ข้ามไปเนื้อหา

การเลือกตั้งซ่อมในประเทศพม่า พ.ศ. 2555

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเลือกตั้งซ่อมในประเทศพม่า พ.ศ. 2555

← 2553 1 April 2012 2558 →

40 (of the 440) seats to the Pyithu Hluttaw (House of Representatives)
6 (of the 224) seats to the Amyotha Hluttaw (House of Nationalities)
2 seats to Regional Parliaments
  First party Second party Third party
 
ผู้นำ Thein Sein Aung San Suu Kyi Sai Ai Pao
พรรค Union Solidarity and Development Party National League for Democracy Shan Nationalities Democratic Party
ผู้นำตั้งแต่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 2010 (2010-06-02) 27 กันยายน ค.ศ. 1988 (1988-09-27) 8 เมษายน ค.ศ. 2010 (2010-04-08)
เขตของผู้นำ Did not contest Kawhmu (Pyithu) Did not contest
ที่นั่งก่อนหน้า 260 R / 128 N 0 R / 1 N 18 R / 3 N
ที่นั่งหลังเลือกตั้ง 220 R / 123 N 37 R / 5 N 18 R / 4 N
ที่นั่งเปลี่ยน ลดลง40 R / ลดลง5 N เพิ่มขึ้น37 R / เพิ่มขึ้น4 N Steady R / เพิ่มขึ้น1 N

Results of the election in the Pyithu Hluttaw and Amyotha Hluttaw in the 2010 General Election and by-elections up to December 2014.

การเลือกตั้งซ่อมในประเทศพม่า พ.ศ. 2555 กำหนดจัดขึ้นในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555[1] การเลือกตั้งจะถูกจัดขึ้นเพื่อเลือกผู้แทนจำนวน 45 ที่นั่งที่ว่างลงในรัฐสภา[2][3]

สันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) พรรคฝ่ายค้านหลัก ได้รับการจดทะเบียนร่วมการเลือกตั้งซ่อมอีกครั้งในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปในพม่าตั้งแต่ พ.ศ. 2553 อองซานซูจี หัวหน้าพรรคเอ็นแอลดี ลงสมัครเลือกตั้งในอำเภอก่อมู่ เขตย่างกุ้ง[4]

ผู้สังเกตการเลือกตั้ง

[แก้]

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ประธานาธิบดีเต้นเซนให้ความเห็นว่า รัฐบาลจะ "พิจารณาอย่างจริงจัง" ในการอนุญาตให้ผู้สังเกตการณ์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าสังเกตการณ์การเลือกตั้ง[5] รัฐบาลพม่ายืนยันว่า พม่าได้ร้องขอให้ผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้งอาเซียนมาถึงในวันที่ 28 มีนาคม ห้าวันก่อนการเลือกตั้ง[6] สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป จีน และเกาหลีเหนือ ตลอดจนคู่เจรจาของอาเซียน (อินเดีย ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ รัสเซีย และออสเตรเลีย) ก็ได้รับเชิญให้เข้าสังเกตการณ์การเลือกตั้งด้วยเช่นกัน แม้ยังไม่ชัดเจนถึงระดับการเข้าถึงของผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้งเหล่านี้ที่จะมี[7][8] สหรัฐอเมริกาจะส่งผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้ง 2 คน และผู้สื่อข่าว 3 คน[9]

วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555 คณะกรรมการการเลือกตั้งสหภาพ อนุมัติให้ตัวแทนพรรคการเมืองจับตาดูหน่วยเลือกตั้งระหว่างการเลือกตั้ง[10] ในการเลือกตั้งครั้งก่อน มีเพียงตัวแทนจากพรรคสหสามัคคีและการพัฒนาเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้สังเกตการณ์การเลือกตั้งและการนับบัตรลงคะแนน[10] กลุ่มตัวแทนนำโดยพลเรือน รวมทั้งสมาชิกของกลุ่มนักศึกษารุ่น 88 จะยังพิจารณาความผิดปกติในการเลือกตั้งด้วย[11]

ข้อโต้เถียง

[แก้]

อองดีนแห่งกลุ่มรณรงค์เพื่อพม่าในสหรัฐอเมริกา (US Campaign for Burma) กล่าวว่า รัฐบาลพม่ากำลังใช้การเลือกตั้งให้ชาติตะวันตกยกเลิกการลงโทษให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะการเลือกตั้งเสรีและโปร่งใสเป็นหนึ่งในเงื่อนไขซึ่งตั้งโดยสหภาพยุโรปและรัฐบาลอเมริกา[7] ยิ่งไปกว่านั้น สันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยยังชี้ถึงความผิดปกติในรายการผู้ออกเสียงลงคะแนนและการละเมิดกฎโดยคณะกรรมการการเลือกตั้งท้องถิ่น[12] วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2555 อองซานซูจีกล่าวว่า "การโกงและการละเมิดกฎกำลังดำเนินต่อไป และเราสามารถกระทั่งกล่าวได้ว่า กำลังมีเพิ่มขึ้น"[12]

เครือข่ายเอเชียเพื่อการเลือกตั้งเสรี (ANFREL) องค์การจับตาการเลือกตั้งซึ่งมีฐานอยู่ในกรุงเทพมหานคร ได้เรียกการสังเกตการณ์การเลือกตั้งอย่างเปิดเผยว่า ไม่เพียงพอ ไม่เป็นไปตามมาตรฐานนานาชาติ จำกัดเกินไป (มีผู้สังเกตการณ์เพียง 2 คนต่อรัฐบาล หรือ 5 คนต่อชาติอาเซียน) และมาช้าเกินไป (คำเชิญถูกส่งมาน้อยกว่า 2 สัปดาห์ก่อนวันเลือกตั้ง) ซึ่งทั้งหมดทำให้เป็นไปไม่ได้ที่จะสังเกตหน่วยเลือกตั้งทั้ง 48 หน่วย[13] วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2555 สมศรี หาญอนันทสุข ผู้อำนวยการบริหาร ANFREL ถูกเนรเทศออกจากย่างกุ้ง โดยอ้างว่าเข้าประเทศโดยใช้วีซ่าท่องเที่ยว[14]

วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2555 การเลือกตั้งซ่อมในสามเขตเลือกตั้งในรัฐกะชีน ถูกเลื่อนออกไปเนื่องจากสถานการณ์ความมั่นคงในพื้นที่[15][16]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Electoral Calendar - international elections world elections". สืบค้นเมื่อ 2011-05-12.
  2. http://www.aljazeera.com/video/asia-pacific/2012/03/2012329184512429532.html
  3. Hla Hla Htay (30 December 2011). "Myanmar sets by-election date". AFP. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-04. สืบค้นเมื่อ 15 March 2012.
  4. "Aung San Suu Kyi registers for Burma election run". BBC News. 18 January 2012. สืบค้นเมื่อ 15 March 2012.
  5. Petty, Martin (21 February 2012). "Myanmar says will consider ASEAN poll observers". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 15 March 2012.
  6. "Burma gets ASEAN poll monitor boost". Democratic Voice of Burma. 20 March 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-25. สืบค้นเมื่อ 20 March 2012.
  7. 7.0 7.1 Sopheng Cheang (21 March 2012). "Myanmar will allow US, EU monitors for April vote". Associated Press. สืบค้นเมื่อ 22 March 2012.
  8. "Burma invites US and EU observers to April by-elections". BBC News. 21 March 2012. สืบค้นเมื่อ 22 March 2012.
  9. "US Accepts Burma's Invitation to Observe April 1 Vote". Voice of America. 21 March 2012. สืบค้นเมื่อ 22 March 2012.
  10. 10.0 10.1 Shwe Aung (14 March 2012). "UEC okays poll monitors". Democratic Voice of Burma. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-18. สืบค้นเมื่อ 15 March 2012.
  11. "Citizens to Monitor Elections". Radio Free Asia. 23 March 2012. สืบค้นเมื่อ 24 March 2012.
  12. 12.0 12.1 "Western Election Observers Invited". Radio Free Asia. 21 March 2012. สืบค้นเมื่อ 22 March 2012.
  13. "Myanmar Election Observation Encouraging But Inadequate". Asian Network for Free Elections. Bangkok. 22 March 2012. สืบค้นเมื่อ 7 November 2015.
  14. Zin Linn (23 March 2012). "Is Burma's election monitoring a window-dressing?". Asia Tribune. สืบค้นเมื่อ 24 March 2012.
  15. "Myanmar postpones vote in 3 of 48 constituencies because of security concerns". Associated Press. 23 March 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ 24 March 2012.
  16. http://www.bbc.co.uk/news/world-asia-17491613