คฤหาสน์วิปลาส (เกมกระดาน)
Mansions of Madness | |
---|---|
ผู้จัดทำ | Fantasy Flight Games (เจ้าของลิขสิทธิ์) สยามบอร์ดเกมส์ และ มีนบุ๊กเกมส์ (ลิขสิทธิ์ในประเทศไทย) |
วันที่ออกจำหน่าย | 2011 |
อายุของเกม | 2011 – 2016 (รุ่นที่หนึ่ง) 2016 – ปัจจุบัน (รุ่นที่สอง) |
ประเภทของเกม | ร่วมมือกัน, ผจญภัย, สยองขวัญ, ลึกลับ |
ภาษา | อังกฤษ, จีน, ฝรั่งเศส, เยอรมัน, อิตาลี, ญี่ปุ่น, โปแลนด์, โปรตุเกส, รัสเซีย, สเปน, เช็ก, เกาหลี, ไทย, ยูเครน |
จำนวนผู้เล่น | 2 – 5 คน (รุ่นที่หนึ่ง) 1 – 5 คน (รุ่นที่สอง) |
ระยะเวลาติดตั้ง | 10 นาที (โดยประมาณ) |
ระยะเวลาเล่น | 2 – 3 ชั่วโมง (โดยประมาณ) |
โอกาสสุ่ม | กลาง |
ทักษะที่จำเป็น | การแก้ไขปัญหา, การร่วมมือกัน |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์บอร์ดเกมอย่างเป็นทางการ สยามบอร์ดเกมส์ |
คฤหาสน์วิปลาส หรือ Mansions of Madness เป็นเกมกลยุทธ์บนโต๊ะที่ออกแบบโดย คอรีย์ โคนีซกา และเผยแพร่โดย Fantasy Flight Games ในปี 2011 โดยเป็นเกมที่มีพื้นฐานมาจากนวนิยายของ เอช. พี. เลิฟคราฟท์ ซึ่งจะทำให้ผู้เล่นได้สัมผัสความสยอง และปริศนาในแบบเลิฟคราฟท์
ภายหลังจากรุ่นแรกได้ออกวางจำหน่ายมาเป็นเวลา 5 ปี พร้อมกับกล่องเสริม 2 กล่อง และเนื้อเรื่องเสริม 6 เรื่อง คฤหาสน์วิปลาส รุ่นแรก จึงปลดระวางและมีการออก คฤหาสน์วิปลาส รุ่นที่สอง มาทดแทน ในรุ่นที่สองนี้ออกแบบโดย นิกกี วาเลนส์ และใช้แอปพลิเคชันในการดำเนินเนื้อเรื่องของเกมแทนการใช้คน[1]
ในปี 2021 คฤหาสน์วิปลาส ฉบับภาษาไทยได้ออกจำหน่ายเป็นคร้ังแรก โดยมีสยามบอร์ดเกมส์ และ มีนบุ๊กเกมส์ เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์จัดจำหน่ายในประเทศไทย
รุ่นที่หนึ่ง
[แก้]คฤหาสน์วิปลาส ในรุ่นแรกต้องมีผู้เล่นตั้งแต่ 2 – 5 คน โดยมีผู้เล่น 1 คน เป็นผู้ควบคุมเกม ซึ่งจะทำหน้าที่เล่าเนื้อเรื่องและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และควบคุมการเดิน และการโจมตีของสัตว์ประหลาด ส่วนผู้เล่นคนอื่นจะรับบทเป็นนักสืบที่เข้ามาในบ้านผีสิงเพื่อทำการแก้ปริศนาที่เกิดขึ้น ในตอนต้นของเกม ผู้เล่นจะเลือกเนื้อเรื่องและติดตั้งแผนที่ตามที่กำหนด ผู้ควบคุมจะทำความเข้าใจกับกฎต่าง ๆ และจัดวางแผนที่ และอุปสรรคตามที่กำหนด หลังจากติดตั้งเกมแล้ว ผู้เล่นจะเริ่มต้นที่จุดเริ่มต้นที่กำหนดไว้ และหากมีตัวละครหลัก ผู้เล่นที่มีบทบาทเป็นตัวละครหลักจะได้เล่นก่อน หากไม่มี ผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดจะได้เล่นก่อน จากนั้นผู้เล่นแต่ละคนจะทำการสำรวจคฤหาสน์ร้างนี้ โดยแต่ละคนสามารถเคลื่อนที่ไปได้สองช่องและดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง และผู้เล่นแต่ละคนจะมีค่าสุขภาพและสติที่ลดลงเมื่อตัวละครที่ควบคุมได้รับบาดเจ็บหรือหวาดกลัว แต่ละครั้งที่ผู้เล่นได้รับความเสียหาย ผู้ควบคุมเกมอาจเล่นการ์ดบาดแผลซึ่งก่อให้เกิดการลงโทษเพิ่มเติมได้ ตัวอย่างเช่น ผู้เล่นอาจได้รับความเสียหายถึงขั้นขาหักและไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เร็วเหมือนเมื่อก่อน หรือผู้เล่นอาจมีอาการกลัวความมืดหลังจากเผชิญกับความสยองเหนือธรรมชาติ ในระหว่างตาของผู้เล่น ผู้ควบคุมอาจเล่นการ์ดมิธอสเพื่อพยายามทำให้ตัวละครบาดเจ็บทางร่างกายหรือจิตใจ ทำให้เสื่อมเสียหรือทำลายสิ่งของ หรือมิฉะนั้นก็ปล่อยคืน
หลังจากผู้เล่นจบรอบ ผู้ควบคุมเกมจะมีปฏิกิริยาตอบสนอง และรวบรวมจุดคุกคามเท่ากับจำนวนผู้ตรวจสอบในแต่ละรอบ จุดคุกคามเป็นทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการใช้การ์ดความสามารถส่วนใหญ่ของผู้ควบคุมเกม
ผู้ควบคุมเกมจะรู้เป้าหมายตั้งแต่ต้นเกม ซึ่งจะถูกปิดบังไว้ไม่ให้ผู้เล่นคนอื่นรู้ จนกระทั่งใกล้จบเกมจึงจะเปิดเผย
ส่วนเสริม
[แก้]ในคฤหาสน์วิปลาส รุ่นแรก มีส่วนเสริมออกมาทั้งหมด 2 ตัว ได้แก่ Forbidden Alchemy ออกมาเมื่อปี 2011[2] และ Call of the Wild ออกมาเมื่อปี 2013[3] ทั้งสองส่วนเสริมออกแบบโดย คอรีย์ โคนีซกา
เนื้อเรื่อง
[แก้]- "Season of the Witch" (2011)
- "The Silver Tablet" (2011)
- "Til Death Do Us Part" (2011)
- "Return of the Reanimator" (2011) (ส่วนเสริม Forbidden Alchemy)
- "Yellow Matter" (2011) (ส่วนเสริม Forbidden Alchemy)
- "Lost in Time and Space" (2011) (ส่วนเสริม Forbidden Alchemy)
- "House of Fears" (2012)
- "The Yellow Sign" (2012)
- "The Laboratory" (2013)
- "A Cry for Help" (2013) (ส่วนเสริม Call of the Wild)
- "The Stars Aligned" (2013) (ส่วนเสริม Call of the Wild)
- "The Mind's Veil" (2013) (ส่วนเสริม Call of the Wild)
- "'The Dunwich Horror" (2013) (ส่วนเสริม Call of the Wild)
- "A Matter of Trust" (2013) (ส่วนเสริม Call of the Wild)
รุ่นที่สอง
[แก้]คฤหาสน์วิปลาส รุ่นที่สอง ได้ออกวางจำหน่ายเมื่อ 4 กันยายน 2016[4] ซึ่งนอกเหนือจากการปรับเปลี่ยนเล็กน้อยแล้ว รูปแบบการเล่นยังคงคล้ายเดิมเพียงแต่จะเปลี่ยนผู้ควบคุมเกมจากคนมาเป็นแอปพลิเคชันแทน ซึ่งสามารถเปิดได้จากสตีมบนเครื่องแมคและพีซี ไอโอเอส และแอนดรอยด์[5] ซึ่งตัวแอพจะทำการควบคุมเกม สร้างแผนที่ ปล่อยสัตว์ประหลาด และสร้างปริศนาขึ้นมาแบบสุ่ม เพื่อสร้างความหลากหลายของตัวเกม และระดับความยากไปตามสถานการณ์ ซึ่งด้วยการที่แอพเป็นตัวควบคุมเกม ทำให้ในรุ่นนี้สามารถที่จะเล่นคนเดียวได้
และในรุ่นนี้ได้อนุญาตให้ผู้ที่มีตัวเกมรุ่นแรก สามารถนำตัวละคร แผ่นแผนที่ ตัวสัตว์ประหลาด มาร่วมเล่นได้เพื่อเพิ่มสถานการณ์ให้หลากหลายยิ่งขึ้น[6] และหลังจากนั้นไม่นานตัวเกมก็ได้ออกคอลเลกชัน Recurring Nightmares และ Suppressed Memories สำหรับผู้ที่ไม่มีตัวเกมในรุ่นแรก
ตัวเกมมาพร้อมกับเนื้อเรื่อง 4 เรื่องที่มีความยาวและความยากแตกต่างกันออกไป และมีเนื้อเรื่อง DLC ที่ผู้เล่นสามารถซื้อเพื่อมาเล่นได้ และผู้เล่นคนใดที่มีเกมรุ่นแรก หรือมีคอลเลกชัน Recurring Nightmares และ Suppressed Memories จะสามารถเล่นเนื้อเรื่องเพิ่มเติมได้
ฟิกเกอร์ แอนด์ไทล์ คอลเลกชันส์
[แก้]ใน คฤหาสน์วิปลาส รุ่นที่สอง มาพร้อมกับชุดแปลงที่ช่วยให้ผู้ที่มีเกมรุ่นแรก และส่วนเสริมอย่างใดอย่างหนึ่งจากสองส่วนนี้สามารถใช้ตัวละคร สัตว์ประหลาด และชิ้นส่วนในขณะที่เล่นเนื้อเรื่องในรุ่นที่สองได้[6] ซึ่งผู้ใหม่ที่ไม่มีตัวเกมรุ่นแรก ไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ แต่มีสำหรับเพื่อต้องการเพิ่มอรรถรสในการเล่น และเพิ่มความหลากหลายให้กับเกม แผนที่มากขึ้น และสัตว์ประหลาดมีหลากหลาย และมีตัวเลือกในการกระทำมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการผลิตเกมรุ่นแรกและส่วนเสริมได้หยุดลง Fantasy Flight Games จึงตัดสินใจบรรจุส่วนประกอบเกมเก่าเป็นคอลเลกชันฟิกเกอร์และไทล์ใหม่สองชุด และวางจำหน่ายพร้อมกัน สิ่งเหล่านี้ไม่ถือเป็นส่วนเสริมที่แท้จริง แต่เป็นการบรรจุส่วนประกอบรุ่นเก่าที่เลิกผลิตใหม่ ซึ่งอนุญาตให้ผู้เล่นใหม่เพิ่มลงในเกมรุ่นที่สองได้
คอลเลกชันฟิกเกอร์และไทล์ ออกมาเพียง 2 ชุดเท่านั้นคือ Recurring Nightmares Figure and Tile Collection ซึ่งประกอบด้วยตัวละคร สัตว์ประหลาด การ์ด และแผนที่จากคฤหาสน์วิปลาส รุ่นแรก และ Suppressed Memories Figure and Tile Collection ซึ่งประกอบด้วยตัวละคร สัตว์ประหลาด การ์ด และแผนที่จากส่วนเสริม Forbidden Alchemy และ Call of the Wild
ส่วนเสริม
[แก้]- ไขประตูสู่วิวรณ์ (Beyond the Threshold)
- ถนนลี้ลับแห่งอาร์คัม (Streets of Arkham)
- วิหารลับแห่งสนธยา (Sanctum of Twilight)
- Horrific Journeys
- Path of the Serpent
เนื้อเรื่อง
[แก้]เนื้อเรื่อง | ชื่อเนื้อเรื่องในภาษาไทย | ความยาก | เวลาการเล่น (นาที) | อุปกรณ์ที่ต้องใช้ |
---|---|---|---|---|
"Cycle of Eternity" | "วัฏจักรนิรันดร์" | 2/5 | 60 – 90 | ตัวเกมพื้นฐาน |
"Escape from Innsmouth" | "การหลบหนีจากเมืองอินน์สมัธ" | 4/5 | 90 – 150 | ตัวเกมพื้นฐาน |
"Shattered Bonds" | "พันธะสัญญาที่แตกสลาย" | 5/5 | 120–180 | ตัวเกมพื้นฐาน |
"Rising Tide" | "ทะเลคลั่ง" | 3/5 | 240 – 360 | ตัวเกมพื้นฐาน |
"Dearly Departed"[7] | 5/5 | 120 – 150 | คฤหาสน์วิปลาส รุ่นแรก หรือ คอลเลกชันฟิกเกอร์และไทล์ Recurring Nightmares | |
"Cult of Sentinel Hill"[8] | 3/5 | 120 – 150 | ส่วนเสริม Call of the Wild หรือ คอลเลกชันฟิกเกอร์และไทล์ Suppressed Memories | |
"What Lies Within"[9] | 4/5 | 120 – 150 | ตัวเกมพื้นฐาน + DLC (ซื้อ) | |
"Gates of Silverwood Manor"[10] | "ประตูคฤหาสน์ซิลเวอร์วูด" | 4/5 | 120 – 180 | ส่วนเสริม ไขประตูสู่วิวรณ์ |
"Vengeful Impulses" | "แรงพยาบาท" | 2/5 | 90 – 120 | ส่วนเสริม ไขประตูสู่วิวรณ์ |
"Dark Reflections"[11] | 3/5 | 180 – 240 | ตัวเกมพื้นฐาน + DLC (ซื้อ) | |
"Astral Alchemy"[12] | "เล่นแร่แปรดวงดาว" | 4/5 | 90 – 120 | ส่วนเสริม ถนนลี้ลับแห่งอาร์คัม |
"Gangs of Arkham" | "แก๊งแห่งอาร์คัม" | 3/5 | 180 – 240 | ส่วนเสริม ถนนลี้ลับแห่งอาร์คัม |
"Ill-Fated Exhibit" | "นิทรรศการต้องสาป" | 5/5 | 120 – 180 | ส่วนเสริม ถนนลี้ลับแห่งอาร์คัม |
"The Twilight Diadem"[13] | "มงกุฎสนธยา" | 4/5 | 180 – 240 | ส่วนเสริม วิหารลับแห่งสนธยา |
"Behind Closed Doors" | "หลังประตูปิดตาย" | 3/5 | 120–150 | ส่วนเสริม วิหารลับแห่งสนธยา |
"Altered Fates"[14] | "บิดเบือนโชคชะตา" | 3/5 | 90–120 | ตัวเกมพื้นฐาน + DLC (ซื้อ) |
"Murder on the Stargazer Majestic"[15] | 3/5 | 90–150 | ส่วนเสริม Horrific Journeys | |
"10:50 to Arkham" | 4/5 | 90–120 | ส่วนเสริม Horrific Journeys | |
"Hidden Depths" | 5/5 | 120–180 | ส่วนเสริม Horrific Journeys | |
"The Jungle Awakens"[16] | 3/5 | 90-120 | ส่วนเสริม Path of the Serpent | |
"Into the Dark" | 4/5 | 150-180 | ส่วนเสริม Path of the Serpent | |
"Lost Temple of Yig" | 5/5 | 90-120 | ส่วนเสริม Path of the Serpent |
แหล่งอ้างอิง
[แก้]- ↑ Zimmerman, Aaron; Anderson, Nate; Mendelsohn, Tom (8 December 2017). "Ars Technica's ultimate board game buyer's guide". Ars Technica. สืบค้นเมื่อ 12 November 2021.
- ↑ "Mansions of Madness: Forbidden Alchemy". BoardGameGeek. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-30. สืบค้นเมื่อ 2017-07-23.
- ↑ Mansions of Madness: Call of the Wild expansion เก็บถาวร 2013-11-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ BoardGameGeek เก็บถาวร 2017-02-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน retrieved 12 February 2017
- ↑ Fantasy Flight Games เก็บถาวร 2017-02-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, retrieved 12 February 2017
- ↑ 6.0 6.1 "Learn About the Mansions of Madness Second Edition Conversion Kit". www.fantasyflightgames.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-03. สืบค้นเมื่อ 2017-07-23.
- ↑ "Dearly Departed". Fantasy Flight Games. 26 August 2016.
- ↑ "Cult of Sentinel Hill". Fantasy Flight Games. 8 September 2016.
- ↑ "What Lies Within". Fantasy Flight Games. 21 December 2016.
- ↑ "Step Beyond the Threshold". Fantasy Flight Games. 12 January 2017.
- ↑ "Dark Reflections". Fantasy Flight Games. 4 August 2017.
- ↑ "Take to the Streets". Fantasy Flight Games. 9 November 2017.
- ↑ "Enter the Sanctum". Fantasy Flight Games. 19 April 2018.
- ↑ "Altered Fates". Fantasy Flight Games. 30 August 2018.
- ↑ "Horrific Journeys". Fantasy Flight Games. 2 July 2018.
- ↑ "Path of the Serpent". Fantasy Flight Games. 24 June 2019.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Mansions of Madness archived from the original at Fantasy Flight Games
- Mansions of Madness at BoardGameGeek
- Mansions of Madness, 2nd Edition at BoardGameGeek