ชัมปุเกจุวรรรโกยิล ติรุวไนโกวิล

พิกัด: 10°51′12″N 78°42′20″E / 10.85333°N 78.70556°E / 10.85333; 78.70556
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชัมปุเกจุวรรร
ราชโคปุรัม
ศาสนา
ศาสนาศาสนาฮินดู
เทพชัมปุเกศวร (พระศิวะ) Akilandeswari (พระปารวตี)
ที่ตั้ง
ที่ตั้งตริจี
รัฐทมิฬนาฑู
ประเทศอินเดีย
ชัมปุเกจุวรรรโกยิล ติรุวไนโกวิลตั้งอยู่ในรัฐทมิฬนาฑู
ชัมปุเกจุวรรรโกยิล ติรุวไนโกวิล
ที่ตั้งในรัฐทมิฬนาฑู
ชัมปุเกจุวรรรโกยิล ติรุวไนโกวิลตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
ชัมปุเกจุวรรรโกยิล ติรุวไนโกวิล
ชัมปุเกจุวรรรโกยิล ติรุวไนโกวิล (ประเทศอินเดีย)
พิกัดภูมิศาสตร์10°51′12″N 78°42′20″E / 10.85333°N 78.70556°E / 10.85333; 78.70556
สถาปัตยกรรม
ประเภททมิฬ
ผู้สร้างโกจเจงคนัน

ชัมปุเกจุวรรรโกยิล ติรุวไนโกวิล (อังกฤษ: Jambukeswarar Temple, Thiruvanaikaval) เป็นโบสถ์พราหมณ์ (โกยิล) บูชาพระศิวะในติรุจิรปัลลี รัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย โดยตั้งอยู่บนเกาะศรีรังคัม ซึ่งเป็นเกาะเดียวกับที่ตั้งของรังคนาถสวามีโกยิลที่โด่งดัง ติรุวไนกัลเป็นหนึ่งห้าโบสถ์พระศิวะสำคัญของทมิฬนาฑู ที่เรียกรวมกันว่าปัญจภูตสถลม) ซึ่งแทนมหาภูต หรือธาตุอันยิ่งใหญ่ห้าประการ โดยโบสถ์นี้แทนธาตุน้ำ ซึ่งในภาษาทมิฬเรียกว่า "นีร" (neer)[1] ภายในเขตบูชาของโบสถ์มีธารน้ำใต้ดินไหลอยู่ และแม้จะพยายามปั๊มน้ำออกเท่าใด ภายในก็จะเต็มไปด้วยน้ำตลอดเวลา[2]

ผนังกำแพงด้านนอกของโบสถ์มีขนาดมหึมา และล้อมอาณาเขตของมณฑลที่ห้าของโบสถ์ เรีกยว่า วิภูติปราการ (Vibudi Prakara) ซึ่งยาวราวหนึ่งไมล์กว่า และสูงกว่า 25 ฟุต ตำนานว่ากันว่าพระศิวะทรงช่วยก่อสร้างผนังกำแพงนี้ขึ้น[2] มณฑลที่สี่ประกอบดเวยโถงขนาด 2436 คูณ 1493 ฟุต ซึ่งมีเสาอยู่ในโถงถึง 796 เสา[3] และสระน้ำ[4] ส่วนมณฑลที่สามเป็นพื้นที่ปิดภายใน มีขนาด 745 คูณ 197 ฟุต ล้อมรอบด้วยกำแพงสูง 30 ฟุต ประกอบด้วยโคปุรัมสองหอ สูงหอละ 73 และ 100 ฟุต, มี thoppu (สวน) มะพร้าว และสระน้ำขนาดเล็ก[3] มณฑลที่สองมีศาลขนาดเล็กมากมาย มีโคปรุมัสงู 65 ฟุตหนึ่งหอ และมีขนาดของมณฑลที่ 306 คูณ 197 ฟุต[3] และในมณฑลในสุดเป็นที่ตั้งของครรภคฤหัม มณฑลมีขนาด 126 ฟุต คูณ 123 ฟุต[3][4]

ในมณฑลที่สามซึ่งมีสวนมะพร้าวนั้น เป็นจุดที่รูปเคารพจากศรีรังคัมจะถูกนำมาประดิษฐานในศาสนิกชนของลัทธิไวษณวะมาเคารพปีละครั้ง นอกจากนี้ เนื่องจากโบสถ์นี้สร้างขึ้นเพื่อเคารพรูปของเทวี Akilandeswari บูชาพระศิวะ นักบวช ('Archakar') จะแต่งกายเป็นสตรีและเดินทางไปประกอบพิธีบูชาองค์พระศิวะทุกวันตอนเที่ยง[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Tourist guide to Tamil Nadu 2007, pp. 76-77.
  2. 2.0 2.1 Ayyar 1991, pp. 439-441
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Imperial Gazetteer of India, pp. 28-29
  4. 4.0 4.1 Hunter 1908, pp. 109-110

บรรณานุกรม[แก้]

  • Ayyar, P. V. Jagadisa (1991). South Indian shrines: illustrated. New Delhi: Asian Educational Services. ISBN 81-206-0151-3.
  • Ramaswamy, Vijaya (2007). Historical dictionary of the Tamils. United States: Scarecrow Press, INC. ISBN 978-0-470-82958-5.
  • Knapp, Stephen (2005). The Heart of Hinduism: The Eastern Path to Freedom, Empowerment and Illumination. NE: iUniverse. ISBN 978-0-595-35075-9.
  • M.K.V., Narayan (2007). Flipside of Hindu Symbolism: Sociological and Scientific Linkages in Hinduism. California: Fultus Corporation. ISBN 978-1-59682-117-0.
  • Bajwa, Jagir Singh; Ravinder Kaur (2007). Tourism Management. New Delhi: S.B. Nangia. ISBN 978-81-313-0047-3.
  • Tourist guide to Tamil Nadu (2007). Tourist guide to Tamil Nadu. Chennai: T. Krishna Press. ISBN 978-81-7478-177-2.
  • Hunter, Sir William Wilson (1908). Imperial gazetteer of India, Volume 23. Oxford: Clarendon Press.
  • Yadava, S.D.S. (2006). Followers of Krishna: Yadavas of India. New Delhi: Lancer Publishers and Distributors. ISBN 81-7062-216-6.
  • Archaeological Survey of India; G. R. Thursby (1903). Annual report of the Archaeological Department, Southern Circle, Madras. Madras: Government Press.
  •  Chisholm, Hugh, บ.ก. (1911). "Srirangam" . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 25 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. p. 749; see penultimate line.
  • Hastings, James; John Alexander Selbie; Louis Herbert Gray (1916). Encyclopædia of religion and ethics, Volume 8. ISBN 9780567065087.
  • Hunter, W.W. (1881). Imperial Gazetteer of India. Vol. 5.