ความคุ้มกันแก่พระมหากษัตริย์
ความคุ้มกันองค์อธิปัตย์ (อังกฤษ: sovereign immunity) หรือ ความคุ้มกันพระมหากษัตริย์ (อังกฤษ: crown immunity) เป็นความคิดทางกฎหมายว่าองค์อธิปัตย์หรือรัฐ ไม่สามารถกระทำผิดกฎหมายได้ และมีความคุ้มกันต่อการฟ้องคดีแพ่งหรืออาญา ภายในเขตอำนาจศาลของตัวเอง สำหรับกฎทำนองเดียวกันที่เข้มกว่า ว่าด้วยศาลต่างดินแดน เรียกว่าความคุ้มกันแห่งรัฐ (อังกฤษ: state immunity)
ในความหมายเก่า ความคุ้มกันที่ให้แก่พระมหากษัตริย์เป็นหลักการที่มาดั้งเดิมของความคุ้มกันแห่งรัฐที่อาศัยมโนทัศน์คลาสสิกอำนาจอธิปไตยในแง่ที่ว่าองค์อธิปัตย์ไม่อาจอยู่ภายใต้เขตอำนาจศาลอื่นโดยปราศจากความยินยอมของผู้นั้น
ความคุ้มกันแก่องค์อธิปัตย์แบ่งได้เป็นสองรูปแบบ
- ความคุ้มกันจากคดี หมายถึง องค์อธิปัตย์หรือผู้แทนไม่สามารถเป็นจำเลยหรืออยู่ในบังคับของกระบวนพิจารณาคดีของศาล
- ความคุ้มกันจากการบังคับใช้ หมายถึง แม้บุคคลชนะคดีต่อองค์อธิปัตย์หรือรัฐ แต่คำพิพากษานั้นไม่อาจบังคับใช้ได้
ความคุ้มกันแก่องค์อธิปัตย์ของรัฐหนึ่งสามารถสละได้ โดย
- ความตกลงลายลักษณ์ก่อนหน้า
- การยื่นฟ้องคดีโดยไม่อ้างความคุ้มกัน
- ยอมรับเขตอำนาจศาลเป็นจำเลยในคดี
- ร้องขัดหรือดำเนินการในคดี (นอกเหนือจากอ้างความคุ้มกัน)
ในประเทศราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญเป็นจุดกำเนิดตามประวัติศาสตร์ของอำนาจหน้าที่ซึ่งสร้างศาลขึ้นมา กฎนี้แสดงออกทั่วไปในภาษิตกฎหมาย rex non potest peccare หมายถึง พระมหากษัตริย์จะทรงกระทำผิดไม่ได้ (the king can do no wrong)[1]
ตามประเทศ
[แก้]จีน
[แก้]สาธารณรัฐประชาชนจีนอ้างอย่างสม่ำเสมอว่า หลักการพื้นฐานข้อหนึ่งของกฎหมายระหว่างประเทศนั้น มีเพื่อให้รัฐทั้งหลาย รวมไปถึงทรัยพ์สินของรัฐเหล่านั้น ได้มีความคุ้มกันองค์อธิปัตย์โดยสมบูรณ์ (absolute sovereign immunity) จีนต่อต้านการคุ้มกันองค์อธิปัตย์แบบมีข้อจำกัด (restrictive sovereign immunity) จีนยืนยันว่ารัฐหนึ่งอาจสละความคุ้มกันของตนได้ด้วยการประกาศโดยสมัครใจ แต่หากมีกรณีที่รัฐบาลเข้าแทรกแซงในคดีความ (เช่น การประท้วง) กรณีดังกล่าวจะต้องไม่ถูกมองว่าเป็นการสละการคุ้มกัน[2] เคยมีกรณีที่บริษัทของจีนที่มีรัฐเป็นเจ้าของและถือว่ามีความสำคัญต่อกิจการของรัฐ ได้อ้างความคุ้มกันองค์อธิปัตย์ ในคดีความที่บริษัทเหล่านั้นถูกฟ้องในศาลต่างประเทศ มุมมองของจีนต่อเรื่องนี้คือ ความคุ้มกันองค์อธิปัตย์เป็นสิทธิและประโยชน์ที่ชอบด้วยกฎหมาย ที่องคาพยพของจีนมีหน้าที่จะปกป้องรักษา[3] ตัวอย่างของบริษัทของจีนที่รัฐเป็นเจ้าของที่เคยอ้างความคุ้มกันองค์อธิปัตย์ เช่น วิสาหกิจอุตสาหกรรมอากาศยานจีน (Aviation Industry Corporation of China - AVIC) และบรรษัทวัสดุก่อสร้างแห่งชาติจีน (China National Building Materia)[4]
สิงคโปร์
[แก้]ในประเทศสิงคโปร์ ความคุ้มกันแห่งรัฐถูกประมวลบัญญัติไว้ State Immunity Act of 1979 เก็บถาวร 2018-01-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับ State Immunity Act 1978 ของสหราชอาณาจักร
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Broom, Herbert (March 25, 1845). "A Selection of Legal Maxims, Classified and Illustrated". T. & J.W. Johnson – โดยทาง Google Books.
- ↑ 何, 志鹏. "主权豁免的中国立场".
- ↑ "Foreign Ministry Spokesperson Lu Kang's Regular Press Conference on May 11, 2016". Ministry of Foreign Affairs of the People's Republic of China.
- ↑ "Chinese state-owned firms clain 'sovereign immunity' in US courts with foreign ministry's backing". 12 May 2016.