ถุงลมนิรภัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ถุงลมนิรภัยแบบติดตั้งกับพวงมาลัย

ถุงลมนิรภัย เป็นอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยของยานพาหนะ ทำหน้าที่เสมือนเป็นหมอนรองผู้โดยสารที่ประกอบด้วยวัสดุห่อหุ้มที่มีความยืดหยุ่นที่ออกแบบมาเพื่อการขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงการชนกันของรถยนต์ เพื่อป้องกันผู้โดยสารจากการกระแทกกับวัตถุภายใน เช่น พวงมาลัย หน้าต่าง ยานพาหนะปัจจุบันอาจจะมีถุงลมนิรภัยอยู่ในหลายตำแหน่ง และเซ็นเซอร์อาจถูกนำมาปรับใช้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือมากกว่ากับถุงลมนิรภัยในบริเวณการชนที่อัตราตัวแปรขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของการชน;[1] ถุงลมนิรภัยถูกออกแบบมาเพื่อให้ทำงานโดยการขยายตัวเฉพาะการชนในระดับปานกลางถึงรุนแรงขึ้นที่ด้านหน้าหรือด้านอื่นที่ติดตั้งตัวตรวจจับการชน ถุงลมนิรภัยได้รับการออกแบบโดยปกติจะต้องทำงานร่วมกับเข็มขัดนิรภัย ส่วนใหญ่จะทำให้ขยายตัวด้วยวิธีการจุดระเบิดและสามารถดำเนินการได้ครั้งเดียว[2]

คำศัพท์[แก้]

ผู้ผลิตหลายรายเมื่อเวลาผ่านไปได้ใช้ข้อตกลงที่แตกต่างกันสำหรับการผลิตถุงลมนิรภัย บริษัทเจเนรัลมอเตอร์ ได้ผลิตโมดูลถุงลมนิรภัยเป็นครั้งแรกขึ้น ในปี 1970 ได้ทำการวางตลาดด้วยระบบเบาะอากาศนิรภัย (Air Cushion Restraint System, ACRS)

ประวัติ[แก้]

รถยนต์ยูอิค อิเล็คทรา (Buick Electra) ในปี 1975 กับระบบเบาะอากาศนิรภัย ACRS

ต้นกำเนิด[แก้]

ถุงลมนิรภัยที่กำหนดให้ใช้ในรถยนต์นั้นเมื่อมีการย้อนรอยเพื่อค้นหาจุดกำเนิดเริ่มต้นของมัน ต้นกำเนิดครั้งแรกที่ผลิตออกมามีลักษณะเป็นถุงที่เต็มไปด้วยอากาศ ซึ่งถูกผลิตขึ้นอย่างช้าที่สุดในช่วงต้นปี 1941 [3]

จากรายงานในปี 1951, วอลเตอร์ ลินเดอเรอ วิศวกรชาวเยอรมัน ได้ทำการออกแบบถุงลมนิรภัยขึ้น ลินดอเรอ ได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรของเยอรมันหมายเลขที่ # 896312 เมื่อ 6 ตุลาคม 1951 ซึ่งออกเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 1953 ประมาณสามเดือนหลังจากที่ชาวอเมริกัน จอห์น แฮทริค (John Hetrick) ได้มีการออกสิทธิบัตรของสหรัฐอเมริกา หมายเลขที่ # 2649311 ก่อนหน้านี้เมื่อ 18 สิงหาคม 1953 [4] ถุงลมนิรภัยของลินเดอเรออยู่บนพื้นฐานของระบบอัดอากาศที่จะปล่อยอากาศออกมาสู่ภายในถุงลมโดยการสัมผัสกับกันชน (bumper) หรือโดยการควบคุมของคนขับอย่างใดอย่างหนึ่ง หลังจากการวิจัยในช่วงปี 1960 แสดงให้เห็นว่าการบีบอัดอากาศไม่สามารถขยายถุงลมนิรภัยของลินเดอเรอให้พองตัวออกได้เร็วพอสำหรับความปลอดภัยสูงสุดจึงทำให้ระบบไม่ได้ผลจริงตามที่ควร [5][6]

แฮทริค เป็นวิศวกรอุตสาหกรรมและสมาชิกของกองทัพเรือสหรัฐฯ (United States Navy) ถุงลมนิรภัยของเขาได้รับการออกแบบบนพื้นฐานของประสบการณ์ของเขาเองด้วยการบีบอัดอากาศจากตอร์ปิโด (torpedo) ระหว่างการให้บริการของเขาในกองทัพเรือ, บวกกับความปรารถนาที่จะให้ความคุ้มครองแก่ครอบครัวของเขาเองในรถยนต์ของพวกเขาในระหว่างที่มีการเกิดอุบัติเหตุ แฮทริค ทำงานร่วมกับบริษัทรถยนต์รายใหญ่ของอเมริกันในช่วงเวลานั้น แต่พวกเขาเลือกที่จะไม่ลงทุนในสิ่งนี้ [7][8] แม้ว่าถุงลมนิรภัยจะไม่จำเป็นต้องใช้ในรถยนต์ที่ขายในสหรัฐอเมริกาทุกคัน, แฮทริคได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรในปี 1951 โดยทำหน้าที่เป็นตัวอย่างของสิ่งประดิษฐ์ "ที่มีคุณค่า" ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจเพียงเล็กน้อยเท่านั้นสำหรับผู้ที่ประดิษฐ์คิดค้นผลิตภัณฑ์สิ่งนี้ขึ้นมาเพราะนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรกไม่ได้ จนกระทั่งหลังจากสิทธิบัตรหมดอายุลงในปี 1971 มันได้ถูกติดตั้งให้ทำการทดลองใช้งานในรถยนต์ยี่ห้อ ฟอร์ด (Ford) เพียงไม่กี่คันเท่านั้น [9]

ในประเทศญี่ปุ่น ยาสุซาโบรุ โคโบริ (Yasuzaburou Kobori) (小堀保三郎) เริ่มพัฒนาถุงลมนิรภัยระบบ "ความปลอดภัยสุทธิ" (safety net) ขึ้นในปี 1964 ซึ่งทำให้เขาได้รับรางวัลสิทธิบัตรใน 14 ประเทศ ในเวลาต่อมาภายหลัง เขาเสียชีวิตในปี 1975 โดยไม่ได้มีชีวิตอยู่ดูเห็นการยอมรับอย่างกว้างขวางของระบบถุงลมนิรภัยที่ตนเองได้สร้างขึ้น [10][11][12]

ในปี 1967 มีความก้าวหน้าเกิดขึ้นจากการพัฒนาของเซ็นเซอร์ตรวจจับการชนของถุงลมนิรภัยเมื่อ อัลเลน เค. บรีด (Allen K. Breed) ได้คิดค้นส่วนประกอบของลูกบอลทางกลในท่อ (mechanically-ball-in-tube) สำหรับการตรวจจับการชน, เซ็นเซอร์ระบบเครื่องกลไฟฟ้า (electromechanical sensor) ที่มีลูกเหล็กติดอยู่กับท่อด้วยแม่เหล็กจะขยายถุงลมนิรภัยให้พองตัวออกภายใน 30 มิลลิวินาที [13] การระเบิดของสารโซเดียมเอไซด์ (sodium azide) ปริมาณเพียงเล็กน้อยจะถูกใช้แทนการอัดอากาศเข้าไปในถุงลมเป็นครั้งแรกในช่วงของการพองตัวของถุงลม [6] จากนั้น บริษัท Breed Corporation ก็ทำการตลาดนวัตกรรมนี้เป็นครั้งแรกให้กับบริษัทไครสเลอร์

อ้างอิง[แก้]

  1. ถุงลมนิรภัยทำงานอย่างไรเรียกดูข้อมูลวันที่ 4 เมย.2555
  2. เรื่องของถุงลมนิรภัย
  3. Innovative Materials and Techniques in Concrete Construction: Aces Workshop. Springer.
  4. "Safety Cushion for Automotive Vehicles". United States Patent and Trademark Office.
  5. "The History of Airbags". About.com- New York Times Company. สืบค้นเมื่อ 16 March 2014.[ลิงก์เสีย]
  6. 6.0 6.1 Big Ideas: 100 Modern Inventions That Have Transformed Our World. Sterling Publishing Company.
  7. "Airbag History - When Was The Airbag Invented?". Airbagsolutions.com. สืบค้นเมื่อ 16 March 2014.
  8. "The History of Airbags". Inventors.about.com. สืบค้นเมื่อ 16 March 2014.[ลิงก์เสีย]
  9. Weil, Roman L.; Frank, Peter B.; Kreb, Kevin D., บ.ก. (2009). Litigation services handbook: the role of the financial expert. John Wiley. p. 22.6. ISBN 9780470286609. สืบค้นเมื่อ 16 March 2014.
  10. "Achievements of Yasuzaburou Kobori" (ภาษาญี่ปุ่น). Japan Automotive Hall of Fame. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-02. สืบค้นเมื่อ 16 March 2014. Source of creative ideas, [he] started the development of the air bag as a starting point to develop a safety net of motor vehicles in 1964.
  11. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-19. สืบค้นเมื่อ 2016-07-14.
  12. SPA!. "エアバッグ - airbag.jpg - 日刊SPA!". 日刊SPA!.
  13. Ravop, Nick (14 January 2000). "Allen K. Breed, 72, a Developer Of Air Bag Technology for Cars". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 April 2015. สืบค้นเมื่อ 28 March 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]