ฉัททันตหัตถี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ฉัททันต์หัตถี)
ฉันทันตหัตถี ช้างตระกูลพรหมพงศ์ ประติมากรรมสัตว์หิมพานต์ประดับพระเมรุมาศในหลวงรัชกาลที่ ๙

ฉัททันตหัตถี เป็นสัตว์หิมพานต์ตระกูลช้าง ลักษณะภายนอกเป็นช้างที่มีกายสีขาวเหมือนสีเงิน มีงาขาวสว่างเหมือนสีทอง มีหาง เท้า และสันหลังสีแดง [1] ฉัททันตหัตถี คือหนึ่งในประติมากรรมของสัตว์หิมพานต์ที่สร้างขึ้นมาพื่อประดับตกแต่งอยู่ทางด้านทิศเหนือของพระเมรุมาศในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ตระกูล[แก้]

ฉัททันตหัตถีเป็นหนึ่งในช้างตระกูลพรหมพงศ์ 10 หมู่ ที่พระพรหมได้สร้างขึ้น ประกอบด้วย ฉัททันตหัตถี อุโบสถหัตถี เหมหัตถี มงคลหัตถี คันธหัตถี ปิงคัลหัตถี ดามพหัตถี บัณฑรหัตถี คังไคยหัตถี และกาลวกหัตถี [2]

ข้อมูลจากพระไตรปิฎก[แก้]

ฉัททันต์ คำนี้มีคำแปลตามรากศัพท์ว่า ฟันทั้ง๖ ตระกูลฉัททันต์จึงเป็นช้างที่มีทั้งสิ้น ๖ งา จากมิลินทปัญหา ระบุว่า มีการกล่าวถึงพญาช้างโพธิสัตว์ทั้งสิ้น ๓ พระชาติ อันปรากฏอย่ในหมวดชาดกหลักๆ ๓ เรื่อง ได้แก่ สีลวนาคชาดก กาสาวชาดก ฉัททันตชาดก และยังปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกหมวดอื่นๆอีกประปราย

พญาช้างฉัททันต์ ประกอบด้วยลักษณะต่างๆ ได้แก่ สีกายเผือกผ่องดั่งเงินยวง ปากมีสีแดงเหมือนผ้ากัมพล เท้าทั้ง ๔ มีสีแดงดุจน้ำครั่ง นัยน์ตาทั้งคู่ดุจแก้วมณี พญาช้างฉัททันต์มีส่วนสูง ๘๘ ศอก ยาว ๑๒๐ ศอก งวงมีลักษณะคล้ายกับพวงเงินยาวได้ ๕๘ ศอก ส่วนงานั้นวัดโดยรอบได้ ๑๕ ศอก ส่วนยาว ๓๐ ศอก มีทั้งสิ้น ๖ งา งาทั้งหมดส่องรัศมีดุจสีทอง(สุวณฺณราชีหิ)

ลักษณะพิเศษ[แก้]

ฉัททันตหัตถีถือเป็นพญาช้าง เพราะมีกำลังสูงสุดเหาะไปในอากาศได้รวดเร็วมาก[3] โดยเดินทางรอบจักรวาล ออกจากพระราชวังแต่เวลาพอรุ่ง พอพระอาทิตย์ขึ้นก็กลับมาถึงวัง

อ้างอิง[แก้]

  1. ตระกูลช้าง[ลิงก์เสีย]
  2. "เอกสารประกอบ:พระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยามร.ศ.110". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-24. สืบค้นเมื่อ 2018-06-07.
  3. "ฐานข้อมูลพระเมรุมาศและเครื่องประกอบพระเมรุมาศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-27. สืบค้นเมื่อ 2022-06-28.

อรรถกถา ฉัททันตชาดก

อรรถกถา สีลวนาคชาดก

อรรถกถา กาสาวชาดก

มิลืนทปัญหา ฉัททันตโชติปาลอารัพภปัญหา ที่ ๕