ข้ามไปเนื้อหา

ธนาคารกลาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1694

ธนาคารกลาง (อังกฤษ: central bank, reserve bank หรือ monetary authority) เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อใช้เป็นหน่วยงานกลางในการดำเนินการทางด้านการเงินของประเทศ ในประเทศไทยหน่วยงานที่ทำหน้าที่ธนาคารกลางคือ ธนาคารแห่งประเทศไทย

ประวัติ

[แก้]

ธนาคารกลางเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งในระยะแรกธนาคารกลางยังมีไม่มาก แต่ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดความยุ่งยากทางด้านการเงินและวิกฤตทางเศรษฐกิจบทบาทของธนาคารกลางจึงได้รับการยอมรับมากขึ้น โดยธนาคารกลางได้เข้ามามีบทบาทในการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจและการเงิน ทำให้ประเทศต่าง ๆ จัดตั้งธนาคารของตนเองขึ้นในหลายประเทศ[1]

ธนาคารกลางแห่งแรกของโลกคือ Riks Bank of Sweden จัดตั้งขึ้นในปี 1668 ส่วนธนาคารกลางที่จัดว่ามีชื่อเสียงมากที่สุดคือ Bank of England ธนาคารกลางของสหรัฐฯ หรือ Federal Reserve System มีความแตกต่างกับธนาคารกลางของประเทศอื่น ๆ[2]

ในประเทศไทยมีความคิดริเริ่มการจัดตั้งธนาคารกลางขึ้นหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี พ.ศ. 2475 แต่กฎหมายจัดตั้งธนาคารกลางของไทยได้ประกาศในราชกิจานุเบกษาเมื่อ วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2482 ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2483 ซึ่งเป็นวันชาติในสมัยนั้น[3]

หน้าที่

[แก้]
  • ดำเนินนโยบายการเงิน
  • กำหนดอัตราดอกเบี้ย
  • ควบคุมปริมาณเงินของประเทศ
  • เป็นนายธนาคารของรัฐบาลและธนาคารของนายธนาคาร ("ผู้ให้กู้ยืมแหล่งสุดท้าย")
  • จัดการการเปลี่ยนต่างประเทศและปริมาณทองคำสำรองของประเทศ และทะเบียนหุ้นของรัฐบาล
  • กำกับและดูแลอุตสาหกรรมการธนาคาร
  • ตั้งอัตราดอกเบี้ยอย่างเป็นทางการ ซึ่งใช้จัดการทั้งภาวะเงินเฟ้อและอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศ และรับประกันว่าอัตรานี้มีผลผ่านกลไกนโยบายต่าง ๆ

ดูเพิ่ม

[แก้]

รายชื่อธนาคารกลาง

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ความหมายและประวัติความเป็นมาของธนาคารกลาง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-22. สืบค้นเมื่อ 2012-03-21.
  2. "ธนาคารแห่งประเทศไทย (PDF)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-03-21.
  3. "ประวัติธนาคารแห่งประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-23. สืบค้นเมื่อ 2012-03-21.