ข้ามไปเนื้อหา

ความดันโลหิตสูงวิกฤต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความดันโลหิตสูงวิกฤต
(Hypertension Crisis)
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10I10
ICD-9405.0401.0
DiseasesDB7788
eMedicinearticle/241640
MeSHD006974

ความดันโลหิตสูงวิกฤต (อังกฤษ: Hypertension Crisis) เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับความดันโลหิตสูงกว่าปกติมากๆ ในระยะเวลาสั้น โดยที่ไม่มีเกณฑ์แน่นอนที่วัดว่าสูงระดับใด แต่โดยทั่วไปอาจประมาณได้ว่า มีความดันโลหิตสูงกว่า 180/110 mmHg ซึ่งเกิดจากผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงอยู่แล้วไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิต ให้ลดลงเข้าสู้ระดับปกติได้

สาเหตุ

[แก้]
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตสูงให้อยู่ในระดับปกติได้ จึงเกิดความดันโลหิตสูงวิกฤตขึ้น
  • การหยุดยาในกลุ่ม Alpha2 agonist (Clonidine,Methyldopa) แบบทันที
  • การใช้ยาที่ยับยั้งการเก็บกลับของสารสื่อประสาทจำพวก แคทติโคลามีน ร่วมกับ ยากลุ่ม ยับยั้งเอนไซม์ monoamine oxidase

การจำแนกประเภท

[แก้]

ความดันโลหิตสูงวิกฤตแบ่งเป็น 2 ชนิด

Hypertensive urgency

[แก้]

ภาวะที่ระดับความดันโลหิตสูงวิกฤต แต่ยังไม่พบผลเสียต่ออวัยวะสำคัญ เช่น สมอง หลอดเลือด หัวใจ ไต ตา ซึ่งจะพบผู้ป่วยได้ทั้งที่ไม่มีอาการแสดง และมีอาการแสดง เช่น ปวดศีรษะรุนแรง (รับประทานยาบรรเทาปวด ยังไม่รู้สึกดีขึ้น) คลื่นไส้ อาเจียน วิตกกังวล หายใจถี่ เจ็บบริเวณหน้าอก โดยทั่วไปพบระดับความดันโลหิตสูงกว่า 180/110 mmHg ภาวะนี้ต้องเร่งรักษาเพื่อป้องกันไม่ให้ความดันโลหิตสูงไปทำลายอวัยวะสำคัญ

Hypertensive emergency

[แก้]

ระดับความดันโลหิตสูงวิกฤต และพบผลเสียต่ออวัยวะสำคัญ เช่น ภาวะที่ความดันโลหิตสูงมากทำให้ เลือดออกในสมอง สมองขาดเลือด ชัก สับสน ที่หัวใจเกิด หัวใจขาดเลือด หัวใจล้มเหลว น้ำคั่งในปอด ไตวาย และ ความดันในลูกตาสูง โดยทั่วไปพบระดับความดันโลหิตสูงกว่า 220/140 mmHg ต้องรีบรักษาโดยเร่งด่วนเพื่อลดความเสี่ยงที่เป็นอันตรายถึงชีวิต

Category Systolic (mmHg) Diastolic (mmHg)
optimal <120 <80
Normal <130 <85
High Normal 130-139 85-89
Grade 1 (mild) 140-159 90-99
Grade 2 (moderate) 160-179 100-109
Grade 3 (Severe) >180 >110
Isolated systolic HTN >140 <90

การรักษา

[แก้]

อันดับแรกในการรักษาความดันโลหิตสูงวิกฤต คือ ต้องทำให้ระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยลดลงให้เร็วที่สุด โดยใช้ยาลดความดันโลหิตชนิดฉีดทางหลอดเลือดดำหรือยารับประทานชนิดออกฤทธิ์เร็ว เพื่อที่จะลดอันตรายต่ออวัยวะสำคัญต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามไม่ควรลดความดันโลหิตเกินร้อยละ 25 ภายในเวลา 2 ชั่วโมง เพราะจะทำให้อวัยวะสำคัญๆ ของร่างกายขาดเลือด และอาจเกิด reflex tachycardia ทำให้อาการของผู้ป่วยแย่ลง

เมื่อพบผู้ป่วยที่เกิดภาวะความดันโลหิตสูงวิกฤต ขั้นแรกต้องให้ยาลดความดันโลหิตชนิดออกฤทธิ์เร็วเมื่อความดันโลหิตลดลงในระดับหนึ่งแล้ว จึงให้ยารับประทานเพื่อลดและควบคุมความดันโลหิตกับผู้ป่วยต่อไป ในระหว่างให้การรักษาต้องเฝ้าระวัง และตรวจวัดความดันโลหิตอยู่เสมอ เพื่อป้องกันอันตรายต่อผู้ป่วยจากการใช้ยา ทั้งภาวะความดันโลหิตสูงจากการที่ได้รับยาไม่เพียงพอ หรือ อาจได้รับยามากเกินไปทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำ โดยมีอาการหน้ามืด วูบ หลังจากนั้นเมื่อผู้ป่วยอาการทุเลาลง และพอกลับไปรักษาตัวที่บ้านได้ การให้ความรู้กับผู้ป่วยเป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงในการทำให้เกิดความดันสูงขึ้นเฉียบพลัน และแนะนำเรื่องการควบคุมความดันโลหิตให้ได้ รับประทานยาลดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพราะภาวะความดันโลหิตสูงวิกฤตนั้นส่วนใหญ่ มีสาเหตุจาการที่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติได้

การรักษาด้วยยา

[แก้]

การเลือกใช้ยาควรเลือกยาที่สามารถลดความดันโลหิต ยาฉีด หรือ ยารับประทานที่ออกฤทธิ์เร็ว ในกลุ่มดังนี้

  • ยากลุ่ม Calcium Channel Blockers มีกลไกการออกฤทธิ์คือ ยับยั้งไม่ให้แคลเซียมเข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อหลอดเลือด มีผลขยายหลอดเลือด เช่น Clevidipine, Nicardipine (FDA ยกเลิกการใช้ยา Nifedipine กับผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงวิกฤต เนื่องจากไม่สามารถคาดคะเนการลดระดับความโลหิตได้)
  • ยากลุ่ม Nitrates โดยกลไกการออกฤทธิ์ผ่านกลไก Nitric Oxide และไปขยายหลอดเลือด เช่น Nitroprusside Nitroglycerine
  • ยากลุ่ม Angiotensin Converting Enzyme Inhibitors โดยกลไกการออกฤทธิ์ ยับยั้งการทำงาน Angiotensin Converting Enzyme ไม่ให้เปลี่ยน Angiotensin I ไปเป็น Angiotensin II ส่งผลให้หลอดเลือดขยาย เช่น Captopril

เมื่อได้รับยาที่ใช้ลดความดันโลหิตสูงวิกฤต จนระดับความดันโลหิตลดลงมาระดับหนึ่งแล้ว จึงพิจารณาให้ยารับประทานเพื่อลดระดับความดันโลหิต ดังนี้

  • ยากลุ่ม Diuretics ออกฤทธิ์ขับปัสสาวะ ลดปริมาณน้ำในหลอดเลือด ส่งผลให้ความดันลดลง เช่น Hydrochlorothiazide, Furosemide, Spironolactone การใช้ยาขับปัสสาวะนี้ต้องระวังภาวะ โปแตสเซียมต่ำ (ยกเว้น Spironolactone)
  • ยากลุ่ม Beta-Blockers กลไกการออกฤทธิ์ขัดขวางการทำงาน Beta receptor ทำให้ลดอัตราการเต้นของหัวใจ และลดการหลั่ง Renin ที่ไต มีผลให้หลอดเลือดขยาย และความดันโลหิตลดลง เช่น Propranolol, Atenolol, Metoprolol การใช้ยาในกลุ่มนี้ต้องระวังในผู้ป่วยที่เป็นโรค หอบหืด COPD และอาจบดบังอาการของภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำในผู้ป่วยเบาหวาน เช่น ใจสั่น หน้ามืด
  • ยากลุ่ม Calcium Channel Blockers โดยกลไกการออกฤทธิ์ ยับยั้งไม่ให้แคลเซียมเข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อหลอดเลือด มีผลขยายหลอดเลือด เช่น Amlodipine, Felodipine การใช้ยาในกลุ่มนี้ต้องระวังการเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ มีอาการแสดงคือ หน้ามืด เวียนศีรษะ และอาจทำให้เกิด reflex tachycardia
  • ยากลุ่ม Angiotensin Converting Enzyme Inhibitors โดยกลไกการออกฤทธิ์ ยับยั้งการทำงาน Angiotensin Converting Enzyme ไม่ให้เปลี่ยน Angiotensin I ไปเป็น Angiotensin II ส่งผลให้หลอดเลือดขยาย เช่น Enalapril Lisinopril ระวังอาการไม่พึงประสงค์จากยาคือ อาการไอ จากปัญหาการสะสมของ Bradykinin
  • ยากลุ่ม Angiotensin II receptor Blockers ออกฤทธิ์โดยยับยั้งที่ Angiotensin II receptor ส่งผลให้หลอดเลือดขยายตัว และยังไปยับยั้งการหลั่ง Aldosterone ทำให้ดูดกลับน้ำลดลง จึงลดความดันลงได้ เช่น Losartan, Valsartan, Candesartan

อ้างอิง

[แก้]
  • Textbook of pharmacotherapy : ตำราเภสัชบำบัด
  • Evidence-Based Clinical Practice Guideline ทางอายุรกรรม 2548
  • Thai Hypertension Society: Guidelines in the Treatment of Hypertension 2008
  • http://emedicine.medscape.com/article/758544-followup
  • Drug Information Handbook 18th Edition