ข้ามไปเนื้อหา

การสังหารหมู่ที่ปีเตอร์ลู

พิกัด: 53°28′41″N 2°14′49″W / 53.478°N 2.247°W / 53.478; -2.247
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การสังหารหมู่ที่ปีเตอร์ลู
ภาพพิมพ์สีเหตุการณ์การสังหารหมู่ที่ปีเตอร์ลู โดย Richard Carlile
สถานที่เซนต์ปีเตอร์สฟีลด์ แมนเชสเตอร์ ราชอาณาจักรอังกฤษ
พิกัด53°28′41″N 2°14′49″W / 53.478°N 2.247°W / 53.478; -2.247
วันที่16 สิงหาคม 1819
ตาย18
เจ็บ400–700
ผู้โจมตี

การสังหารหมู่ที่ปีเตอร์ลู เกิดขึ้นที่เซนต์ปีเตอร์สฟีลด์ เมืองแมนเชสเตอร์ ราชอาณาจักรอังกฤษ เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 1819 มีประชาชน 15 คนเสียชีวิตหลังทหารม้าปรี่เข้าใส่ฝูงชนประมาณ 60,000 คนที่ชุมนุมเพื่อเรียกร้องการปฏิรูปการมีผู้แทนราษฎรในรัฐสภา

หลังสงครามนโปเลียนสิ้นสุดลงในปี 1815 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเฉียบพลัน ร่วมกับปัญหาการว่างงานเรื้อรังและเก็บเกี่ยวพืชผลไม่ได้เนื่องจากปีไร้ฤดูร้อน ซ้ำยังเดือดร้อนจากกฎหมายข้าวโพดทำให้ราคาขนมปังสูง ในขณะนั้นชายวัยผู้ใหญ่เพียงร้อยละ 11 ที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง และคนในภาคเหนือซึ่งได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากปัญหาดังกล่าวมีสิทธิเลือกตั้งน้อยมาก นักปฏิรูปมองว่าการปฏิรูประบบรัฐสภาเป็นทางออกและมีการรณรงค์มวลชนเพื่อเรียกร้องให้ชายทุกคนมีสิทธิเลือกตั้งทั่วไปในรัฐสภา จนสามารถรวบรวมรายชื่อได้กว่า 750,000 รายชื่อในปี 1817 แต่ถูกสภาสามัญชนปฏิเสธ เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำซ้ำอีกในต้นปี 1819 นักปฏิรูปมูลวิวัตจึงปลุกระดมฝูงชนขนาดใหญ่เพื่อบีงคับให้รัฐบาลลาออก ขบวนการนี้มีความเข้มแข็งมากเป็นพิเศษในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอังกฤษ อันเป็นที่ที่สหภาพรักชาติแมนเชสเตอร์จัดการชุมนุมใหญ่ในเดือนสิงหาคม 1819 โดยมีนักพูดมูลวิวัตที่มีชื่อเสียง เฮนรี ฮันต์

ไม่นานหลังเริ่มการชุมนุม พนักงานปกครองท้องถิ่นเรียกเยามันรีแมนเชสเตอร์และซัลฟอร์ดเข้ามาจับกุมตัวฮันต์และบุคคลอื่นอีกหลายคนที่อยู่บนเวทีด้วย เยามันรีบุกประเชิดเข้าใส่ฝูงชน ผลักผู้หญิงคนหนึ่งล้มลงและมีเด็กคนหนึ่งเสียชีวิต จนสุดท้ายจับกุมตัวฮันต์ได้ จากนั้นประธานพนักงานปกครองเชเชอร์ วิลเลียม ฮัลตัน เรียกกองทหารฮัสซาร์ที่ 15 เข้าสลายฝูงชน ทหารบุกประชิดพร้อมชักดาบออกมา และบันทึกร่วมสมัยประมาณว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 9 ถึง 17 คน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีก 400 ถึง 600 คน เหตุการณ์นี้ถูกหนังสือพิมพ์มูลวิวัต แมนเชสเตอร์อ็อบเซิร์ฟเวอร์ เรียกว่า "การสังหารหมู่ที่ปีเตอร์ลู" ให้ล้อกับยุทธการที่วอเตอร์ลู

นักประวัติศาสตร์ รอเบิร์ต พูล เรียกเหตุการณ์นี้ว่าเป็น "เหตุการณ์การเมืองที่นองเลือดที่สุดบนแผ่นดินอังกฤษในศตวรรษที่ 19" และ "แผ่นดินไหวการเมืองในถิ่นสำคัญของการปฏิวัติอุตสาหกรรมในภาคเหนือ"[1] หนังสือพิมพ์ของประเทศลงข่าวนี้ แต่ผลลัพธ์ทันทีหลังเหตุการณ์คือรัฐบาลผ่านพระราชบัญญํติหก ซึ่งพยายามปราบปรามการชุมนุมเพื่อวัตถุประสงค์การปฏิรูปมูลวิวัต นอกจากนี้ยังมีส่วนโดยอ้อมให้เกิดการก่อตั้งหนังสือพิมพ์ แมนเชสเตอร์การ์เดียน (ปัจจุบันคือ เดอะการ์เดียน)[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Poole (2019), pp. 1–2.
  2. Poole, Robert (2019). "The Manchester Observer: Biography of a Radical Newspaper, part 7: 'Enter the Guardian'". Bulletin of the John Rylands Library. 95, 1: 96–102 – โดยทาง Open access at publisher's site.