ข้ามไปเนื้อหา

คณะนิติราษฎร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คณะนิติราษฎร์ เป็นกลุ่มอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งมีข้อเสนอทางวิชาการด้านนิติศาสตร์ต่อสังคมไทย เริ่มจากเสนอให้ลบล้างผลพวงของการรัฐประหาร พ.ศ. 2549 เมื่อวัน 19 กันยายน พ.ศ. 2553 อันเป็นวันครบรอบ 4 ปีของรัฐประหารดังกล่าว

คณะนิติราษฎร์ยังมีชื่อจากการเสนอแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่ว่าด้วยความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย

สมาชิกคณะนิติราษฎร์

[แก้]

ประวัติ

[แก้]

กลุ่มนักวิชาการชื่อ 5 อาจารย์นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เกิดขึ้นภายหลังรัฐประหารเมื่อ พ.ศ. 2549[1] ด้วยการนำเสนอบทความทางวิชาการ ออกมาเป็นระยะ แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก จนกระทั่งในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553 กลุ่ม 5 อาจารย์นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ และเพื่อนอาจารย์ เปิดตัวเว็บไซต์คณะนิติราษฎร์[2] พร้อมทั้งจัดงานเสวนาวิชาการ ในหัวข้อ 4 ปีรัฐประหาร 4 เดือนพฤษภาอำมหิต อนาคตทางสังคมไทย โดยมีคณะนิติราษฎร์เป็นองค์ปาฐก ต่อมาในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554 คณะนิติราษฎร์แถลงข้อเสนอทางวิชาการ ในหัวข้อ 5 ปีรัฐประหาร 1 ปีนิติราษฎร์ จนก่อให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์ในสังคม ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย

ข้อเสนอการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112

[แก้]

คณะนิติราษฎร์ แถลงข้อเสนอทางวิชาการ และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2554[3] โดยสรุปดังต่อไปนี้

  1. ยกเลิกมาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ออกจากลักษณะว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
  2. เพิ่มเติมลักษณะความผิด เกี่ยวกับพระเกียรติของ กษัตริย์ ราชินี รัชทายาท และเกียรติยศของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในประมวลกฎหมายอาญา
  3. แบ่งแยกการคุ้มครอง สำหรับตำแหน่งกษัตริย์ ออกจาก ราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
  4. แก้ไขอัตราโทษ โดยไม่บัญญัติอัตราโทษขั้นต่ำ เพิ่มโทษปรับ ลดอัตราโทษขั้นสูง โดยเปรียบเทียบกับอัตราโทษ ที่ใช้ในกรณีของบุคคลทั่วไป ให้การกระทำผิดต่อพระมหากษัตริย์ สูงกว่าบุคคลทั่วไป 1 ปี และแยกแยะโทษของการกระทำผิด ฐานหมิ่นประมาทและดูหมิ่น
  5. บัญญัติเหตุยกเว้นความผิด ในกรณีติชมหรือแสดงข้อความโดยสุจริต เพื่อรักษาการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ภายใต้รัฐธรรมนูญ
  6. บัญญัติเหตุยกเว้นโทษ ในกรณีที่พิสูจน์ได้ว่าเป็นความจริง แต่หากการพิสูจน์นั้น ไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน ห้ามมิให้พิสูจน์
  7. ห้ามบุคคลทั่วไปกล่าวโทษ โดยให้อำนาจกองนิติการ ของสำนักราชเลขาธิการ เป็นผู้กล่าวโทษ[4]

ต่อมาในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555 คณะนิติราษฎร์ ร่วมกับ กลุ่มนักวิชาการ คณาจารย์ นักเขียน ศิลปิน และปัญญาชน จัดตั้ง "คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112" (ครก. 112) เพื่ออธิบายรายละเอียด ของข้อเสนอแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และรวบรวมรายชื่อ เสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 112 ฉบับที่คณะนิติราษฎร์จัดทำขึ้น เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา[5]

ข้อกล่าวหา

[แก้]

โทนี คาตาลัคซี นักค้นคว้าวิจัยทางการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวหาว่านักวิชาการกลุ่มดังกล่าวรับเงินจากองค์กร National Endowment for Democracy ในประเทศสหรัฐอเมริกา[6]

การยกย่องในสื่อ

[แก้]
  • บุคคลผู้ทรงอิทธิพลแห่งปี 2553 สาขา วิชาการ จากมติชน [7]
  • บุคคลผู้ทรงอิทธิพลแห่งปี 2554 จาก วอยซ์ทีวี [8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. กลุ่ม 5 อาจารย์นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ประชาไท
  2. เปิดตัวเว็บ'นิติราษฎร์'จวกยับปฏิวัติ19กันยาฯ ไทยรัฐ
  3. ข้อเสนอเพื่อการรณรงค์แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒
  4. "คำแถลงการณ์ ครก. 112". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-03. สืบค้นเมื่อ 2012-06-07.
  5. "สารถึงผู้อ่าน - ข้อเสนอฯ ของนิติราษฏร์ยืนอยู่บนหลักการแห่งกฎหมาย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-11. สืบค้นเมื่อ 2012-06-07.
  6. http://www.isranews.org/isranews-scoop/item/26133-tk_26133.html
  7. วรเจตน์ ภาคีรัตน์ และกลุ่มนิติราษฎร์ : บุคคลผู้ทรงอิทธิพลแห่งปี 2553 สาขา "วิชาการ" เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน มติชน
  8. นิติราษฎร์ : นิติศาสตร์เพื่อราษฎร เก็บถาวร 2014-05-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน วอยซ์ทีวี

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]