาม; เช่นเดียวกับอาคารอันยิ่งใหญ่อื่น ๆ นี่เป้นการตกตะกอน (crystallization) ของอุดมคติทางวัฒนธรรมที่ห่างไกลออกไป การดำรงอยู่[ของอาคารนี้]ยังเป็นเครื่องเตือนถึงทางที่ไม่ถูกเลือกเดิน (paths not taken) ของความเป็นไปได้ของโลกที่ถูกก่อร่างขึ้นด้วยกลุ่มของค่านิยมอีกชุดหนึ่ง"[2]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Koolhaas & Obrist (2011), p. 388
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Nicolai Ouroussoff, Architecture: Future Vision Banished to the Past, The New York Times, July 7, 2009, Accessed July 7, 2009.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อArchDaily
- ↑ 4.0 4.1 "CNN: Tokyo's iconic Nakagin Capsule Tower to be demolished". CNN. April 6, 2022.
- ↑ Falor, Sanskriti. Explained Desk, Editor New Delhi (April 7, 2022) Explained Why Japan's Nakagin Capsult Tower Being Demolished Indian Express
- ↑ Watanabe (2001), p. 148-149
- ↑ Forster, Katie Tokyo’s tiny capsules of architectural flair October 3, 2014 Japan Times Wayback Machine copy as of December 30, 2016
- ↑ 8.0 8.1 Yuki Solomon, Kurokawa’s Capsule Tower To Be Razed, Architectural Record, April 30, 2007, Google cache version retrieved December 5, 2018.
บรรณานุกรม
[แก้]- Noboru Kawazoe, et al. (1960). Metabolism 1960: The Proposals for a New Urbanism. Bitjsutu Shuppan Sha.
- Kisho Kurokawa (1977). Metabolism in Architecture. Studio Vista. ISBN 978-0-289-70733-3
- Kisho Kurokawa (1992). From Metabolism to Symbiosis. John Wiley & Sons. ISBN 978-1-85490-119-4
- Thomas Daniell (2008). After the Crash: Architecture in Post-Bubble Japan. Princeton Architectural Press. ISBN 978-1-56898-776-7