ชายกินพืช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ชายกินพืช[1] หรือ ชายกินหญ้า[2] (ญี่ปุ่น: 草食(系)男子โรมาจิSōshoku(-kei) danshi) เป็นคำที่ใช้ใน ญี่ปุ่น เพื่อกล่าวถึงคนที่ไม่สนใจจะแต่งงานหรือหาแฟนสาว[3] คำว่าชายกินพืชใช้สื่อถึงชายหนุ่มที่สูญเสียความเป็นชาย[4][5][6] คำนี้ถูกคิดขึ้นโดยนักเขียนมากิ ฟูคะซะวะ ในบทความตีพิมพ์เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 2006[7][8][9][10]

ผลสำรวจของชายโสดญี่ปุ่นใน ค.ศ. 2010 พบว่า ร้อยละ 61 ของชายในวัย 20 และร้อยละ 70 ของชายในวัย 30 นับว่าตัวเองเป็นชายกินพืช[11] รัฐบาลญี่ปุ่นมองปรากฏการณ์นี้ว่าเป็นหนึ่งในสาเหตุของการลดลงของอัตราการเกิดในประเทศญี่ปุ่น[12]

ตามที่ฟูคะซะวะอธิบายไว้ ชายกินพืช "ไม่ได้ไม่มีความสัมพันธ์ที่โรแมนติก แต่มีทัศนคติไม่แยแสต่อความต้องการเนื้อหนัง" นักปรัชญา มาซะฮิโระ โมริโอกะ ให้นิยามกับคำว่าชายกินพืชว่า เป็นชายที่ใจดีและอ่อนโยน และไม่ถูกยึดไว้ด้วยความเป็นชาย ไม่แสวงหาความรักโรแมนติกอย่างตะกละตะกลาม และไม่มีแนวโน้มที่จะถูกทำร้ายหรือทำร้ายผู้อื่น[4]

สิ่งที่อาจเป็นสาเหตุ[แก้]

ความไม่แยแสของผู้ชายต่อการแต่งงานและความผูกพันเป็นแนวโน้มที่สังเกตได้ในสังคมที่ก้าวหน้ามาก ๆ ปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจต่าง ๆ มีการอ้างถึงบทบาทของแนวโน้มเช่นนี้ ในญี่ปุ่นการลดลงของเศรษฐกิจญี่ปุ่นมักถูกกล่าวกันว่าเป็นสาเหตุของการเพิ่มขึ้นของชายกินพืช ทฤษฎีที่ว่าความถดถอยทางเศรษฐกิจจากการแตกของฟองสบู่ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 ทำให้ชาวญี่ปุ่นหันหลังให้กับผู้ชายที่เป็นแบบฉบับ และบทบาทในองค์กร[13][14] ในขณะที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยแสดงให้เห็นถึงความเปราะบางของมนุษย์เงินเดือน การมีงานประจำกลายเป็นเรื่องที่น่าสนใจน้อยลง โดยมีฟรีแลนซ์กว่า 2,500,000 คนที่ทำงานเฉพาะช่วงเวลา และระหว่าง 650,000 ถึง 850,000 คนหนุ่มสาวที่ "ไม่ได้อยู่ในการศึกษา การจ้างงานหรือการฝึกอบรม" ระหว่างอายุ 19 ถึง 35 ปีอาศัยอยู่ในญี่ปุ่น[15] การตอบสนองนี้อาจฝังลึกในวัฒนธรรมญี่ปุ่น[16]

สตรีชาวญี่ปุ่นอาจเป็นอีกสาเหตุที่ผู้ชายไม่อยากมีความสัมพันธ์ที่โรแมนติก การตัดสินใจที่ชายกินพืชหลายคนหยุดการทำงานเนื่องจากการทำงานและการแต่งงานในญี่ปุ่นมีความเกี่ยวพันกันเป็นอย่างมาก  ทำให้ชาวญี่ปุ่นเหล่านี้หาคู่ยากขึ้น ผู้หญิงจำนวนมากปฏิเสธชายที่ไม่ได้มีงานที่มั่นคง.[17] ผู้หญิงคนอื่น ๆ รู้สึกว่าชายกินพืชนั้นอ่อนแอและไม่เป็นชายชาตรี และชายบางคนก็ไม่ชอบผู้หญิงที่มีความเป็นตัวของตัวเอง.[12][18][19] ในการสำรวจความคิดเห็นของเด็กชายญี่ปุ่นอายุระหว่าง 16 ถึง 19 ปีพบว่า 36% กล่าวว่าพวกเขาไม่สนใจในเรื่องเพศ ตัวเลขสำหรับหญิงในกลุ่มอายุเดียวกันอยู่ที่ 59%[20] มาซาฮิโร โมริโอกะโต้แย้งว่าชายกินพืชในญี่ปุ่นเป็นเป็นผลมาจากความสงบสุขหลังสงครามของญี่ปุ่น นับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองญี่ปุ่นไม่ได้มีส่วนร่วมโดยตรงในสงครามหรือความขัดแย้งใด ๆ ไม่ว่าจะอยู่ในขอบเขตของตนเองหรือนอกประเทศ ก่อนช่วงเวลาแห่งสันติภาพชาวญี่ปุ่นจำนวนมากรู้สึกว่าการเป็นทหารเป็นวิธีเดียวที่จะกลายเป็นลูกผู้ชาย บรรทัดฐานทางสังคมนี้หายไปอย่างช้าๆในช่วงหลังสงครามสันติภาพหลังสงคราม ด้วยเหตุนี้คนญี่ปุ่นจึงก้าวร้าวน้อยลงและอาจทำให้ชายเหล่านี้ไม่อยากมีรักโรแมนติก[4]

ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น[แก้]

ญี่ปุ่นมีอัตราการเกิดเพียง 1.42 ในปี 2014 ลดลงจากระดับ 1.84 ในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1980[21] หลายคนตำหนิการร่วงลงอย่างรุนแรงนี้ต่อการเพิ่มขึ้นของชายกินพืชในประเทศญี่ปุ่น การลดลงของอัตราการเกิดเป็นผลมาจากการไม่เต็มใจที่จะแต่งงานของชายกินพืช[20]

อ้างอิง[แก้]

  1. "From carnivores to herbivores: how men are defined in Japan". japantoday.com. 16 February 2012. สืบค้นเมื่อ 2 February 2018.
  2. McCurry, Justin (27 December 2009). "Japan's 'grass eaters' turn their backs on macho ways". the Guardian. สืบค้นเมื่อ 17 October 2015.
  3. Yang, Jeff (23 March 2011). "After the end of the world". San Francisco Chronicle. สืบค้นเมื่อ 2 February 2018.
  4. 4.0 4.1 4.2 Morioka, Masahiro (2013). "A Phenomenological Study of 'Herbivore Men'" (PDF). The Review of Life Studies. Life Studies Press. 4: 1–20. สืบค้นเมื่อ 7 September 2017.
  5. St John, Warren (22 June 2003). "Metrosexuals come out". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2 February 2018.
  6. Simpson, Mark. "Here come the mirror men: why the future is metrosexual". marksimpson.com. สืบค้นเมื่อ 2 February 2018.
  7. lifestudies.org Special Report: Herbivore Men
  8. "Japan's 'herbivore' men shun corporate life, sex". Reuters. 27 July 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-14. สืบค้นเมื่อ 15 January 2012.
  9. "Blurring the boundaries". The Japan Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-03. สืบค้นเมื่อ 2 February 2018.
  10. "Dude Looks Like a Lady in Our Recessionary Times: William Pesek". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 15 January 2012.
  11. Harney, Alexandra. "Japan panics about the rise of "herbivores"—young men who shun sex, don't spend money, and like taking walks. - Slate Magazine". Slate.com. สืบค้นเมื่อ 20 August 2012.
  12. 12.0 12.1 "Young Japanese 'decline to fall in love'". BBC News. 11 January 2012.
  13. "Japan's "herbivore" men shun corporate life, sex". Reuters. 27 July 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-14. สืบค้นเมื่อ 2018-02-14.
  14. Nicolae, Raluca (2014). "Sōshoku(kei) Danshi: The (Un)gendered Questions on Contemporary Japan". Romanian Economic and Business Review. 9 (3): 66–81. ISSN 1842-2497. RePEc:rau:journl:v:9:y:2014:i:3:p:66-81.
  15. "Youth Employment in Japan's Economic Recovery: 'Freeters' and 'NEETs'". JapanFocus. สืบค้นเมื่อ 20 August 2012.
  16. Teo, Alan. "Modern-Day Hermits: The Story Hikkomori in Japan and Beyond". สืบค้นเมื่อ 26 February 2014.
  17. "They need another hero". The Economist. 29 October 2009.
  18. "The last person out of the closet? The bisexual male". CNN. 28 June 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-20. สืบค้นเมื่อ 2018-02-14.
  19. Harney, Alexandra. "Japan panics about the rise of "herbivores"—young men who shun sex, don't spend money, and like taking walks. - Slate Magazine". Slate.com. สืบค้นเมื่อ 20 August 2012.
  20. 20.0 20.1 Tomikawa, Yuri (13 January 2011). "No Sex, Please, We're Young Japanese Men". The Wall Street Journal.
  21. "Fertility rate, total (births per woman) | Data". data.worldbank.org. สืบค้นเมื่อ 2 February 2018.