ข้ามไปเนื้อหา

ดุอาเญาชันกะบีร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ดุอาเญาชันกะบีร เป็นดุอาที่กล่าวถึงพระนามและคุณลักษณะต่างๆ ที่งดงามของพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ซึ่งเป็นที่รู้จักและใช้ในการวิงวอนขอพรของมุสลิมนิกายชีอะฮ์. โดยมุสลิมนิกายชีอะฮ์มีความเชื่อว่าดุอา “เญาชันกะบีร” เป็นดุอาที่ท่านญิบรออีล (อ.) ได้สอนแก่ท่านศาสดามุฮัมหมัด (ศ็อลฯ) และดุอาบทนี้ถูกเน้นย้ำให้อ่านในค่ำคืนแห่ง “ก็อดร์” (ค่ำคืนแห่งการประทานพระคัมภีร์อัลกุรอาน).[1]

ชื่อของดุอา

[แก้]

 "เญาชัน" ในหลักภาษาอาหรับให้ความหมายว่า "เสื้อเกราะ". สาเหตุที่ดุอาบทนี้ได้ชื่อว่า เญาชัน เนื่องจากว่าในสงครามหนึ่งท่านศาสดามุฮัมหมัดได้ใส่เสื้อเกราะตัวหนึ่งที่หนักเป็นอย่างมาก. ญิบรออีลจึงได้ลงมาสู่ท่านศาสดาด้วยคำสั่งจากพระเจ้า และได้กล่าวกับท่านศาสดาว่า "โอ้มุฮัมหมัด พระเจ้าได้ส่งศานติแด่ท่าน และได้กล่าวแก่ท่านว่า จงถอดเสื้อเกราะตัวใส่อยู่เสียเถิด แล้วจงอ่านดุอาบทนี้ (เญาชันกะบีร) เพราะมันจะปกป้องท่านและประชาชาติของท่านจากภัยภิบัติต่างๆ. และคำว่า กะบีร (ใหญ่) ก็ให้ความหมายสองอย่างด้วยกันคือ หนึ่งเพราะความยาวของดุอา และสองเพราะเสื้อเกราะตัวใหญ่ที่ท่านศาสดาใส่อยู่.[2]

เนื้อหา

[แก้]

“เญาชัน กะบีร” มีทั้งหมด 100 วรรค ซึ่งในแต่ละวรรคจะสรรเสริญพระนามของพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) สิบพระนามด้วยกัน (นอกจากวรรคที่ 55 มี สิบเอ็ดพระนาม). ดังนั้นพระนาม1001ของพระองค์จึงถูกกล่าวสรรเสริญไว้ในดุอาบทนี้.

พระนามของพระองค์อัลลอฮ์จำนวนมากที่ถูกสาธยายไว้ในบทดุอานี้นำมาจากพระคัมภีร์อัลกุรอาน . โดยจะมีสัมผัสกันในแต่ละวรรคของบทดุอา มีท่วงทำนองที่เสนาะ. ดังตัวอย่างวรรคที่หนึ่งของดุอาจะอ่านว่า รอฮีม – การีม – มุกีม – อาซีม – กอดีม – อาลีม – ฮากีม และ อาลีม ซึ่งจะเห็นได้ว่าคำสุดท้ายจะลงท้ายด้วยสระ และอักษรที่เหมือนกัน จึงทำให้เกิดความคล้องจอง และทำนองที่ไพเราะชวนให้น่าอ่าน

คุณลักษณะที่เฉพาะ

[แก้]

ดุอาบทนี้มีทั้งหมด 100 วรรค เมื่ออ่านจบแต่ละวรรค จะต้องอ่านบทสร้อยว่า «سُبْحَانَکَ یَا لا إِلَهَ إِلا أَنْتَ الْغَوْثَ الْغَوْثَ خَلِّصْنَا مِنَ النَّارِ یَا رَبِّ» (ซุบฮานะกะ ยา ลาอิลาฮา อิลลาอันตา อัลเฆา อัลเฆา อัลเฆา คอลลิศนา มินันนาริ ยาร็อบ) ความหมายคือ “มหาบริสุทธิ์แด่พระองค์ โอ้พระผู้อภิบาล ซึ่งไม่มีพระเจ้าอื่นใดแล้วนอกจากพระองค์ , ขอพระองค์ทรงช่วยเหลือให้ข้าพระองค์รอดพ้นจากไฟนรกอเวจีด้วยเถิด” ดุอาเญาชันกะบีรจะระลึกถึงพระนามของพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ทั้งสิ้น 1001 พระนาม ส่วนมากพระนามเหล่านี้ได้มาจากคัมภีร์อัลกุรอาน และบทบันทึกวัจนะท่านศาสดามุฮัมหมัด (ศ็อลฯ) ทั้งสิ้น

ดังที่กล่าวมา พระนามของพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) จะถูกกล่าวถึง 10 พระนามในหนึ่งวรรค แต่ในวรรคที่ ๕๕ จะกล่าวถึงพระนาม 11 พระนามด้วยกัน จึงกลายเป็น 1001 พระนามนั้นเอง.

7 คุณลักษณะของพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ที่ถูกระลึกซ้ำหลายครั้งในดุอาบทนี้ ได้แก่ :

  • یا من لم یتخذ صاحبه و لا ولدا (ยามันลัม ยัตตะคิซ ศอฮิบะเตา วะลา วะลาดา) ในวรรคที่ 62 และ 84
  • یا نافع (ยานาเฟี๊ยะอ์) ในวรรคที่ 9 และ 32
  • یا من هو بمن رجاه کریم (ยามันฮุวา บิมัน รอญาฮุ กะรีม) ในวรรคที่ 18 และ 96
  • یا من هو بمن عصاه حلیم (ยามันฮุวา บิมัน อะซอฮุ ฮะลีม) ในวรรคที่ 18 และ96หรือ خبیر ในย่อหน้า ۴۴ และ ۶۹ น
  • یا من فضله عمیم (ยามันฟัฎลุฮุ อะมีม) ในวรรคที่ 48 และ 98
  • یا انیس من لا انیس له (ยาอะนีซ มันลา อะนีซะ ละฮุ) ในวรรคที่ 28 และ 59
  • یا خبیر (ยาคอบีร) ในวรรคที่ 44 และ 69

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  • หนังสือมะฟาติฮุ้ลญินาน เชคอับบาส กุมมีย์
    ISBN 964-6815-30-8
  1. مفاتیح‌الجنان، شیخ عباس قمی
  2. แม่แบบ:پک