การห้ามสุราในสหรัฐ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำรวจดีทรอยต์ได้ทำการตรวจสอบอุปกรณ์ในการกลั่นสุราในช่วงยุคต้องห้ามสุรา

การห้ามสุราในสหรัฐ (อังกฤษ: Prohibition) เป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญในการห้ามไม่ให้มีการผลิต นำเข้า, ขนส่ง,และการขายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือสุราที่ยังคงมีอยู่ในสถานที่ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1920-1933 ในช่วงศตวรรษที่ 19 เนื่องจากด้วยโรคพิษสุราเรื้อรัง ความรุนแรงในครอบครัว และการทุจริตทางการเมืองในการตั้งร้านขายเหล้า(saloon-based political corruption) ทำให้กลุ่มนักเคลื่อนไหวภายใต้การนำโดยผู้เคร่งครัดศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ได้ออกมาเรียกร้องเพื่อยุติการค้าขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อรักษาสังคมที่ไม่ดีและคานอำนาจฝ่ายค้านทางการเมือง ผลที่ตามมาก็คือหลายชุมชนในปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ได้แนะนำการห้ามสุราโดยการบังคับใช้กฎหมายที่ทำให้ผลตามมากลายเป็นข้อปัญหาถกเถียงกันอย่างมาก ผู้สนับสนุนในการห้ามสุรานี้ได้ถูกเรียกว่า ดราย (drys) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เป็นชัยชนะของศีลธรรมและสุขภาพของประชาชน

การได้รับการสนับสนุนโดยเหล่าครูเซเดอร์ของ "ดราย" การเคลื่อนไหวภายใต้การนำโดยผู้เคร่งครัดศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์และกลุ่มวิวัฒนาการนิยมทางสังคมในการห้ามสุรา นักประชาธิปไตยและพรรคริพับลิกัน มันได้ผ่านการลงมติแห่งชาติด้วยการลงคะแนนของกลุ่มสหภาพละเว้นสุราของสตรีคริสเตียน (อังกฤษ: Woman's Christian Temperance Union) ภายหลังปี ค.ศ. 1900 ได้มีการประสานงานโดยกลุ่มสันนิบาตต่อต้านการขายสุรา (อังกฤษ: The Anti-Saloon League) ฝ่ายค้านจากโรงงานอุตสาหกรรมเบียร์ได้รวบรวมกลุ่มสนับสนุนให้ "ดื่ม" จากชุมชนนิกายโรมันคาทอลิกและชาวเยอรมันนิกายลูเทอแรน พวกเขามีเงินทุนในการที่จะตอบโต้กลับแต่โดยปี ค.ศ. 1917-18 ชุมชนชาวเยอรมันได้ถูกกีดกันโดยสงครามของประเทศที่มีต่อเยอรมนีและโรงงานอุตสาหกรรมเบียร์ได้ถูกปิดตัวลงในรัฐภายหลังจากรัฐโดยรัฐสภาและท้ายที่สุดทั่วประเทศภายใต้การแก้ไขรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1920 ได้ออกกฎหมายที่ถูกเรียกว่า กฎหมายโวลสเตด (Volstead Act) เป็นการตั้งกฏสำหรับการบังคับใช้กฎหมายการห้ามของรัฐบาลกลางและกำหนดประเภทของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เป็นสิ่งต้องห้าม ตัวอย่างเช่น การได้อนุญาตให้ใช้ไวน์ในทางศาสนา ความเป็นเจ้าของส่วนตัวและการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสิ่งที่ไม่ผิดกฎหมายภายใต้กฎหมายรัฐบาลกลาง แต่กฎหมายในท้องถิ่นมีความเข้มงวดมากในหลายพื้นโดยมีรัฐบางแห่งได้ห้ามมีไว้ในการครอบครองโดยเด็ดขาดอย่างสิ้นเชิง

ในปี ค.ศ. 1920 กฎหมายได้ถูกเมินเฉยอย่างกว้างขวางและรายได้จากภาษีก็ได้หายไปหมด.เหล่าแก็งค์อาชญากรหรือพวกมาเฟียได้เข้ามาควบคุมกิจการในการผลิตและขนส่งเบียร์และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่างๆอย่างๆลับๆในหลายๆเมืองทำให้เกิดกระแสการก่ออาชญกรรมที่ทำให้ทั่วประเทศต้องตกตะลึง เมื่อปลายปี ค.ศ. 1920 กลุ่มฝ่ายค้านคนใหม่ได้รวบรวมคนทั่วประเทศ เหล่าผู้สนับสนุนในการดื่มได้โจมตีว่าการห้ามสุรานั้นเป็นเหตุทำให้เกิดการก่ออาญชกรรมมากมาย, ลดรายได้ประจำท้องถิ่นและการจัดเก็บภาษีจากชุมชนนิกายโปรเตสแตนต์ในชนบทหรือในเมืองของประเทศอเมริกา การห้ามสุราได้สิ้นสุดลงด้วยการให้สัตยาบันในการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 21 ซึ่งได้ยกเลิกในการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 8 เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 1933 แต่บางรัฐยังคงห้ามสุราต่อไปในทั้งรัฐ,และเป็นการทำให้เป็นหนึ่งในขั้นตอนสุดท้ายของยุคก้าวหน้า(Progressive Era)

แม้ว่าความคิดเห็นที่เป็นที่นิยมที่เชื่อว่าการห้ามสุราจะล้มเหลว มันได้ประสบผลสำเร็จในการลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่างๆโดยรวมในช่วงปี ค.ศ. 1920 และการบริโภคจะระดับต่ำกว่าก่อนที่จะมีการห้ามสุราจนกระทั่งปี ค.ศ. 1940 การแนะนำในการห้ามสุรานั้นทำให้สังคมมีส่วนสำคัญของประชาชนในการละการดื่มให้น้อยลงหรือชั่วคราว นักวิจัยบางคนได้ยืนยันว่า ความล้มเหลวทางการเมืองคือการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์มากกว่าลักษณะเฉพาะของกฎหมายเอง การวิพากษ์วิจารณ์ของการห้ามสุรานั้นได้นำไปสู่ผลลัพธ์ที่ไม่ได้ตั้งใจเลย เช่น การเติบโตขององค์กรอาชญากรรมในเมืองและศตวรรษแห่งกฎหมายอิทธิพลการห้ามสุรา ในการทดสอบจากการสูญเสียผู้สนับสนุนทุกๆปีและการสูญเสียรายได้จากภาษีที่รัฐบาลจำเป็นต้องใช้ในการแก้ไขปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1929