ข้ามไปเนื้อหา

ทุน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ในเศรษฐศาสตร์ ทุนหมายถึงปัจจัยในการผลิตที่ใช้ในการสร้างเศรษฐทรัพย์หรือบริการอื่นๆที่มนุษย์เป็นผู้ผลิตและไม่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เศรษฐทรัพย์และบริการนั้นๆจะต้องไม่ใช่ตัวทุนนั้นๆเอง แม้ว่าทุนนั้นๆสามารถที่เสื่อมราคาลงได้ สินค้าประเภททุนสามารถรับมาได้โดยใช้เงินหรือเงินทุน ในการเงินและการบัญชี คำว่าทุนหมายถึงความมั่งคั่ง โดยเฉพาะความมั่งคั่งที่ใช้ในการเปิดกิจการ

ทุนในทางปฏิบัติ

[แก้]

ในเศรษฐศาสตร์คลาสสิก ทุนเป็นหนึ่งในปัจจัยในการผลิตสาม (หรือสี่ ตามการรวมรวบข้อมูล) ปัจจัย ปัจจัยอื่นๆรวมไปถึงที่ดิน แรงงาน และองค์กร ผู้ประกอบการ หรือการบริหารจัดการในบางหลักสูตร เศรษฐทรัพย์ที่มีคุณสมบัติต่อไปนี้เป็นทุน:

  • สามารถนำไปผลิตเศรษทรัพย์ (สินค้า) อื่นๆได้ (อยู่ในรูปของปัจจัยในการผลิต)
  • ถูกสร้างขึ้นมาอีกทีหนึ่งโดยแตกต่างจาก "ที่ดิน" ที่ซึ่งหมายถึงปัจจัยในการผลิตที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเช่นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์และทรัพยากรทางธรรมชาติ เช่นแร่ธาตุ
  • ไม่ได้ถูกใช้ในการผลิตเป็นหลักโดยสัมบูรณ์ซึ่งทำให้แตกต่างจากสินค้ากึ่งสำเร็จรูป (ยกเว้นค่าเสื่อมราคา)

ความหมายนี้ถูกนำมาใช้กับเศรษฐศาสตร์คลาสิกสมัยใหม่โดยมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากในการวิเคราะห์ทางการในระยะยาว มีการแก้คำกำกวมโดยบอกว่าทุนเป็นหลักทรัพย์ชนิดหนึ่ง

กาอธิบายก่อนหน้านี้ได้ชี้แจงว่าทุนเป็นรายการ (item)ทางกายภาพที่สามารถจับต้องได้ แต่ในระยะหลังมีการพยายามทีจะกำหนดความหมายของทุนใหม่ ตัวอย่างเช่น การลงทุนในการศึกษาและการพัฒนาฝีมือก็ถือเป็นการสร้างทุนมนุษย์หรือทุนความรู้ และนอกจากนี้การลงทุนเพื่อสร้างสมบัติทางปัญญหาคือการสร้างทุนทางปัญญาเช่นกันซึ่งยังมีการถกเถียงกันอยู่มากพอควร

ทฤษฎีการพัฒนามนุษย์อธิบายว่าทุนมนุษย์ยังรวมไปถึงปัจจัยทางด้านสังคมและความคิดสร้างสรรค์:

  • ทุนทางสังคมเป็นคุณค่าในการเชื่อถือกันระหว่างบุคคลหรือองค์กรซึ่งอยู่ในเศรษฐกิจ
  • ทุนเฉพาะบุคคลเกิดขึ้นจากตัวคนเอง ปกป้องโดยสังคม และแลกเปลี่ยนแรงงานเพื่อเงินหรือความเชื่อใจ

การจำแนกชนิดที่นำไปใช้ทางทฤษฏีและประยุกต์อื่นๆรวมไปถึง:

  • ทุนทางบัญชีซึ่งคือพันธกิจต่างๆ
  • ทุนธรรมชาติซึ่งคือความพยายามของชุมชนเพื่อพัฒนาธรรมชาติ
  • ทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานเป็นระบบสนับสนุนที่ไม่ได้มาจากธรรมชาติซึ่งอาจจะรวมไปถึงเครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ถนน คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ซึ่งทำให้ความต้องการของความน่าเชื่อถือทางสังคม การฝึกฝน และทรัพยากรทางธรรมชาติน้อยลงที่สุดเท่าที่จะเป็นได้

การถกเถียงเกี่ยวกับทุน

[แก้]

การถกเถียงเกี่ยวกับความหมายของคำว่า "ทุน" นั้นมีมานานมาแล้วซึ่งส่วนใหญ่เถียงกันเกี่ยวกับความหมายที่แท้จริงของคำว่า "ทุน" โดยเฉพาะในระบบเศรษศาสตร์ที่ต่างกัน

ข้อมูลเพิ่มเติม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  • F. Boldizzoni (2008). Means and ends: The idea of capital in the West, 1500-1970, New York: Palgrave Macmillan, 2008, chapters 4-8.
  • K.H. Hennings (1987). "Capital as a factor of production," The New Palgrave: A Dictionary of Economics, v. 1, pp. 327-33.