ข้ามไปเนื้อหา

กาฬโรค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กาฬโรค
(Plague)
Yersinia pestis ที่กำลังขยาย 200 เท่า และติดฉลากเรืองแสง แบคทีเรียดังกล่าวเป็นสาเหตุของกาฬโรค
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10A20
ICD-9020
MedlinePlus000596
eMedicinemed/3381
MeSHD010930

กาฬโรค (อังกฤษ: plague) เป็นโรคติดเชื้อถึงตายที่เกิดจากเอ็นเทอโรแบคทีเรีย Yersinia pestis ซึ่งตั้งตามชื่อนักวิทยาแบคทีเรียชาวฝรั่งเศส-สวิส อเล็กซานเดอร์ เยอร์ซิน กาฬโรคเป็นโรคที่อยู่ในสัตว์ฟันแทะ และหมัดเป็นตัวแพร่สู่มนุษย์ โรคดังกล่าวรู้จักกันตลอดประวัติศาสตร์ เนื่องจากขอบเขตการเสียชีวิตและการทำลายล้างที่โรคอื่นเทียบไม่ได้ กาฬโรคเป็นโรคระบาดหนึ่งในสามโรคที่ต้องรายงานต่อองค์การอนามัยโลก (อีกสองโรค คือ อหิวาตกโรคและไข้เหลือง) กระทั่งเดือนมิถุนายน 2550[1]

กาฬโรคสามารถแพร่ในอากาศ ผ่านการสัมผัสโดยตรง หรือโดยอาหารหรือวัสดุที่ปนเปื้อน ขึ้นอยู่กับการติดเชื้อที่ปอดหรือสภาพสุขาภิบาล อาการของกาฬโรคขึ้นอยู่กับบริเวณที่มีเชื้อมากในแต่ละบุคคล เช่น กาฬโรคที่ต่อมน้ำเหลือง (bubonic plague) กาฬโรคแบบโลหิตเป็นพิษ (septicemic ) ในหลอดเลือด กาฬโรคแบบมีปอดบวม (pneumonic plague) ในปอด ฯลฯ กาฬโรครักษาได้หากตรวจพบเร็ว และยังระบาดอยู่ในบางส่วนของโลก


อ้างอิง

[แก้]
  1. [WHO IHR Brief No. 2. Notification and other reporting requirements under the IHR (2005). http://www.who.int/ihr/ihr_brief_no_2_en.pdf]

ดูเพิ่ม

[แก้]