นกเงือกหัวหงอก
นกเงือกหัวหงอก ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: โอลิโกซีน-ปัจจุบัน, 47–0Ma | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Aves |
อันดับ: | Bucerotiformes |
วงศ์: | Bucerotidae |
สกุล: | Berenicornis Bonaparte, 1850 |
สปีชีส์: | B. comatus |
ชื่อทวินาม | |
Berenicornis comatus (Raffles, 1822) | |
ชื่อพ้อง | |
|
นกเงือกหัวหงอก (อังกฤษ: White-crowned hornbill; ชื่อวิทยาศาสตร์: Berenicornis comatus) เป็นนกเงือกชนิดหนึ่ง และเป็นชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Berenicornis[2]
ลักษณะทั่วไป
[แก้]นกเงือกหัวหงอกมีขนาดความยาวลำตัวประมาณ 90 เซนติเมตร ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะไม่เหมือนกัน ส่วนหัว คอ หน้าอก และปลายปีกของตัวผู้มีสีขาว ไม่มีขนปกคลุมใต้ปีก นอกนั้นมีสีดำ ส่วนตัวเมียมีคอและตัวสีดำ ปากมีขนาดใหญ่สีเทาดำและจะงอยปากยาว ทั้งตัวผู้และตัวเมียมีหงอนขนเป็นสีขาว
นกเงือกหัวหงอก ถือเป็นนกเงือกชนิดหนึ่งที่มีสายพันธุกรรมเก่าแก่ยาวนาน โดยจากการวิเคราะห์ทางดีเอ็นเอพบว่าเก่าแก่ถึง 47 ล้านปีก่อน[3]
ถิ่นอาศัย, อาหาร
[แก้]พบในทวีปเอเชียแถบเกาะสุมาตรา บอร์เนียว มาเลเซีย เวียดนาม เทือกเขาตะนาวศรี สำหรับในประเทศไทยพบเฉพาะทางภาคใต้ และบางแห่งของภาคตะวันตก เช่นอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อาหารได้แก่ สัตว์เลื้อยคลานที่มีขนาดเล็ก เช่น งู จิ้งเหลน กิ้งก่า รวมถึงผลไม้ชนิดต่าง ๆ ด้วย เช่น ผลไม้ ลูกไม้ นกเงือกหัวหงอกเป็นนกเงือกชนิดที่กินอาหารประเภทโปรตีนมากกว่าพืช และเคยล่าปลากินเป็นอาหารมาแล้วด้วย[3]
พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
[แก้]ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ชอบส่งเสียงร้องดังอยู่เสมอ อาศัยตามป่าดงดิบชื้น ตั้งแต่ระดับเชิงเขาจนกระทั่งความสูง 600 เมตรจากระดับน้ำทะเลหรือสูงกว่า พฤติกรรมการผสมพันธุ์ของนกเงือกหัวหงอก เป็นลักษณะเดียวกับนกเงือกชนิดอื่น โดยตลอดชีวิตจะไม่มีการเปลี่ยนคู่เลย ตัวเมียจะวางไข่ในโพรงไม้ ตัวผู้เป็นฝ่ายหาอาหารมาป้อนแม่นกและลูกนก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ BirdLife International (2008). Aceros comatus. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 21 February 2009.
- ↑ จาก itis.gov
- ↑ 3.0 3.1 บุรง ออรัง (นกเงือก), "พินัยกรรมธรรมชาติ". สารคดีทางไทยพีบีเอส: ศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Aceros comatus ที่วิกิสปีชีส์