ข้ามไปเนื้อหา

ตจวิทยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ตจวิทยา (อังกฤษ: dermatology) เป็นสาขาหนึ่งในวิชาแพทยศาสตร์ที่เกี่ยวกับผิวหนังและตจโทษ[1] ซึ่งเป็นสาขาย่อยชนิดพิเศษทั้งทางด้านอายุรศาสตร์และศัลยศาสตร์[2][3][4] ตจแพทย์ดูแลผู้ป่วยที่มีตจโทษหรือปัญหาด้านความสวยความงามเกี่ยวกับผิวหนัง เช่นผิวหนัง หนังศีรษะ เส้นผม และเล็บ

ประวัติ

[แก้]

โรคที่เกี่ยวกับผิวหนังนั้นได้รับการค้นพบตั้งแต่ช่วงต้นของประวัติศาสตร์ โดยบ้างได้รับการรักษา บ้างไม่ได้รับการรักษา ในปี 1801 โรงเรียนสอนแพทย์เกี่ยวกับตจวิทยาก่อตั้งขึ้นในปารีสที่โรงพยาบาล Hôpital Saint-Louis อันมีชื่อเสียง ในขณะเดียวกันก็มีการตีพิมพ์ตำราตจวิทยาเล่มแรกในช่วงเวลานั้นๆ

การฝึกหัดตจแพทย์ในประเทศไทย

[แก้]

ตจแพทย์ในประเทศไทยจะต้องจบแพทยศาสตรบัณฑิตก่อน โดยใช้เวลาเรียนปกติคือ 6 ปี หลังจากนั้นจึงเข้าเรียนเพื่อเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนัง ในประเทศไทยมีหลักสูตรการอบรมแพทย์ประจำบ้าน สาขาตจวิทยาที่ต้องใช้เวลาเรียน 4 ปี ซึ่งในปัจจุบันมีสถาบันฝึกอบรมในระดับนี้ 7 แห่ง ได้แก่ [5]

  1. หน่วยโรคผิวหนัง ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  2. หน่วยโรคผิวหนัง ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  3. สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
  4. สาขาวิชาโรคผิวหนัง ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  5. สาขาวิชาตจวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  6. ภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  7. แผนกผิวหนัง กองอายุรกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

ในแต่ละปีจะมีแพทย์ที่จบหลักสูตรการอบรมและสอบผ่านจนได้รับ “วุฒิบัตร” แสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาตจวิทยา จากแพทยสภา ประมาณ 20 คนเท่านั้น แพทย์ที่มีวุฒิบัตรฯ หรือ หนังสืออนุมัติฯ สาขาตจวิทยา นี้เท่านั้นที่จะเป็น Dermatologist หรือ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนัง หรือ ตจแพทย์ ตามระเบียบของแพทยสภา และเป็นสมาชิกสามัญของสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย แพทย์ในกลุ่มนี้สามารถทำการตรวจรักษาโรคผิวหนังและดูแลปัญหาด้านผิวพรรณความงามได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน

การบำบัด

[แก้]
Facial cleansing pores in Meditec at ITESM CCM(2012)

ตจแพทย์ใช้วิธีรักษาตจโทษต่างๆหลากหลายวิธีโดยวิธีหลักๆมี:

  • การฉีดสารเติมเต็มเชิงสำอาง
  • การกำจัดขนโดยใช้เลเซอร์หรือวิธีการอื่น
  • การปลูกผม
  • การบำบัดแบบ Intralesional injection โดยใช้สเตียรอยด์หรือสารอื่นๆ
  • การใช้เลเซอร์เพื่อการจัดการปานและความผิดปกติของผิวหนังอื่นๆ เช่น การลดสิว และลบรอยสัก การชะลอวัย
  • การบำบัดด้วยแสงเชิงพลวัติ ใช้สำหรับการรักษามะเร็งผิวหนังและป้องกันการเกิดมะเร็ง
  • การบำบัดด้วยแสง โดยรวมถึงการใช้รังสีเหนือม่วงบีความถี่กว้าง ความถี่แคบ และอื่นๆ
  • การดูดไขมัน โดยจะใช้ในการชลอวัยและการกำจัดไขมันเฉพาะจุด วิธีนี้ยังใช้กันในหมู่ศัลยแพทย์พลาสติกและแพทย์เวชศาสตร์ชลอวัยด้วย[6]
  • การผ่าตัดด้วยความเย็น สำหรับการรักษาหูด มะเร็ง และความผิดปกติอื่นๆ
  • การรักษาด้วยรังสี
  • การผ่าตัดโรควงด่างขาว
  • การวินิฉัยภูมิแพ้
  • การบำบัดเชิงระบบ โดยใช้ยา
  • การบำบัดเฉพาะที่

อ้างอิง

[แก้]
  1. Random House Webster's Unabridged Dictionary. Random House, Inc. 2001. Page 537. ISBN 037572026.
  2. "What is a dermatologist; what is dermatology. DermNet NZ". Dermnetnz.org. 2009-06-15. สืบค้นเมื่อ 2012-10-28.
  3. http://www.aad.org/public/specialty/what.html
  4. "What is a Dermatologist". Dermcoll.asn.au. สืบค้นเมื่อ 2012-10-28.
  5. http://dst.or.th/know_details.php?news_id=26&news_type=kno
  6. "Liposuction - Who Invented Liposuction?". Inventors.about.com. 2012-04-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-11-07. สืบค้นเมื่อ 2012-10-28.