ดนัย ทายตะคุ
ดนัย ทายตะคุ | |
---|---|
เกิด | 1 มีนาคม พ.ศ.2503 ไทย |
สัญชาติ | ไทย |
ศิษย์เก่า | |
ผลงานสำคัญ |
|
ดร. ดนัย ทายตะคุ (เกิด 1 มีนาคม 2503) เป็นภูมิสถาปนิก นักนิเวศวิทยา นักวิจัยชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขาเป็นผู้บุกเบิกและผู้เชี่ยวชาญแนวทางการออกแบบภูมิทัศน์นิเวศวิทยา (Landscape Ecology) เข้ากับงานภูมิสถาปัตยกรรม คนแรก ๆ ของประเทศไทย
ดนัย จบมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2520 แล้ว จึงเลือกศึกษาต่อยังภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2526 โดยสำเร็จการศึกษาเป็นรุ่นแรกของภาควิชา หลังจากจบการศึกษา เขาได้เริ่มทำงานในตำแหน่งอาจารย์ประจำภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเวลา 5 ปี เขาจึงได้ศึกษาต่อระดับปริญญาโทสาขาภูมิสถาปัตยกรรมที่ บัณฑิตวิทยาลัยการออกแบบ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (GSD) โดยมีศาสตราจารย์ คาร์ล สไตนิตซ์ (Carl Steinitz) เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาสตูดิโอ จากนั้นจึงศึกษาต่อระดับปริญญาเอกสาขาการวางแผนสิ่งแวดล้อมที่ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์
ในปี พ.ศ. 2542 เขากลับมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้ดำรงตำแหน่งประธานหลักสูตรปริญญาโทในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเคยเป็นนักวิจัยเชี่ยวชาญพิเศษและอาจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ สมัยเป็นนักศึกษาปริญญาเอก อีกด้วย[2]
ผลงานออกแบบและผลงานวิจัย
[แก้]ดร.ดนัย นับว่าเป็นภูมิสถาปนิกคนแรกของประเทศไทย ที่เชี่ยวชาญเรื่องภูมิสถาปัตยกรรมเชิงนิเวศ มีผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับภูมิทัศน์นิเวศวิทยาหลายเรื่อง เช่น Understanding Bangkok's 1890 Urban Patterns: A Historical GIS Method,Urban-Rural Sustainability ทุน Integrated Research System for Sustainable Science (IR3S), The University of Tokyo, PACIFIC RIM CITIES: CLIMATE CHANGE MITIGATION AND ADAPTATION STRATEGIES (CMAS): Resilience and Adaptability and Climate Change: The New Realm of Urban Ecology and Urbanization and Landscape Changes: the Chao Phraya river delta and the city of Bangkok, Thailand.
โดยมีผลงานวางผัง ออกแบบและเป็นที่ปรึกษา เช่น งานวางผังและออกแบบ ผังแม่บทการฟื้นฟูที่ดินเหมืองแร่ในจังหวัดภูเก็ตเป็นสวนสาธารณะ (2530), งานวางผังและออกแบบ การจัดทำผังแม่บทและออกแบบรายละเอียดโครงการปรับปรุงพื้นที่ที่ผ่านการทำเหมืองแร่ทองคำ ตำบลบ่อทอง อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (2546) ,งานวางผังและออกแบบ ผังปรับปรุงพื้นที่ที่ผ่านการทำเหมืองแร่แล้วเพื่อการพักผ่อน ตำบลหงาว อำเภอเมือง จังหวัดระนอง (2546) ,งานวางผังและออกแบบ ภูมิทัศน์ลานหน้าอาคารคณะศิลปกรรมศาสตร์และอาคารบรมราชกุมารี (2549)[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[4]
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[5]
- พ.ศ. 2551 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ดร.ดนัย ทายตะคุ, เว็บไซด์:http://www.land.arch.chula.ac.th/ .สืบค้นเมื่อ 29/07/2561
- ↑ ประวัติฯ งานหลักสูตร บทวิพากษ์ (official use) updated at 290656, Website:Issuu .สืบค้นเมื่อ 21/12/2562
- ↑ Danai Thaitakoo
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย เก็บถาวร 2022-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๓ ข หน้า ๑๔๕, ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-07-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๑๐๖, ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๕๑ เก็บถาวร 2022-07-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๒๐, ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๒