ข้ามไปเนื้อหา

ต้นเตเนเร

พิกัด: 17°45′00″N 10°04′00″E / 17.75000°N 10.06667°E / 17.75000; 10.06667
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

17°45′00″N 10°04′00″E / 17.75000°N 10.06667°E / 17.75000; 10.06667

ต้นเตเนเร (ค.ศ. 1961)
ต้นเตเนเรตั้งอยู่ในประเทศไนเจอร์
ต้นเตเนเร
ต้นเตเนเร
ที่ตั้งดั้งเดิมของต้นเตเนเรในประเทศไนเจอร์

ต้นเตเนเร (ฝรั่งเศส: L'Arbre du Ténéré) เป็นต้นอาเคเชีย (Vachellia tortilis) โดดเดี่ยว[1][2][3] ที่เคยเป็นต้นไม้ที่โดดเดี่ยวที่สุดในโลก[4] ถือเป็นแลนด์มาร์กบนเส้นทางคาราวานผ่านภูมิภาคเตเนเร ประเทศไนเจอร์ทางตะวันออกเฉียงเหนือ ในพื้นที่ทะเลทรายสะฮารา ซึ่งเป็นที่รู้จักมากจนทำให้ต้นนี้กับต้น Arbre Perdu (สูญหาย) ทางเหนือเป็นต้นไม้เพียงไม่กี่ต้นที่มีการแสดงในแผนที่ในมาตราส่วน 1:4,000,000 ต้นเตเนเรตั้งอยู่ใกล้บ่อน้ำลึก 40 เมตร (130 ฟุต)

ล้มลงและอนุสรณ์

[แก้]
โครงสร้างเหล็กของต้นไม้ (ค.ศ. 1985)
ศาลาที่บรรจุส่วนหลงเหลือของต้นไม้ที่นีอาเม

คนขับรถกระบะชนต้นเตเนเรล้มลงใน ค.ศ. 1973[5] จากนั้นในวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1973 มีการย้ายซากต้นไม้ไปที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติไนเจอร์ที่นีอาเม[6]

ส่วนบริเวณที่เคยเป็นที่ตั้งของต้นไม้ ได้มีการทำโครงสร้างเหล็กไปตั้งบนนั้น

อ้างอิง

[แก้]
  1. Riedacker, A. (1993). Physiologie des arbres et arbustes en zones arides et semi-arides: séminaire, Paris-Nancy, 20 mars-6 avril 1990 (ภาษาฝรั่งเศส). John Libbey Eurotext. p. 406. ISBN 2-7420-0019-4. สืบค้นเมื่อ 2009-08-11. L'Hote (1961) note dans son article sur l'arbre du Ténéré (Acacia raddiana) que l'on aurait retrouvé ses racines à 30 métres de profondeur.
  2. Le Roy, Robert (1998). Méhariste au Niger: souvenirs sahariens (ภาษาฝรั่งเศส). Karthala Editions. p. 108. ISBN 2-86537-778-4. สืบค้นเมื่อ 2009-08-11. It avait fallu à cet acacia tortilis une belle vigueur et une fameuse chance pour subsister là, seul, jusqu'à élever son feuillage hors de portée des gazelles.
  3. Kyalangalilwa, Bruce; Boatwright, James S.; Daru, Barnabas H.; Maurin, Olivier; van der Bank, Michelle (2013-08-01). "Phylogenetic position and revised classification of Acacia s.l. (Fabaceae: Mimosoideae) in Africa, including new combinations in Vachellia and Senegalia". Botanical Journal of the Linnean Society. 172 (4): 500–523. doi:10.1111/boj.12047. ISSN 0024-4074.
  4. Wagensonner, Eric (2007-01-15). "Eastern Mali to Niger to Timbuktu - 2–19 September 06". Border-Crossings. สืบค้นเมื่อ 2009-08-11.
  5. L'arbre du Ténéré, symbole de la survie dans le Sahara(in French)
  6. L'Arbre du Ténéré, Part 2

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]