ซันชาแห่งเลออน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซันชา
รูปปั้นแกะสลักในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ในพระบรมมหาราชวังมาดริด
จักรพรรดินีแห่งสเปนทั้งหมด
พระราชินีแห่งเลออน
ประสูติค.ศ. 1018
สิ้นพระชนม์8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1067
ฝังพระศพมหาวิหารซันอิซิโดโร
พระสวามีพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 1 แห่งกัสติยา
พระบุตรอูร์รากาแห่งซาโมรา
พระเจ้าซันโชที่ 2 แห่งกัสติยาและเลออน
เอลบีราแห่งโตโร
พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 แห่งเลออนและกัสติยา
พระเจ้าการ์เซียที่ 2 แห่งกาลิเซีย
ราชวงศ์ราชวงศ์อัสตูร์-เลโอเนซา
พระราชบิดาพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 5 แห่งเลออน
พระราชมารดาเอลบีรา เมเนนเดซ
ศาสนาศาสนาคริสต์

ซันชาแห่งเลออน (สเปน: Sancha) เสด็จพระราชสมภพ ค.ศ. 1018[1] สิ้นพระชนม์ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1067[2] เป็นพระราชินีแห่งเลออน

พระราชประวัติ[แก้]

ซันชาเป็นพระธิดาของพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 5 แห่งเลออนกับพระมเหสีคนแรก เอลบีรา เมเนนเดซ [1] พระองค์กลายเป็นพระอธิการิณีฝ่ายฆราวาสของอารามซันเปลาโย[2]

ในปี ค.ศ. 1029 ได้มีการจัดเตรียมการแต่งงานทางการเมืองให้กับซันชากับเคานต์การ์เซีย ซันเชซแห่งกัสติยา[3] ทว่าระหว่างเดินทางมาเลออนเพื่อแต่งงาน การ์เซียถูกกลุ่มข้าราชบริวารที่ไม่พอใจลอบสังหาร ในปี ค.ศ. 1032 ซันชาอภิเษกสมรสกับพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 1 แห่งกัสติยา พระภาติยะและผู้สืบทอดของการ์เซียที่มีพระชนมายุ 11 พรรษา[2]

ในปี ค.ศ. 1037 พระเจ้าเฟร์นันโดได้สังหารพระเจ้าเบร์มุนโดที่ 3 แห่งเลออน[4] พระเชษฐาของซันชา[5] ที่สมรภูมิตามาโรนแล้วปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์แห่งเลออน ซันชากลายเป็นพระราชินี หลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าเฟร์นันโดในปี ค.ศ. 1065 ราชอาณาจักรของพระองค์ถูกแบ่งให้กับพระโอรส ว่ากันว่าซันชาพยายามสร้างความปรองดองให้กับเหล่าพระโอรสแต่ไม่ได้ผล

พระองค์เป็นชาวคาทอลิกผู้อุทิศตนให้กับศาสนา พระองค์กับพระสวามีมีคำสั่งให้ทำกางเขนตรึงพระเยซูที่มีชื่อของทั้งสองพระองค์[6] เพื่อมอบเป็นของขวัญให้แก่มหาวิหารซันอิซิโดโด[7]

พระโอรสธิดา[แก้]

ซันชาที่พระโอรสธิดาห้าคน คือ

การสิ้นพระชนม์และพิธีฝังศพ[แก้]

พระองค์สิ้นพระชนม์ในนครเลออนเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1067[2] ร่างของพระองค์ถูกฝังในวิหารบรรพบุรุษของมหาวิหารซันอิซิโดโร[10] เคียงข้างพระบิดามารดา, พระเชษฐอนุชา, พระสวามี และพระโอรสธิดา คือ เอลบีรา, อูร์รากา และพระเจ้าการ์เซีย

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Sánchez Candeira 1999, p. 48.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Viñayo González, Antonio. "Sancha Alfónsez". Diccionario biográfico España(in Spanish). Real Academia de la Historia.
  3. Bernard F. Reilly, 26.
  4. Reilly, Bernard F. 1982. The Kingdom of León-Castilla under Queen Urraca, 1109–1126, 3.Princeton: Princeton University Press.
  5. Justo Pérez de Urbel and Ricardo Del Arco y Garay, Historia de España, vol. 6, España cristiana, comienzo de la reconquista (711-I038), 2d ed.
  6. Gómez-Moreno, María Elena (1947). Mil Joyas del Arte Español. Barcelona: Instituto Gallach.
  7. Sureda, Joan (1988). Historia Universal del Arte: Románico/Gótico. Barcelona: Editorial Planeta
  8. Sánchez Candeira 1999, p. 226.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 Sánchez Candeira 1999, p. 227.
  10. Martiala Sacristán, Teresa; Suárez Bilbao, Fernando (December 20, 2010). "Infantas y reinas en la corte de Alfonso VI". Alfonso VI: Imperator totius orbis Hispanie (in Spanish). Suarez, Fernando and Gambra, Andrés, coord. Editorial Sanz Y Torres S.l. p. 132. ISBN 9788492948451.