ความสัมพันธ์จีน–แปซิฟิก
เขตโอเชียเนียเป็นพื้นที่ทีมีการแข่งขันทางการทูตอย่างต่อเนื่องระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China; "จีน") กับสาธารณรัฐจีน (Republic of China; "ไต้หวัน") จีนกำหนดว่าไม่มีรัฐใดสามารถมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนและไต้หวันพร้อมกันได้ ณ ค.ศ. 2019 รัฐเอกราชมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนจำนวน 10 รัฐ ขณะที่มีเพียง 4 รัฐที่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับไต้หวัน จำนวนตัวเลขดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด เนื่องจากชาติเกาะแปซิฟิกจะประเมินนโยบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศใหม่ และมักจะเปลี่ยนการให้การรับรองทางการทูตระหว่างปักกิ่งกับไทเป ประเด็นเกี่ยวกับว่าจะให้การรับรองรัฐบาล "จีน" ใด มักถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นหัวข้อกลางในการเลือกตั้งของชาติเกาะแปซิฟิก และประเด็นนี้มักนำไปสู่การอภิปรายไม่ไว้วางใจหลายครั้ง
แม้ว่าทั้งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ต่างให้การรับรองทางการทูตกับจีนเป็นเวลานาน และมีความสัมพันธ์ที่มั่นคงและเป็นมิตร แต่ทั้งจีนและไต้หวันต่างพยายามโน้มน้าวให้ชาติเกาะแปซิฟิกขนาดเล็กมีความสัมพันธ์กับประเทศของตน นักวิจารณ์มักกล่าวถึงการทูตลักษณะนี้ว่า "การทูตสมุดเช็ค" ซึ่งมักอยู่ในรูปของความช่วยเหลือทางการพัฒนา หรือในกรณีของจีน จะให้การสนับสนุนการก่อสร้างที่ทำการรัฐบาลขนาดใหญ่ สนามกีฬา หรือโครงสร้างพื้นฐาน[1] หนังสือพิมพ์ไต้หวัน เดอะไชนาโพสต์ ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า "ไต้หวันและจีนต่างแข่งขันอย่างดุเดือดเพื่อความสัมพันธ์ทางการทูต และทั้งสองประเทศต่างจ่ายเงินให้เปล่าหลายล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการทูตหรือแย่งชิงพันธมิตรของอีกฝ่าย[2]
รัฐเกาะแปซิฟิกหลายแห่งได้รับเงินช่วยเหลือการพัฒนาจากไต้หวันและจีน เฮมิช แมกดอนัลด์จากหนังสือพิมพ์ ดิเอจ ได้รายงานใน ค.ศ. 2003 ความว่า "การใช้ประโยชน์จากความขัดแย้งเรื่องการรับรองทางการทูตระหว่างจีนกับไต้หวันเป็นรายรับที่สร้างรายได้เป็นอย่างมากให้กับชาติแปซิฟิกขนาดเล็ก"[3] พันธมิตรของไต้หวันรับปากในการส่งเสริมผลประโยชน์ของไต้หวันในสหประชาชาติอย่างแข็งขัน
นอกจากนี้ ประเทศแปซิฟิกหลายประเทศ รวมถึงออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี หมู่เกาะโซโลมอน ตองงา ฟีจี วานูอาตู และซามัวมีประชาชนที่มีเชื้อสายจีนเป็นประชากรกลุ่มน้อย ซึ่งมีชาวจีนโพ้นทะเลรวมกันประมาณ 80,000 คน โดยในฟีจีและปาปัวนิวกินีต่างมีประชากรเชื้อสายจีนชาติละประมาณ 20,000 คน ประเทศอย่างออสเตรเลีย ปาปัวนิวกินี และวานูอาตูเป็นประเทศที่น่าดึงดูดสำหรับนักธุรกิจและนักลงทุนชาวจีน[1]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "The Pacific Proxy: China vs Taiwan" เก็บถาวร พฤศจิกายน 4, 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Graeme Dobell, ABC Radio Australia, February 7, 2007
- ↑ "Taiwan president hopes summit will boost ties with South Pacific allies" เก็บถาวร กุมภาพันธ์ 13, 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, China Post, October 11, 2007
- ↑ McDonald, Hamish (November 10, 2003). "Tiny Pacific islands play China using the Taiwan card". The Age. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 26, 2012. สืบค้นเมื่อ November 11, 2011.
บรรณานุกรม
[แก้]- David D. Hale, In the Balance: China's unprecedented growth and implications for the Asia–Pacific, Australian Strategic Policy Institute, February 2006, ISBN 1-920722-91-2
- Fergus Hanson, China: stumbling through the Pacific เก็บถาวร 2012-04-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Lowy Institute, July 2009
- Ron Crocombe, Asia in the Pacific Islands: Replacing the West, 2007, ISBN 978-982-02-0388-4
- Strategic Asia 2011-12: Asia Responds to Its Rising Powers - China and India, edited by Ashley J. Tellis, Travis Tanner and Jessica Keough (September 2011)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "China's new South Pacific influence", Nick Squires, BBC, 3 May 2008
- "Pacific's stability threatened by Beijing-Taipei recognition battle", David C. Henley, Saipan Tribune, 15 January 2009
- "Currency of persuasion", Michael Field, New Zealand Listener, vol.198, n°3391, May 7–13, 2005
- "FEATURE: China in the Pacific" เก็บถาวร 2012-03-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ABC Radio Australia, 4 April 2011
- "Chinese VP Xi Jinping meets Fiji leaders", Chinese Central Television video (in English), 10 February 2009