ขุนนางฝ่ายอาณาจักร
ขุนนางฝ่ายอาณาจักร (อังกฤษ: Lords Temporal) เป็นสมาชิกในสภาขุนนางซึ่งเป็นสภาสูงในรัฐสภาสหราชอาณาจักร โดยคำเรียกนั้นใช้แตกต่างกันตามประเภทของสมาชิกฝ่ายอาณาจักรอันประกอบด้วย ขุนนางสืบตระกูล (hereditary peers) และขุนนางตลอดชีพ (life peers) ซึ่งถึงแม้ว่าสิทธิในบรรดาศักดิ์สืบตระกูลในสภาสามัญชนจะถูกยกเลิกไปเหลือเพียงแค่เก้าสิบสองบรรดาศักดิ์ตามพระราชบัญญัติสภาขุนนาง ค.ศ. 1999 กับอีกฝ่ายคือฝ่ายศาสนจักรซึ่งเป็นสมาชิกโดยตำแหน่งมุขนายกในคริสตจักรอังกฤษ[1][2]
ความเป็นมา
[แก้]สมาชิกภาพในขุนนางฝ่ายอาณาจักรในอดีตเคยให้แก่ขุนนางสืบตระกูลทุกคนยกเว้นในบรรดาศักดิ์ไอร์แลนด์ โดยภายหลังจากพระราชบัญญัติสภาขุนนาง ค.ศ. 1999 สมาชิกภาพในสภาขุนนางนั้นถูกจำกัดเพียงแค่ขุนนางสืบตระกูล 92 คน[3] ตั้งแต่ค.ศ. 2020 ไม่มีรายใดที่เป็นสตรีเลย เนื่องจากบรรดาศักดิ์สืบตระกูลนั้นส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดสงวนไว้ให้สืบทอดโดยทายาทบุรุษเท่านั้น[4]
องค์ประกอบ
[แก้]ขุนนางฝ่ายอาณาจักรประกอบด้วยขุนนางสืบตระกูลเพียงจำนวนน้อยและขุนนางตลอดชีพเป็นจำนวนมากกว่า
ขุนนางสืบตระกูล
[แก้]ขุนนางสืบตระกูลในอดีตนั้นรวมถึงขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์สืบตระกูลจำนวนหลายร้อยคน (โดยรวมถึงบรรดาศักดิ์อังกฤษและขุนนางรัฐสภาของสกอตแลนด์) โดยบรรดาศักดิ์เหล่านี้ได้รับการสถาปนาโดยพระมหากษัตริย์เท่านั้นและในสมัยปัจจุบันนั้นมักจะกระทำภายใต้คำเสนอแนะจากนายกรัฐมนตรี
ผู้ครองบรรดาศักดิ์สกอตและไอริชนั้นไม่ใช่ทุกคนได้รับอนุญาตในการเป็นสมาชิกสภาขุนนาง เมื่อสกอตแลนด์ได้เข้าร่วมกับอังกฤษเพื่อก่อตั้งเป็นบริเตนใหญ่ขึ้นในปีค.ศ. 1707 ได้บัญญัติให้ขุนนางสืบตระกูลแห่งสกอตแลนด์สามารถเลือกตัวแทนขุนนางเพียง 16 คนเข้าเป็นสมาชิกสภาขุนนาง โดยกรณีเดียวกันกับไอร์แลนด์เมื่อคราวที่รวมกับบริเตนใหญ่เข้าเป็นสหราชอาณาจักรในปีค.ศ. 1801 ขุนนางไอริชสามารถเลือกผู้แทนเพียง 28 คนเข้าเป็นสมาชิกสภาขุนนางโดยมีสมาชิกตลอดชีพ โดยการเลือกตั้งผู้แทนขุนนางไอริชสิ้นสุดลงในปีค.ศ. 1922 เมื่อไอร์แลนด์ส่วนใหญ่ได้แยกตัวเป็นประเทศเอกราช และการเลือกตั้งผู้แทนขุนนางสกอตสิ้นสุดลงตามพระราชบัญญัติบรรดาศักดิ์ ค.ศ. 1963 ซึ่งบัญญัติให้ขุนนางสกอตทั้งหมดเข้าเป็นสมาชิกสภาขุนนางได้
ภายหลังจากการปฏิรูปในปีค.ศ. 1999 นั้นเหลือเพียงแค่ 92 บรรดาศักดิ์เท่านั้นที่เป็นขุนนางฝ่ายอาณาจักร โดยประกอบด้วย สมุหพระราชวัง (Lord Great Chamberlain) และเอิร์ลมาร์แชล (Earl Marshal) กับอีก 90 คนซึ่งมาจากการสรรหาโดยทั้งสภาขุนนางจำนวน 15 คน และอีก 75 คนมาจากการสรรหาโดยเหล่าขุนนางสืบตระกูลด้วยกันเองแบ่งตามสังกัดพรรคการเมือง[5][2]
ขุนนางตลอดชีพ
[แก้]กลุ่มขุนนางตลอดชีพเป็นกลุ่มที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสภาขุนนาง โดยในปีค.ศ. 2019 ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 661 คน[6] ซึ่งขุนนางตลอดชีพนั้นล้วนมีบรรดาศักดิ์เป็น บารอน หรือบารอเนส ซึ่งได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ตามพระราชบัญญัติขุนนางตลอดชีพ ค.ศ. 1958 โดยมาจากการแต่งตั้งโดยพระราชอัธยาศัยของพระมหากษัตริย์ซึ่งในปัจจุบันนั้นจะกระทำตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรีหรือคณะกรรมาธิการสรรหาในสภาขุนนาง ตามจารีตรัฐธรรมนูญแล้วนายกรัฐมนตรีมักจะอนุญาตให้ผู้นำของพรรคการเมืองต่างๆ ในการส่งชื่อบุคคลเพื่อรับพระราชทานบรรดาศักดิ์ตลอดชีพเพื่อให้มีความสมดุลทางการเมืองในสภา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Blackstone, William (January 1, 1836). Commentaries on the Laws of England. London: Clarendon Press at Oxford. p. 156. ISBN 978-1241049874.
- ↑ 2.0 2.1 Cobbett, William (1803). Cobbett's Parliamentary history of England. From the Norman conquest, in 1066. To the year, 1803. London: T.C. Hansard. p. 135.
- ↑ "House of Lords briefing paper on Membership:Types of Member, Routes to membership, Parties & groups" (PDF). Parliament of the United Kingdom. สืบค้นเมื่อ 1 July 2011.
- ↑ Adonis, Andrew (1993). Parliament Today (2nd ed.). p. 194. ISBN 9780719039782.
- ↑ "Hereditary Peers".
- ↑ "Lords membership - MPS and Lords - UK Parliament".