คูคลักซ์แคลน
ตราและธงของคูคลักซ์แคลน | |
การก่อตั้ง | |
---|---|
แคลนที่ 1 | ค.ศ.1865–1871 |
แคลนที่ 2 | ค.ศ.1915–1944 |
แคลนที่ 3 | ค.ศ.1946–ปัจจุบัน |
สมาชิก | |
แคลนที่ 1 | ไม่ทราบ |
แคลนที่ 2 | 3,000,000–6,000,000 คน[1] (สูงสุดในปีค.ศ.1924–1925) |
แคลนที่ 3 | 5,000–8,000 คน[2] |
คุณสมบัติ | |
อุดมการณ์ทางการเมือง |
|
ตำแหน่งทางการเมือง | ขวาจัด; ลัทธิฟาสซิสต์ |
ศาสนาที่สนับสนุน | Protestantism (แคลนที่สอง)[6] Christian Identity (แคลนที่สองและแคลนที่สาม)[7] |
คูคลักซ์แคลน (อังกฤษ: Ku Klux Klan, ย่อ: KKK) หรือเรียกง่าย ๆ ว่า "เดอะแคลน" (the Klan) เป็นชื่อของสามขบวนการต่างกันในสหรัฐซึ่งสนับสนุนกระแสปฏิกิริยาสุดโต่งอย่างความสูงสุดของคนขาว (white supremacy) ชาตินิยมผิวขาว (white nationalism) การต่อต้านการเข้าเมือง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรากฏซ้ำในสมัยหลัง ลัทธินอร์ดิก (Nordicism)[8][9] การต่อต้านคาทอลิก[10][11] และการต่อต้านยิว[11] ในอดีต เคเคเคใช้การก่อการร้ายทั้งการทำร้ายร่างกายและการฆ่าคนต่อกลุ่มหรือปัจเจกที่กลุ่มต่อต้าน[12] ทั้งสามขบวนการถือเป็นองค์การฝ่ายขวาสุดโต่ง[13][14][15][16] ที่มีการเรียกร้องให้ "ทำสังคมอเมริกันให้บริสุทธิ์"
แคลนแรกเฟื่องฟูในสหรัฐอเมริกาภาคใต้ในปลายคริสต์ทศวรรษ 1860 แล้วตายไปในต้นคริสต์ทศวรรษ 1870 กลุ่มนี้มุ่งรัฐบาลรัฐรีพับลิกันในภาคใต้ระหว่างสมัยบูรณะ (Reconstruction Era) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ความรุนแรงต่อผู้นำชาวแอฟริกันอเมริกัน มีหลายสาขาย่อยทั่วภาคใต้ แต่ถูกปราบปรามในปี 1871 ผ่านการบังคับใช้กฎหมายกลาง สมาชิกทำชุดของตนเองมักมีสีสัน ได้แก่ ชุดคลุม หน้ากาก และหมวกทรงกรวย ซึ่งออกแบบมาเพื่อสร้างความกลัวและเพื่อปกปิดรูปพรรณของพวกตน[17][18]
กลุ่มที่สองก่อตั้งขึ้นในปี 1915 และเฟื่องฟูทั่วประเทศในต้นและกลางคริสต์ทศวรรษ 1920 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่เมืองของมิดเวสต์และตะวันตก มีรากเหง้าในชุมชนโปรเตสแตนต์ท้องถิ่นที่คัดค้านคาทอลิกและยิว และเน้นการคัดค้านคริสตจักรคาทอลิกในช่วงที่มีการเข้าเมืองสูงจากชาติคาทอลิกในยุโรปใต้และตะวันออก[6] องค์การที่สองนี้รับมาตรฐานชุดขาวและใช้คำรหัสซึ่งคล้ายกับที่แคลนแรกใช้ ขณะที่เพิ่มการเผากางเขนและการเดินขบวนเป็นจำนวนมากเพื่อข่มขู่ผู้อื่น
การสำแดงครั้งที่สามและปัจจุบันของเคเคเคกำเนิดหลังปี 1950 ในรูปของกลุ่มท้องถิ่นเล็ก ๆ ไม่เชื่อมโยงกันที่ใช้ชื่อเคเคเค ทั้งหมดสนใจการคัดค้านขบวนการสิทธิพลเมือง มักใช้ความรุนแรงและการฆ่าคนเพื่อปราบปรามนักเคลื่อนไหว สันนิบาตต่อต้านการหมิ่นประมาทและศูนย์กฎหมายความยากจนภาคใต้จัดกลุ่มนี้เป็นกลุ่มเกลียดชัง (hate group)[19] ในปี 2016 สันนิบาตต่อต้านการหมิ่นประมาทกะสมาชิกแคลนทั่วประเทศไว้ประมาณ 3,000 คน ขณะที่ศูนย์กฎหมายความยากจนภาคใต้กะสมาชิกไว้รวม 6,000 คน[20]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ McVeigh, Rory. "Structural Incentives for Conservative Mobilization: Power Devaluation and the Rise of the Ku Klux Klan, 1915–1925." Social Forces, Vol. 77, No. 4 (June 1999), p. 1463.
- ↑ "Ku Klux Klan". Southern Poverty Law Center. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กรกฎาคม 19, 2013. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 7, 2013.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อpegram
- ↑ Al-Khattar, Aref M. (2003). Religion and terrorism: an interfaith perspective. Westport, Connecticut: Praeger. pp. 21, 30, 55.
- ↑ Michael, Robert, and Philip Rosen. Dictionary of antisemitism from the earliest times to the present. Lanham, Maryland, USA: Scarecrow Press, 1997, p. 267.
- ↑ 6.0 6.1 Kelly Baker, Gospel According to the Klan: The KKK's Appeal to Protestant America, 1915–1930 (U Press of Kadas, 2011)
- ↑ Barkun, pp. 60–85.
- ↑ Petersen, William. Against the Stream: Reflections of an Unconventional Demographer. Transaction Publishers. p. 89. ISBN 9781412816663. สืบค้นเมื่อ 8 May 2016.
- ↑ Pratt Guterl, Matthew (2009). The Color of Race in America, 1900-1940. Harvard University Press. p. 42. ISBN 9780674038059.
- ↑ Pitsula, James M. (2013). Keeping Canada British: The Ku Klux Klan in 1920s Saskatchewan. UBC Press. ISBN 9780774824927.
- ↑ 11.0 11.1 Brooks, Michael E. (2014). The Ku Klux Klan in Wood County, Ohio. The History Press. ISBN 9781626193345.
- ↑ O'Donnell, Patrick (Editor), 2006. Ku Klux Klan America's First Terrorists Exposed, p. 210. ISBN 1-4196-4978-7.
- ↑ Rory McVeigh, The Rise of the Ku Klux Klan: Right-Wing Movements and National Politics (2009).
- ↑ Matthew N. Lyons, Right-Wing Populism in America (2000), ch. 3, 5, 13.
- ↑ Chalmers, David Mark, 2003. Backfire: How the Ku Klux Klan Helped the Civil Rights Movement, p. 163. ISBN 978-0-7425-2311-1.
- ↑ Charles Quarles, 1999. The Ku Klux Klan and Related American Racialist and Antisemitic Organizations: A History and Analysis, p. 100. McFarland.
- ↑ See, e.g., Klanwatch Project (2011), illustrations, pp. 9–10.
- ↑ Elaine Frantz Parsons, "Midnight Rangers: Costume and Performance in the Reconstruction-Era Ku Klux Klan". Journal of American History 92.3 (2005) : 811–36.
- ↑ Both the Anti-Defamation League เก็บถาวร 2012-10-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน and the Southern Poverty Law Center include it in their lists of hate groups. See also Brian Levin, "Cyberhate: A Legal and Historical Analysis of Extremists' Use of Computer Networks in America", in Perry, Barbara (ed.), Hate and Bias Crime: A Reader, Routledge, 2003, p. 112.
- ↑ "At 150, KKK sees opportunities in US political trends" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-01. สืบค้นเมื่อ 2016-07-02.