ข้ามไปเนื้อหา

การเบียดเบียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คริสต์ศาสนิกชนสตรีถูกสังหารขณะที่จักรพรรดิเนโรชายพระเนตรมาดู

การเบียดเบียน หรือ การบีฑา หรือ การประหัตประหาร (อังกฤษ: Persecution) เป็นการจงใจไล่ทำร้ายหรือไล่สังหารบุคคลคนเดียวหรือกลุ่มชนอย่างเป็นระบบ ชนิดของ “การเบียดเบียน” ก็ได้แก่การเบียดเบียนศาสนา การเบียดเบียนชาติพันธุ์ และการเบียดเบียนทางการเมือง บางลักษณะที่กล่าวก็ซ้ำซ้อนกัน

การเบียดเบียนศาสนาที่เป็นที่รู้จักกันดีก็ได้แก่การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนในจักรวรรดิโรมัน[1] ที่เกิดขึ้นตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 1 ในสมัยของจักรพรรดิเนโรมาจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 4 โดยเฉพาะในรัชสมัยของจักรพรรดิไดโอคลีเชียน[2] การเบียดเบียนในจักรวรรดิโรมันมาลดน้อยลงเมื่อจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 ทรงประกาศให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจำชาติจักรวรรดิโรมัน แต่การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนก็มิได้หยุดยั้งลงและยังคงดำเนินต่อมาด้วยเหตุผลที่ต่าง ๆ ไปจากในช่วงศาสนาคริสต์ยุคแรก เช่นการเบียดเบียนที่เกิดขึ้นในฝรั่งเศสระหว่างโรมันคาทอลิกและอูเกอโนต์ซึ่งเป็นโปรแตสแตนต์ชาวฝรั่งเศส

การเบียดเบียนบางครั้งก็อาจจะมาจากความเชื่องมงาย (superstition) เช่น การเบียดเบียนผู้มีภาวะผิวเผือก (Persecution of albinism) ทางตะวันออกของแอฟริกาเพราะความเชื่อที่ว่าคนเผือกเป็นผู้มีอำนาจเวทมนตร์พิเศษ[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. CATHOLIC ENCYCLOPEDIA: Persecution[1]
  2. CATHOLIC ENCYCLOPEDIA: Diocletian [www.newadvent.org/cathen/05007b.htm]
  3. Esdras Ndikumanna (14 October 2008). "Burundi's albinos flee sorcerers and organ traders". Agence France-Presse.


ดูเพิ่ม

[แก้]