ชาตรี โสภณพนิช
ชาตรี โสภณพนิช | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477 |
เสียชีวิต | 24 มิถุนายน พ.ศ. 2561 (84 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
สาเหตุการเสียชีวิต | สาเหตุธรรมชาติ |
ศาสนา | คริสต์ |
คู่สมรส | คุณหญิงสุมณี โสภณพนิช |
บุตร | ชาติศิริ โสภณพนิช ชาลี โสภณพนิช |
บุพการี | ชิน โสภณพนิช เล่ากุ่ยเอ็ง |
ชาตรี โสภณพนิช (28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477 – 24 มิถุนายน พ.ศ. 2561) นักธุรกิจชาวไทยเชื้อสายจีน อดีตประธานกรรมการ ธนาคารกรุงเทพ
ประวัติ
[แก้]ชาตรีเกิดเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477 ที่ประเทศสยาม เป็นบุตรคนที่ 2 จากทั้งหมด 9 คนของ ชิน โสภณพนิช ผู้ก่อตั้งธนาคารกรุงเทพชาตรีจบการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์จากฮ่องกงและด้านการธนาคารจากอังกฤษและได้เริ่มต้นทำงานที่ธนาคาร Bank of London ก่อนจะเดินทางกลับประเทศไทย
เมื่อเดินทางถึงประเทศไทยชาตรีได้เข้าทำงานที่บริษัท เอเชียทรัสต์ เมื่อ พ.ศ. 2501 และเข้าทำงานที่ธนาคารกรุงเทพเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2502 โดยเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ ก่อนจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่คนที่ 4 ของธนาคารกรุงเทพสืบต่อจากนาย บุญชู โรจนเสถียร เมื่อ พ.ศ. 2523 โดยดำรงตำแหน่งนี้นานถึง 12 ปีก่อนจะส่งต่อตำแหน่งให้กับนาย ชาติศิริ โสภณพนิช ผู้เป็นบุตรชายคนโตเมื่อ พ.ศ. 2535 และได้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานและประธานกรรมการเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกันนอกจากนี้นายชาตรียังได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ถึงแก่อนิจกรรม
[แก้]ชาตรีถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เวลา 20.00 น. ที่ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร ด้วยโรคชรา สิริอายุได้ 84 ปี โดยจัดพิธีศพที่โบสถ์พระมหาไถ่ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ก่อนจะเคลื่อนศพไปฝังยังสุสานวัดนักบุญนิโคลัส พัทยา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ในวันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[1]
- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[2]
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 1 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)[3]
- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[4]
- พ.ศ. 2531 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๔, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๓๑, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๙๙ ง หน้า ๔๓๖๗, ๒๒ มิถุนายน ๒๕๓๒
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2477
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2561
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ภ.
- ธนาคารกรุงเทพ
- สกุลโสภณพนิช
- นักธุรกิจชาวไทย
- นักธุรกิจชาวไทยเชื้อสายจีน
- คริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิกชาวไทย
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง