ข้ามไปเนื้อหา

การเจาะผ่าน (การทหาร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การเจาะผ่าน[1] (อังกฤษ: breakthrough) จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อกองกำลังฝ่ายรุกสามารถบุกทะลุ หรือการเข้าตีเจาะทะลุแนวตั้งรับของคู่ต่อสู้และใช้ประโยชน์จากช่องว่างนั้นอย่างรวดเร็ว[2]

โดยปกติแล้ว การใช้กองกำลังขนาดใหญ่กับส่วนที่ค่อนข้างเล็กของแนวหน้าเพื่อที่จะปฏิบัติการลักษณะนี้ แม้ว่าแนวตั้งรับจะใช้ระยะเวลานานมากในการตั้งแนว แต่การเจาะผ่านมักจะเกิดขึ้นอย่างกระทันหันเมื่อมีการกดดันแนวตั้งรับนั้นมากพอจนแนวนั้นเกิดการ "แตกหักอย่างฉับพลัน" (snap)

เมื่อหน่วยตั้งรับหน่วยแรกถูกเจาะ หน่วยที่อยู่ติดกันจะได้รับผลกระทบจากการถูกเจาะนี้ (ความตื่นตระหนกในวงกว้าง, การมีมุมตั้งรับที่เพิ่มเติมจากการเสียแนวข้างเคียง, ภัยคุกคามต่อแนวการส่งกำลังบำรุง) เนื่องจากพวกเขาถูกกดดันอยู่แล้ว ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะทำให้แนวที่เหลืออยู่แตกหักอย่างเฉียบพลันตามมาเช่นกัน จนส่งผลให้เกิดการสูญเสียระบบของแนวตั้งรับแบบโดมิโน ทำให้กองกำลังตั้งรับเสียขบวนและละลายในบริเวณที่ถูกเจาะผ่าน ส่งผลให้ผู้โจมตีสามารถโถมกำลังเข้าสู่ช่องว่างได้อย่างรวดเร็ว และสามารถใช้ประโยชน์จากการบุกผ่านแนวเจาะผ่านในแนวกว้าง (โดยการโจมตีหน่วยบริเวณขอบการเจาะผ่านเพื่อเปิดแนวให้กว้างขึ้น) ในทางลึก (รุกเข้าไปในดินแดนของศัตรูเชิงกลยุทธ์) หรือทั้งสองวิธีรวมกัน

คำศัพท์เฉพาะ

[แก้]

พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ดได้บันทึกคำว่า "break through" ใช้ในความหมายทางทหารตั้งแต่ช่วงเวลาของการสงครามสนามเพลาะในปี พ.ศ. 2458 เมื่อผู้สังเกตการณ์ใช้คำนี้ในพาดหัวข่าว[3] พจนานุกรมนิรุกติศาสตร์ออนไลน์ ระบุถึงการใช้คำว่า "breakthrough" หมายความถึง "การแก้ปัญหาหรือความก้าวหน้าอย่างกะทันหัน" ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1930[4] ไม่นานหลังจากที่โจเซฟ สตาลินได้เผยแพร่คำที่เทียบเคียงกันในภาษารัสเซีย (รัสเซีย: перелом, อักษรโรมัน: perelom) บนการปลุกใจใน "Great Breakthrough" เผยแพร่ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2472[5] มีศัพท์เฉพาะทางการทหารและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมในช่วงแผนห้าปีแรกของสหภาพโซเวียต

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. คู่มือศัพท์ และ คำย่อทางทหาร (PDF). มณฑลทหารบกที่ 16. 2547. pp. 3–27.[ลิงก์เสีย]
  2. Paddy Griffith (1994). Battle Tactics of the Western Front: The British Army's Art of Attack, 1916-18. Yale University Press. p. 32.
  3. "breakthrough". Oxford English Dictionary (3rd ed.). Oxford University Press. กันยายน 2005. - "Observer 20 June 8/4 (headline) The break through."
  4. Harper, Douglas. "breakthrough". Online Etymology Dictionary. สืบค้นเมื่อ 2017-01-30.
  5. Stalin, I (1929-11-07). "Год великого перелома: к XII годовщине Октября" [The year of the great breakthrough: towards the twelfth anniversary of October]. Pravda (ภาษาRussian). No. 259. Moscow. สืบค้นเมื่อ 2017-01-30. Истекший год был годом великого перелома на всех фронтах социалистического строительства. Перелом этот шел и продолжает идти под знаком решительного наступления социализма на капиталистические элементы города и деревни. [This year has been the year of the great breakthrough on all fronts of the construction of socialism. This breakthrough took place and continues to take place under the sign of a determined attack by socialism on the capitalist elements in town and country.]{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]