กาโปเดย์กาปี
กาโปเดย์กาปี (อิตาลี: capo dei capi; อังกฤษ: boss of bosses) หรือ กาโปดีตุตตีอีกาปี (อิตาลี: capo di tutti i capi; อังกฤษ: boss of all bosses) หรือ ปาดรีโน (อิตาลี: Padrino; อังกฤษ: Godfather) เป็นศัพท์ที่ใช้กันเป็นหลักโดยสื่อ สาธารณชน และกลุ่มผู้บังคับใช้กฎหมายของสหรัฐและอิตาลี เพื่อระบุตัวหัวหน้ากลุ่มอาชญากรที่มีอำนาจมากในกลุ่มซิซิเลียนมาเฟียหรืออเมริกันมาเฟียที่มีอิทธิพลอย่างมากทั่วทั้งองค์การ ศัพท์ดังกล่าวได้รับการนำมาใช้ในสหรัฐโดยคณะกรรมาธิการคีฟอเวอร์ใน ค.ศ. 1950[1]
อเมริกันมาเฟีย
[แก้]ราว ค.ศ. 1900 จูเซปเป โมเรลโล เป็นเจ้าพ่อมาเฟียที่มีอำนาจมากในนครนิวยอร์ก เหล่ามาเฟียคนอื่น ๆของนคร และนครอื่น ๆ ของสหรัฐ เรียกเขาว่า กาโปเดย์กาปี แต่หลังจากที่เขาเข้าเรือนจำ เซบาสเตียโน ดีแกตาโน รับตำแหน่งนี้ใน ค.ศ.1910 แต่หลังจากที่เขาหายสาบสูญ ซัลวาโตเร ดาคัวลา รับตำแหน่งนี้ใน ค.ศ.1912 แต่หลังจากที่เขาถูกสังหาร โจ แมสเซเรีย รับตำแหน่งนี้ใน ค.ศ.1928 แต่หลังจากที่เขาต้องต่อสู้ในสงครามคาสเตลลามมาเรเซ ในการต่อกรกับ ซัลวาทอร์ มารันซาโน; กาสพาร์ เมสซีนา รับตำแหน่งนี้ใน ค.ศ.1930 จากการประชุมในบอสตัน แต่หลังจากสงครามยุติ และแมสเซเรียถูกสังหาร เมสซีนาลงจากตำแหน่ง และมารันซาโนได้แต่งตั้งให้ตนเองเป็นเจ้าพ่อของทุกเจ้าพ่อใน ค.ศ.1931 แต่หลังจากที่เขาถูกสังหาร ลัคกี ลูเชียโน ได้ยกเลิกตำแหน่งนี้ ด้วยเพราะเชื่อว่าตำแหน่งดังกล่าวได้สร้างความขัดแย้งระหว่างครอบครัว และทำให้ผู้ดำรงตำแหน่งตกเป็นเป้าของผู้ที่ทะเยอทะยาน[2] เขาเสนอให้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อเป็นคณะผู้นำของเหล่ามาเฟีย ซึ่งเหล่ามาเฟียทั้งหลายได้เห็นชอบกับแนวคิดนี้[3] คณะกรรมการจะดูแลกิจกรรมมาเฟียทั้งหมดในสหรัฐ และทำหน้าที่เป็นสื่อกลางแก้ไขความขัดแย้งระหว่างครอบครัว[3][4]
คณะกรรมการจะประกอบไปด้วยเหล่าเจ้าพ่อมาเฟียจากห้าครอบครัวของนครนิวยอร์ก ร่วมกันกับครอบครัวอาชญากรรม ชิคาโกเอาท์ฟิท บัฟฟาโล เหล่าครอบครัวอาชญากรรมที่ครอบครัวเจโนวีสเป็นตัวแทน ซึ่งได้แก่ ฟิลาเดลเฟีย ดีทรอยต์ เดคาวัลคานเต เพทริอาร์กา พิตต์สเบิร์ก คลีฟแลนด์ นิวออร์ลีนส์ เหล่าครอบครัวอาชญากรรมที่ชิคาโกเอาท์ฟิทเป็นตัวแทน ซึ่งได้แก่ มิลวอกี แคนซัสซิตี เซนต์หลุยส์ ทราฟฟิคานเต ลอสแอนเจลิส ซานฟรานซิสโก และแซนโฮเซ โดยกรรมการแต่ละคนจะเป็นผู้ออกเสียงเลือกประธานคณะกรรมการ และแสดงความเห็นในเรื่องต่างๆ ตำแหน่งประธานคณะกรรมการดังกล่าวจะเป็นประธานในที่ประชุมคณะกรรมการมาเฟีย มากกว่าที่จะเป็นเจ้านายของเหล่ามาเฟียดังที่เคยเป็น แม้ว่ากาโปเดย์กาปีจะถูกยกเลิกไปแล้วโดยลูเชียโน อย่างไรก็ตาม คณะกรรมาธิการคีฟอเวอร์และเหล่าสื่อมวลชนในภายต่อมา ได้เรียกตำแหน่งประธานคณะกรรมการนี้ว่า เจ้าพ่อของเจ้าพ่อ
เหล่าเจ้าพ่อมาเฟียจากครอบครัวอาชญากรรมเจโนวีส: ลัคกี ลูเชียโน รับตำแหน่ง ค.ศ.1931–1946, แฟรงก์ คอสเตลโล ค.ศ.1946–1957, วีโต เจโนวีส ค.ศ.1957–1959, โจเซฟ โบนานโน จากครอบครัวอาชญากรรมโบนานโน ค.ศ.1959–1962, เหล่าเจ้าพ่อมาเฟียจากครอบครัวอาชญากรรมแกมบีโน: คาร์โล แกมบีโน ค.ศ.1962–1976, พอล แคสเตลลาโน ค.ศ.1976–1985, จอห์น กอตตี ค.ศ.1985–1992[5], วินเซนต์ จิแกนเต จากครอบครัวเจโนวีส ค.ศ.1992–1997[6] จากนั้นตำแหน่งได้ว่างลง กระทั่ง โจเซฟ แมสซีโน จากครอบครัวโบนานโน รับตำแหน่ง ค.ศ.2000–2004[7] ในช่วงเวลานี้มีเขาเพียงคนเดียว ที่เป็นเจ้าพ่อนิวยอร์กเต็มตัว ที่ไม่ได้อยู่ในเรือนจำ
โกซานอสตรา
[แก้]ไม่มีตำแหน่งดังกล่าวในซิซิเลียนมาเฟีย เช่นที่ เจ้าพ่อมาเฟียในรูปแบบเก่า คาลอเจโร วิซซีนี มักถูกสื่อเรียกว่าเป็น "เจ้าพ่อของเจ้าพ่อ" แต่เหล่ามาเฟียเปนตีตีในภายหลัง เช่น ทมมาโซ บูเชตตา ให้ข้อมูลว่าไม่มีตำแหน่งนี้อยู่จริง[8] พวกเขายังปฏิเสธว่าวิซซีนีไม่เคยเป็นผู้ปกครองของมาเฟียในซิซิลี โดยนักประวัติศาสตร์มาเฟีย ซัลวาโตเร ลูโป กล่าวว่า "ข้อความของสื่อเกี่ยวกับคำจำกัดความของ ‘กาโปเดย์กาปี’ นั้น ไม่มีรากฐานที่มาใดๆ"[9]
อย่างไรก็ตามตำแหน่งนี้มักถูกสื่อมอบให้กับเจ้าพ่อมาเฟียที่มีอำนาจในภายต่อมา ในทศวรรษที่ 1980 และ 1990 เหล่าเจ้าพ่อของครอบครัวโคร์รีโอเนซี; ซัลวาโตเร รีนา และ เบรนาร์โด โปรเวนซาโน มักถูกสื่อยกตำแหน่งให้
ในเดือนเมษายน ค.ศ.2006 รัฐบาลอิตาลีได้จับกุมโปรเวนซาโนในบ้านไร่เล็กๆใกล้เมืองโคร์รีโอเน ผู้สืบทอดตำแหน่งจากเขา ถูกรายงานว่าเป็น มัตเตโอ เมสซีนา เดนาโร หรือไม่ก็ ซัลวาโตเร โล ปิคโคโล เรื่องนี้ถูกสันนิษฐานว่า โปรเวนซาโนมีอำนาจในการกำหนดชื่อผู้สืบทอดตำแหน่ง ซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับอย่างเป็นเอกฉันท์ในหมู่ผู้สังเกตการณ์มาเฟีย "มาเฟียในปัจจุบันเป็นสหพันธรัฐมากกว่าจะเป็นรัฐเผด็จการ"[10] อันโตเนียว อิงกรอยยา อัยการต่อต้านมาเฟีย ของกองอำนวยการต่อต้านมาเฟียแห่งปาแลร์โม กล่าวถึงภายหลังการปกครองแบบเผด็จการของรีนา
“โปรเวนซาโนได้จัดตั้งกลุ่มคนประเภทคณะกรรมการขึ้นมา ประมาณ 4 ถึง 7 คน พบกันไม่บ่อยนัก เฉพาะเมื่อจำเป็นต้องมีการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์เท่านั้น" อิงกรอยยาเสริม "ในองค์กรมาเฟีย ผู้นำจะต้องอยู่เหนือคนอื่นๆไปหนึ่งก้าว ไม่เช่นนั้นทุกอย่างจะแตกสลาย ทั้งหมดขึ้นอยู่กับว่าเขาสามารถจัดการฉันทามติได้หรือไม่ และคนอื่นๆเห็นด้วยหรือขัดขืน โปรเวนซาโนรับประกันความมั่นคงได้ในระดับหนึ่ง เพราะเขามีอำนาจในการระงับข้อพิพาทภายใน"[10]
ในอิตาลี ละครชุดสั้นโทรทัศน์ 6 ตอนชื่อ Il Capo dei Capi เล่าเรื่องราวของ ซัลวาโตเร รีนา[11]
อินดรางเกตา
[แก้]ผู้ดำรงตำแหน่ง คาโปครีมีเน จะถูกเลือกตั้งขึ้นมาในการประชุมครีมีเน ซึ่งเป็นการประชุมประจำปีของอินดรางเกตา แต่คาโปครีมีเนมีอำนาจค่อนข้างน้อย ในการแทรกแซงความบาดหมาง หรือควบคุมความรุนแรงที่เกิดขึ้นระหว่างครอบครัว[12]
ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์
[แก้]- เดอะ ก็อดฟาเธอร์ (ค.ศ.1972) แม้ถูกสร้างจากนิยาย และเป็นเรื่องแต่ง แต่ภาพยนตร์มีฉากการประชุมกันของเหล่าเจ้าพ่อมาเฟีย โดยมีประธานในที่ประชุม
- Mobsters (ค.ศ.1991) ภาพยนตร์เล่าเหตุการณ์สงครามระหว่าง โจ แมสเซเรีย (รับบทโดย แอนโทนี ควินน์) กับ ซัลวาทอร์ มารันซาโน (รับบทโดย ไมเคิล แกมบอน) โดยตัวเอกของเรื่องคือ ลัคกี ลูเชียโน (รับบทโดย คริสเตียน สเลเทอร์)
- Il Capo dei Capi (ค.ศ.2007) ละครโทรทัศน์เล่าเรื่องราวของ ซัลวาโตเร รีนา (รับบทโดย เคราเดียว เกียวเอ) เป็นตัวเอก และ เบรนาร์โด โปรเวนซาโน (รับบทโดย ซัลวาโตเร ลาซซาโร) ของอิตาลี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ De Stefano, An Offer We Can't Refuse, p. 41
- ↑ "Salvatore Maranzano: 'Boss of All Bosses' in the Early American Mafia". United States: Brewminate. October 6, 2020. สืบค้นเมื่อ December 14, 2020.
he abolished the title, believing the position created trouble between the families and made himself a target for another ambitious challenger.
- ↑ 3.0 3.1 Capeci, Jerry. The complete idiot's guide to the Mafia "The Mafia's Commission" (pp. 31–46)
- ↑ "The Commission's Origins". The New York Times. 1986. สืบค้นเมื่อ December 15, 2020.
- ↑ Raab, Selwyn, Five Families, p. 201.
- ↑ Raab, Selwyn (September 3, 1995). "With Gotti Away, the Genoveses Succeed the Leaderless Gambinos". New York Times. สืบค้นเมื่อ December 17, 2020.
- ↑ Corliss, Richard. Crittle, Simon. ""The Last Don เก็บถาวร 2005-08-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", Time Magazine, March 29, 2004. Accessed December 18, 2020.
- ↑ Arlacchi, Addio Cosa nostra, p. 106
- ↑ (อิตาลี) Zu Binnu? Non è il superboss เก็บถาวร 2012-09-05 ที่ archive.today, Intervista a Salvatore Lupo di Marco Nebiolo, Narcomafie, April 2006
- ↑ 10.0 10.1 The Mafia after Provenzano - peace or all-out war?, Reuters, April 12, 2006.
- ↑ A Mafia saga keeps Italians tuned in, The New York Times, November 18, 2007
- ↑ How Mafias Migrate: The Case of the 'Ndrangheta in Northern Italy เก็บถาวร 2008-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, by Federico Varese, Law & Society Review, June 2006
บรรณานุกรม
[แก้]- (อิตาลี) Arlacchi, Pino (1994). Addio Cosa nostra: La vita di Tommaso Buscetta, Milan: Rizzoli, ISBN 88-17-84299-0
- Critchley, David (2009). The Origin of Organized Crime in America: The New York City Mafia, 1891-1931, New York: Routledge, ISBN 0-203-88907-X
- De Stefano, George, (2007). An Offer We Can't Refuse: The Mafia in the Mind of America, New York: Faber and Faber, ISBN 0-86547-962-3
- Paoli, Letizia (2003). Mafia Brotherhoods: Organized Crime, Italian Style, New York: Oxford University Press ISBN 0-19-515724-9
- Raab, Selwyn (2005). Five Families: The Rise, Decline, and Resurgence of America's Most Powerful Mafia Empires, New York: Thomas Dunne Books, ISBN 0-312-30094-8