การล้อมมารีอูปอล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การล้อมมารีอูปอล
ส่วนหนึ่งของ แนวรุกยูเครนตะวันออกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรุกรานยูเครนของรัสเซีย

สภาพถนนที่ได้รับความเสียหายระหว่างการล้อม
วันที่24 กุมภาพันธ์ 2022 – 16 พฤษภาคม 2022
(2 เดือน และ 22 วัน)
สถานที่
ผล

รัสเซียได้ชัยชนะ

  • กองกำลังรัสเซียปิดล้อมมารีอูปอลอย่างสมบูรณ์ในวันพุธที่ 2 มีนาคม ถึงใจกลางเมืองในวันศุกร์ที่ 18 มีนาคม[1][2] และเข้ายึดครองเมืองอย่างสมบูรณ์ในวันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม
  • ทหารยูเครนที่เหลืออพยพจากอาซอว์สตัลไปยังดินแดนที่รัสเซียควบคุมหลังจากยอมจำนนต่อกองกำลังรัสเซีย[3]
คู่สงคราม
ธงของประเทศยูเครน ยูเครน
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
อะเลคซันดร์ ดวอร์นีคอฟ (ผู้บัญชาการกองกำลังรัสเซียในยูเครน)[4]
มีฮาอิล มีซินต์เซฟ[5] (Head of the NDCC)
อันเดรย์ ซูโฮเวตสกี [6] (41st CAA, place of death disputed)
วอลอดือมือร์ บารันยุก (เชลย)[7][8]
(36th Separate Marine Brigade)[9]

การล้อมมารีอูปอล เป็นการสู้รบทางทหารอย่างต่อเนื่องระหว่างยูเครน รัสเซีย และสาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์ซึ่งเป็นกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่ได้รับการสนับสนุนจากรัสเซีย ระหว่าง การรุกรานทางตะวันออกของยูเครน และ การรุกรานทางใต้ของยูเครน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรุกรานยูเครนของรัสเซีย ที่เริ่มเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ และสิ้นสุดในวันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เมื่อรัสเซียประกาศว่ากองกำลังยูเครนที่เหลืออยู่ใน มารีอูปอล ยอมจำนนหลังจากที่พวกเขาได้รับคำสั่งให้ยุติการสู้รบ

มารีอูปอลตั้งอยู่ในแคว้นดอแนตสก์ในยูเครน แต่ถูกสาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์อ้างสิทธิ์ กองกำลังรัสเซียปิดล้อมเมืองอย่างสมบูรณ์ในวันพุธที่ 2 มีนาคม หลังจากนั้นพวกเขาก็ค่อย ๆ เข้ายึดเมืองได้ เมื่อถึงวันเสาร์ที่ 22 เมษายน กองกำลังยูเครนที่เหลือได้ถอยทัพไปยังโรงรีดเหล็กอาซอว์สตัลซึ่งเป็นโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีการป้องกันอย่างสูง

กาชาด อธิบายถึงสถานการณ์ดังกล่าวว่า "พังพินาศ" และทางการยูเครนกล่าวหารัสเซียว่าสร้างวิกฤตด้านมนุษยธรรมครั้งใหญ่ในเมือง โดยเจ้าหน้าที่ของเมืองรายงานว่ามีพลเรือนเสียชีวิตประมาณ 21,000 คน เจ้าหน้าที่ของยูเครนยังรายงานด้วยว่าอย่างน้อย 95% ของเมืองถูกทำลายระหว่างการสู้รบ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการทิ้งระเบิดของรัสเซีย

อ้างอิง[แก้]

  1. "Russia says separatists 'tightening the noose' around Mariupol -RIA". Reuters. 18 March 2022. สืบค้นเมื่อ 29 March 2022.
  2. Daniel Buffey; Lorenzo Tondo (18 March 2022). "Fighting reaches central Mariupol as shelling hinders rescue attempts". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 March 2022. สืบค้นเมื่อ 20 March 2022.
  3. The Ukrainian authorities declare an end to the combat mission in Mariupol after weeks of Russian siege.
  4. Miriam Berger; Bryan Pietsch (11 April 2022). "What to know about Russia's new top commander in Ukraine". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 12 April 2022.
  5. "Russian 'Butcher of Mariupol' blamed for worst Ukraine war atrocities". The New York Post. 24 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 March 2022. สืบค้นเมื่อ 25 March 2022.
  6. Batchelor, Tom; Dalton, Jane (3 March 2022). "Russian Major General Andrei Sukhovetsky killed by Ukrainians in 'major demotivator' for invading army". Independent (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2022. สืบค้นเมื่อ 3 March 2022.
  7. "Un teniente coronel ucraniano capturado: Nuestro gobierno nos engaño en Mariúpol". SANA News (ภาษาสเปน). 8 May 2022.
  8. "Foreign fighters seeking 'adventure' in Ukraine – captured Kiev colonel". Azerbaycan 24. 8 May 2022.
  9. "Two defenders of Mariupol became Heroes of Ukraine". 19 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 March 2022. สืบค้นเมื่อ 19 March 2022.