ซันชาแห่งเลออน
ซันชา | |
---|---|
รูปปั้นแกะสลักในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ในพระบรมมหาราชวังมาดริด | |
จักรพรรดินีแห่งสเปนทั้งหมด พระราชินีแห่งเลออน | |
ประสูติ | ค.ศ. 1018 |
สิ้นพระชนม์ | 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1067 |
ฝังพระศพ | มหาวิหารซันอิซิโดโร |
พระสวามี | พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 1 แห่งกัสติยา |
พระบุตร | อูร์รากาแห่งซาโมรา พระเจ้าซันโชที่ 2 แห่งกัสติยาและเลออน เอลบีราแห่งโตโร พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 แห่งเลออนและกัสติยา พระเจ้าการ์เซียที่ 2 แห่งกาลิเซีย |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์อัสตูร์-เลโอเนซา |
พระราชบิดา | พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 5 แห่งเลออน |
พระราชมารดา | เอลบีรา เมเนนเดซ |
ศาสนา | ศาสนาคริสต์ |
ซันชาแห่งเลออน (สเปน: Sancha) เสด็จพระราชสมภพ ค.ศ. 1018[1] สิ้นพระชนม์ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1067[2] เป็นพระราชินีแห่งเลออน
พระราชประวัติ
[แก้]ซันชาเป็นพระธิดาของพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 5 แห่งเลออนกับพระมเหสีคนแรก เอลบีรา เมเนนเดซ [1] พระองค์กลายเป็นพระอธิการิณีฝ่ายฆราวาสของอารามซันเปลาโย[2]
ในปี ค.ศ. 1029 ได้มีการจัดเตรียมการแต่งงานทางการเมืองให้กับซันชากับเคานต์การ์เซีย ซันเชซแห่งกัสติยา[3] ทว่าระหว่างเดินทางมาเลออนเพื่อแต่งงาน การ์เซียถูกกลุ่มข้าราชบริวารที่ไม่พอใจลอบสังหาร ในปี ค.ศ. 1032 ซันชาอภิเษกสมรสกับพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 1 แห่งกัสติยา พระภาติยะและผู้สืบทอดของการ์เซียที่มีพระชนมายุ 11 พรรษา[2]
ในปี ค.ศ. 1037 พระเจ้าเฟร์นันโดได้สังหารพระเจ้าเบร์มุนโดที่ 3 แห่งเลออน[4] พระเชษฐาของซันชา[5] ที่สมรภูมิตามาโรนแล้วปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์แห่งเลออน ซันชากลายเป็นพระราชินี หลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าเฟร์นันโดในปี ค.ศ. 1065 ราชอาณาจักรของพระองค์ถูกแบ่งให้กับพระโอรส ว่ากันว่าซันชาพยายามสร้างความปรองดองให้กับเหล่าพระโอรสแต่ไม่ได้ผล
พระองค์เป็นชาวคาทอลิกผู้อุทิศตนให้กับศาสนา พระองค์กับพระสวามีมีคำสั่งให้ทำกางเขนตรึงพระเยซูที่มีชื่อของทั้งสองพระองค์[6] เพื่อมอบเป็นของขวัญให้แก่มหาวิหารซันอิซิโดโด[7]
พระโอรสธิดา
[แก้]ซันชาที่พระโอรสธิดาห้าคน คือ
- อูร์รากาแห่งซาโมรา[8]
- พระเจ้าซันโชที่ 2 แห่งกัสติยาและเลออน[9]
- เอลบิราแห่งโตโร[9]
- พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 แห่งเลออนและกัสติยา[9]
- พระเจ้าการ์เซียที่ 2 แห่งกาลิเซีย[9]
การสิ้นพระชนม์และพิธีฝังศพ
[แก้]พระองค์สิ้นพระชนม์ในนครเลออนเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1067[2] ร่างของพระองค์ถูกฝังในวิหารบรรพบุรุษของมหาวิหารซันอิซิโดโร[10] เคียงข้างพระบิดามารดา, พระเชษฐอนุชา, พระสวามี และพระโอรสธิดา คือ เอลบีรา, อูร์รากา และพระเจ้าการ์เซีย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Sánchez Candeira 1999, p. 48.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 Viñayo González, Antonio. "Sancha Alfónsez". Diccionario biográfico España(in Spanish). Real Academia de la Historia.
- ↑ Bernard F. Reilly, 26.
- ↑ Reilly, Bernard F. 1982. The Kingdom of León-Castilla under Queen Urraca, 1109–1126, 3.Princeton: Princeton University Press.
- ↑ Justo Pérez de Urbel and Ricardo Del Arco y Garay, Historia de España, vol. 6, España cristiana, comienzo de la reconquista (711-I038), 2d ed.
- ↑ Gómez-Moreno, María Elena (1947). Mil Joyas del Arte Español. Barcelona: Instituto Gallach.
- ↑ Sureda, Joan (1988). Historia Universal del Arte: Románico/Gótico. Barcelona: Editorial Planeta
- ↑ Sánchez Candeira 1999, p. 226.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 Sánchez Candeira 1999, p. 227.
- ↑ Martiala Sacristán, Teresa; Suárez Bilbao, Fernando (December 20, 2010). "Infantas y reinas en la corte de Alfonso VI". Alfonso VI: Imperator totius orbis Hispanie (in Spanish). Suarez, Fernando and Gambra, Andrés, coord. Editorial Sanz Y Torres S.l. p. 132. ISBN 9788492948451.