ข้ามไปเนื้อหา

ซิมโฟนีหมายเลข 6 (ไชคอฟสกี)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ซิมโฟนีหมายเลข 6 ในบันไดเสียง บี ไมเนอร์ (อังกฤษ: Symphony No. 6 in B minor, Pathétique, Op. 74) เป็นซิมโฟนีชิ้นสุดท้ายของปิออตร์ อิลิช ไชคอฟสกี แต่งขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงสิงหาคม ค.ศ. 1893 [1] ออกแสดงครั้งแรกที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 1893 เพียงเก้าวันก่อนการเสียชีวิตของไชคอฟสกี โดยเขาเป็นผู้อำนวยเพลงด้วยตนเอง การแสดงครั้งที่สองในพิธีรำลึกถึงการเสียชีวิตของเขา เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน ได้มีการปรับปรุงสกอร์ดนตรีเล็กน้อยโดยตัวไชคอฟสกีเอง อำนวยเพลงโดย Eduard Nápravník วายกรชาวเช็ก

ไชคอฟสกีได้อุทิศบทประพันธ์บทนี้ให้กับวลาดีมีร์ ดาวืยดอฟ ซึ่งเป็นหลานชาย และว่ากันว่าเป็นหนึ่งในชู้รักของตัวเขา [2] มีเสียงซุบซิบร่ำลือว่าพฤติกรรมการรักร่วมเพศของไชคอฟสกี สร้างความไม่พอใจให้กับบุคคลชั้นสูงในสังคม จึงบีบบังคับให้ไชคอฟสกีฆ่าตัวตายโดยการดื่มน้ำที่ไม่ได้ต้ม และป่วยเป็นอหิวาตกโรคจนเสียชีวิต [3]

ไชคอฟสกีไม่ได้ตั้งชื่อซิมโฟนีบทนี้ แต่เรียกว่า Программная (Programmnaja หรือ "Programme Symphony") ซิมโฟนีบทนี้มีดนตรีที่หดหู่ คล้ายกับว่าไชคอฟสกีพอจะทราบชะตาของตัวเองอยู่แล้ว ถือเป็นบทสั่งลา น้องชายคนสุดท้องของเขาชื่อ โมเดสต์ อิลิชไชคอฟสกี จึงเสนอให้ใช้ชื่อว่า Патетическая (Patetičeskaja) มีความหมายว่า "passionate" หรือ "emotional" ซิมโฟนีบทนี้จึงรู้จักกันในชื่อ Pathétique เป็นศัพท์ภาษาฝรั่งเศสในความหมายเดียวกัน

ซิมโฟนีบทนี้ประกอบด้วย 4 มูฟเมนต์ ได้แก่

  • I. Adagio – Allegro non troppo - Andante - Moderato Mosso - Andante - Moderato assai - Allegro vivo - Andante come prima - Andante mosso (E Minor - B Minor - D Major - B Minor - B Major)
  • II. Allegro con grazia (D major - B Minor - D Major)
  • III. Allegro molto vivace (G major)
  • IV. Finale: Adagio lamentoso (B minor)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-20. สืบค้นเมื่อ 2010-07-26.
  2. Poznansky, Alexander Tchaikovsky: The Quest for the Inner Man (New York: Schirmer Books, 1991). ISBN 0-02-871885-2.
  3. Pathetique : Symphony หมายเลข 6 และความตายของ Tchaikovsky

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]