การลูกเสือสำหรับเด็กชาย
ปกหนังสือ การลูกเสือสำหรับเด็กชาย ภาคที่หนึ่ง มกราคม พ.ศ. 2451 | |
ผู้ประพันธ์ | โรเบิร์ต เบเดน โพเอลล์ |
---|---|
ชื่อเรื่องต้นฉบับ | Scouting for Boys |
ผู้วาดภาพประกอบ | โรเบิร์ต เบเดน โพเอลล์ |
ศิลปินปก | จอห์น แฮซซัลล์ |
ประเทศ | สหราชอาณาจักร |
ภาษา | อังกฤษ |
หัวเรื่อง | การลูกเสือ |
ประเภท | หนังสือสำหรับครูและนักเรียนอ่าน |
พิมพ์ | 24 มกราคม พ.ศ. 2451[1] Horace Cox |
OCLC | 492503066 |
การลูกเสือสำหรับเด็กชาย: คู่มือการสอนการเป็นพลเมืองดี หรือชื่อในภาษาอังกฤษว่า Scouting for Boys: A handbook for instruction in good citizenship เป็นหนังสือว่าด้วยการฝึกลูกเสือ จัดพิมพ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2451 จนถึงปัจจุบัน มีการแก้ไขหลายครั้ง ทั้งเล็กน้อยและแก้ไขอย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงมีฉบับแปลเป็นภาษาต่าง ๆ รวมถึงภาษาไทยด้วย ฉบับแรกสุดเขียนโดยโรเบิร์ต เบเดน โพเอลล์ เนื้อหาหลักเป็นเรื่องการสังเกต การสะกดรอย พืชพรรณและสัตว์นานาชนิด การฝึกฝนตนเอง การพัฒนาตนเอง และหน้าที่พลเมือง ในหนังสือสอดแทรกประสบการณ์ของเบเดน-โพเอลล์ ตอนที่ยังเยาว์ ช่วงชีวิตการงานตอนต้น ขณะที่ไปกำกับกองเสือป่ามาฟีคิง การรบในสงครามโบเออร์ครั้งที่สอง และประสบการณ์ในค่ายลูกเสือเกาะบราวน์ซี
ประวัติ
[แก้]ก่อนหน้าที่จะมาเป็นหนังสือ การลูกเสือสำหรับเด็กชาย นั้น เบเดน-โพเอลล์ ได้เขียนหนังสือ คำแนะนำการเสือป่า (Aids to Scouting) เมื่อ พ.ศ. 2432[2] โดยกลั่นกรองประสบการณ์ของเขาในการสอดแนมทางทหาร หรือการเสือป่า และการพึ่งตนเอง ซึ่งได้ถ่ายทอดจากเฟรเดอริก รัสเซลล์ เบอร์แนม (Frederick Russell Burnham) ทหารแนวหน้าชาวอเมริกัน หลังเกิดการโจมตีที่มาฟีคิง คำแนะนำการสอดแนมได้กลายเป็นหนังสือยอดนิยมในหมู่ครูและนักเรียน[3][4][5]
ในช่วงการโจมตีที่มาฟีคิง เบเดน-โพเอลล์ ได้ให้ทหารคนสนิทรวบรวมเด็กชายอายุ 12-15 ปี เป็นกองเสือป่า ทำหน้าที่พลถือสาร นายไปรษณีย์ พยาบาลสนาม และพลปืน ต่อมาเด็กเหล่านี้มีบทบาทในช่วงสงครามโบเออร์ครั้งที่สองด้วย ครั้นเบเดน-โพเอลล์ กลับมายังสหราชอาณาจักร เขาทราบว่าหนังสือที่เขาเขียนเป็นที่นิยมในหมู่ครูและนักเรียน ใช้สอนการสังเกตและการใช้เหตุผลนิรนัย คือการใช้เหตุผลที่เอากฎธรรมชาติอันมีทั่วไปดีแล้วมาอธิบายสิ่งที่เกิด ต่อมาเบเดน-โพเอลล์ สนทนากับเออร์เนสต์ ทอมป์สัน เซตัน (Ernest Thompson Seton) ในเรื่องการฝึกเด็กและเยาวชน เซตันให้หนังสือธรรมชาติวิทยาอินเดียนแดงThe Birch Bark Roll of the Woodcraft Indians ซึ่งเขียนในปี พ.ศ. 2449[6] โพเอลล์ตัดสินใจปรับปรุงหนังสือให้เหมาะแก่เด็กชาย[3] โดยได้รับความช่วยเหลือจากมิตรสหาย อาทิ วิลเลียม อะเลกซานเดอร์ สมิท (William Alexander Smith) ผู้ก่อตั้งบอยส์บริเกด (Boys' Brigade) และไซริล อาร์เทอร์ เพียร์สัน (Cyril Arthur Pearson) เจ้าของโรงพิมพ์[7] ครั้นหนังสือถูกปรับปรุงแล้ว ได้ใช้ชื่อ เสือป่าน้อย (Boys' Patrols) ก่อนหน้าค่ายลูกเสือที่เกาะบราวน์ซี
หนังสือ การลูกเสือสำหรับเด็กชาย เผยแพร่เป็นรายปักษ์ (คือครึ่งเดือน) ทั้งสิ้น 6 ปักษ์ ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมีนาคม พ.ศ. 2451 แต่ละฉบับมีความยาวประมาณ 70 หน้า แม้ว่าหนังสือเล่มเดิมคือการเสือป่าสำหรับเด็กชายจะถูกนำมาปรับ แต่ผู้เขียนก็ได้ลดเนื้อหาทางทหารลง ปรับให้เป็นแนวสำหรับเด็กและนักสำรวจ นอกจากนี้ยังเพิ่มเกม คำปฏิญาณ กฎ และเกียรติของลูกเสือ[3][8] ต่อมาหนังสือถูกปรับแก้โดยผู้เขียนหลายคน ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขเล็กน้อยหรือการแก้ไขทั้งหมด กล่าวกันว่าหนังสือ การลูกเสือสำหรับเด็กชาย เป็นหนังสือขายดีอันดับสี่แห่งคริสต์ศตวรรษที่ 20[9][10]
เนื้อหา
[แก้]หนังสือทั้งหกตอนนั้น มีชื่อว่า การลูกเสือสำหรับเด็กชาย ราคาเล่มละ 4 เพนนี (สมัยนั้น 12 เพนนี เท่ากับ 1 ชิลลิง และ 20 ชิลลิง เท่ากับ 1 ปอนด์ทองคำ) ซึ่งไม่แพงเกินสมควรและสามารถหาซื้อได้ง่าย ตอนต้นบทมีนิทาน คำแนะนำสำหรับผู้กำกับลูกเสือ ตอนท้ายบทส่วนมากมีเกมและกิจกรรม รวมถึงรายชื่อหนังสือที่ควรอ่านเพิ่ม[11]
ตอนที่ 1 การลูกเสือเบื้องต้น
[แก้]หนังสือในปักษ์แรก หน้า 3 - 70 เป็นส่วนที่ว่าด้วยพื้นฐานของการลูกเสือ
1 | กองเสือป่ามาฟีคิง การลูกเสือ หนังสือต่าง ๆ คิม |
2 | สรุปหลักสูตรวิชาลูกเสือ นิทานการสังหารเอลสดอน (Elsdon murder) |
3 | องค์การลูกเสือ คำปฏิญาณ การเคารพ เครื่องหมายลับ เครื่องแบบ เพลงศึก สัญญาณตรวจตรา |
4 | กฎของลูกเสือ เกม การละเล่น |
ตอนที่ 2 การสะกดรอยและการรู้จักพืชและสัตว์
[แก้]หนังสือในปักษ์ที่สอง หน้า 71 - 174 มีบทที่ 2 การสะกดรอย และบทที่ 3 การรู้จักพืชและสัตว์ แต่ละบทมีการเล่นรอบกองไฟ 3 แบบ แต่ละหัวข้อมีคำแนะนำสำหรับผู้กำกับลูกเสือ และหนังสือสำหรับอ่านเพิ่ม
5 | การสังเกตสัญญาณและการตรวจการณ์ รายละเอียดเกี่ยวกับคน เบาะแสจากศพ รายละเอียดจากเขตประเทศ การใช้สายตาให้เฉียบคม |
6 | การตามกลิ่นคนและสัตว์ รอยเดินของคน ข้อแนะนำการตามกลิ่น |
7 | การสังเกตสัญญาณและการใช้เหตุผลนิรนัย ตัวอย่างนิรนัย คำแนะนำสำหรับผู้กำกับลูกเสือ |
8 | การสะกดรอย การซ่อนตัว การสอนให้สะกดรอย เกมสะกดรอย |
9 | สัตว์นานาชนิด นก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา แมลง ข้อแนะนำสำหรับผู้กำกับลูกเสมือ เกียรติ การล่าสิงโต หนังสือ เกม |
10 | พืชพรรณ ต้นไม้ |
ตอนที่ 3 ชีวิตในค่ายพักแรมและการหาเส้นทาง
[แก้]หนังสือในปักษ์ที่สาม หน้า 143 - 206 ประกอบด้วยบทที่ 4 ชีวิตในค่ายพักแรม และบทที่ 5 การหาเส้นทาง แต่ละหัวข้อมีคำแนะนำสำหรับผู้กำกับลูกเสือ และหนังสือสำหรับอ่านเพิ่ม
11 | การบุกเบิก การสร้างกระท่อม การตัดฟันต้นไม้ การสร้างสะพาน การประเมินตนเอง ลูกเสือทุกนายต้องพร้อมเสมอทุกสถานการณ์ |
12 | การตั้งค่ายพักแรม ความสะดวกสบายในค่าย การเล่นรอบกองไฟอย่างถูกต้อง ความสะอาดเรียบร้อย |
13 | ชีวิตในค่ายพักแรม การหุงหาอาหาร การทำขนมอัง การไล่และฆ่าวัวเพื่อเป็นอาหาร ความสะอาด น้ำดื่ม |
14 | ชีวิตในพื้นที่เปิด การสำรวจ การล่องเรือ ทักษะทางน้ำ ทักษะทางภูเขา การลาดตระเวน การทำงานกลางคืน รู้จักกับสภาพอากาศ |
15 | การค้นหาเส้นทาง การประมาณความสูงและระยะทาง การหาทิศเหนือ |
16 | สัญญาณต่าง ๆ บอกอะไร การส่งสัญญาณ สัญญาณนกหวีดและสัญญาณธง การฝึกปฏิบัติใช้สัญญาณ |
ตอนที่ 4 ความอดทนและเกียรติศักดิ์
[แก้]หนังสือในปักษ์ที่สี่ หน้า 207 - 270 ประกอบด้วยบทที่ 6 ความอดทนสำหรับลูกเสือ หรือทำตัวอย่างไรจึงจะแข็งแรง และบทที่ 7 เกียรติศักดิ์ของอัศวิน แต่ละหัวข้อมีคำแนะนำสำหรับผู้กำกับลูกเสือ การฝึกปฏิบัติ และหนังสือสำหรับอ่านเพิ่ม.
17 | โตอย่างไรจีงจะแข็งแรง ความอดทนสำหรับลูกเสือ การออกกำลังกายและวัตถุประสงค์ จมูก หู ตา ฟัน |
18 | นิสัยเพื่อสุขภาพ การทำให้แข็งแรง การรักษาความสะอาด การสูบบุหรี่ การดื่ม การตื่นเช้า การยิ้ม |
19 | การป้องกันโรค การรักษาโรคในค่าย จุลชีพและวิธีการค้นหา อาหาร เสื้อผ้า |
20 | เกียรติศักดิ์ของอัศวิน เกียรติศักดิ์ที่มีแก่ผู้อื่น นักบุญจอร์จ กฎของอัศวิน การไม่เห็นแก่ตัว การอุทิศตนอย่างแรงกล้า ความใจดีมีเมตตา ความเป็นมิตร ความสุภาพ ความมีน้ำใจต่อสตรี |
21 | วินัยในตนเอง เกียรติ การเชื่อฟัง และการลงโทษ การให้กำลังใจ การมีอารมณ์ดีและไม่โกรธ |
22 | การพัฒนาตนเอง หน้าที่ต่อพระเป็นเจ้า การหาทรัพย์สิน การดำรงชีวิต การฝึกพัฒนาตนเอง การพัฒนาสัมมาชีพ |
ตอนที่ 5 การช่วยชีวิตและความรักชาติ
[แก้]หนังสือในปักษ์ที่ห้า หน้า 271 - 334 ประกอบด้วยบทที่ 8 การช่วยชีวิต หรือการปฏิบัติเมื่อมีเหตุร้าย และบทที่ 9 ความรักชาติ หรือหน้าที่พลเมือง
23 | จงเตรียมพร้อมสำหรับเหตุไม่คาดฝันเสมอ เหรียญเซนต์จอห์น การฝึกปฏิบัติช่วยชีวิต |
24 | เหตุร้ายและวิธีการปฏิบัติ ความตื่นกลัว การหนีไฟ ทิศทาง การช่วยคนจมน้ำ การช่วยคนตกม้า อุบัติเหตุต่าง ๆ สุนัขบ้า การฝึกปฏิบัติช่วยชีวิต |
25 | การช่วยเหลือผู้อื่น การปฐมพยาบาล งูกัด ทรายเข้าตา การฆ่าตัวตาย การขนย้ายผู้ป่วย |
26 | จักรวรรดิของเรา (สมัยนั้นเป็น จักรวรรดิบริเตน) จักรวรรดิเจริญอย่างไร จักรวรรดิอยู่ได้ด้วยอะไร |
27 | หน้าที่พลเมือง หน้าที่ของลูกเสือในฐานะพลเมือง หน้าที่ในฐานะทหาร การแม่นปืน การช่วยเหลือตำรวจ เกม |
28 | รวมกันเราอยู่ แยกหมู่เราตาย (united we stand, divided we fall) กองทัพบกและเรือของเรา ธงชาติของเรา รัฐบาลของเรา กษัตริย์ของเรา |
ตอนที่ 6 หมายเหตุสำหรับผู้กำกับลูกเสือ เกม การฝึกปฏิบัติ และนิทรรศการ
[แก้]หนังสือในปักษ์ที่หก หน้า 335 - 398 มีบทเดียวสำหรับใช้เป็นคู่มือผู้กำกับลูกเสือ
การเล่นเกม อย่ามองข้ามไป, จักรวรรดิบริเตนต้องการท่าน, จักรวรรดิโรมันล่มสลายเพราะพลเมืองเลว, พลเมืองเลวมีมากในปัจจุบัน, ฟุตบอล, พลเมืองที่ดีในวันหน้าคืออะไร, การลูกเสือในยามสงบ, การทหาร, การสอนวิชาลูกเสือ, หน่วยงานที่ควรติดต่อ, คำแนะนำ, จงเตรียมพร้อม, ห้องสโมสร, คู่มือสอน, คำแนะนำแลบะวิธีการสอน, การจินตนาการ, หน้าที่ต่อผู้น้อย, วินัย, ศาสนา, ความต่อเนื่อง, การพัฒนาบุคลิกภาพ | |
วิชาลูกเสือขั้นต้น การสะกดรอย พืชพรรณและสัตว์นานาชนิด ชีวิตในค่าย การหาทิศทาง ความอดทนและสุขภาพ เกียรติของอัศวิน การช่วยชีวิตและปฐมพยาบาล ความรักชาติ การถล่มกรุงเดลี
เพลงชาติต่าง ๆ กีฬา | |
คำแนะนำการจัดนิทรรศการ | |
เรื่องราวของการลูกเสือ | |
ใบแก้คำผิด |
สถานะลิขสิทธิ์
[แก้]สมาคมลูกเสือสหราชอาณาจักร เป็นผู้ทรงลิขสิทธิ์ในหนังสือ การลูกเสือสำหรับเด็กชาย ในสหราชอาณาจักรจวบจนวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544 ที่ผ่านมา เนื่องจากสิ้นปีที่ 70 นับแต่ผู้สร้างสรรค์ตาย ปัจจุบันจึงมีสถานะเป็นงานอันไม่มีลิขสิทธิ์[12] เว้นแต่จะมีการแก้ไขโดยผู้อื่น ก่อนหน้านี้การทำสำเนาต้องได้รับอนุญาตจากสมาคมฯ ในส่วนของสหรัฐอเมริกา คณะลูกเสือแห่งสหรัฐอเมริกา ได้รับลิขสิทธิ์จากเบเดน-โพเอลล์ โดยตรง เขียนเป็นหนังสือเรื่อง คู่มือลูกเสือ ในปี พ.ศ. 2453[13]
ในประเทศไทย หนังสือ การลูกเสือสำหรับเด็กชาย แปลโดยอภัย จันทวิมล เมื่อ พ.ศ. 2518 และจัดพิมพ์โดยองค์การค้าของคุรุสภา[14]
หนังสือเล่มอื่น
[แก้]เบเดน-โพเอลล์ เขียนหนังสือเล่มอื่นด้วย อาทิ
- คู่มือลูกหมาป่า (The Wolf Cub's Handbook, พ.ศ. 2459) เป็นคู่มือลูกเสือสำรอง
- การท่องสู่ความสำเร็จ (Rovering to Success, พ.ศ. 2465) เป็นคู่มือลูกเสือชาวบ้านวัยหนุ่ม
- มือขวาของผู้กำกับลูกเสือ (Aids to Scoutmastership, พ.ศ. 2463) เป็นคู่มือผู้กำกับลูกเสือ[15]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Boy Scouts movement begins". history.com. สืบค้นเมื่อ 15 July 2014.
- ↑ Baden-Powell, Robert (1899). Aids to scouting for N.-C.Os. & men. London: Gale & Polden. OCLC 316520848.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "First Scouting Handbook". Order of the Arrow, Boy Scouts of America. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-11. สืบค้นเมื่อ 29 September 2014.
- ↑ "Aids to Scouting". Johnny Walker's Scouting Milestones. 2007. สืบค้นเมื่อ 1 June 2015.
- ↑ "Be Prepared". DGS: Scouting, Interview from Listener magazine. 1937. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 January 2007. สืบค้นเมื่อ 22 January 2007.
- ↑ Seton, Ernest Thompson (1906). The birch-bark roll of the woodcraft Indians: containing their constitution, laws, games and deeds. New York: Doubleday. OCLC 150622085.
- ↑ Boehmer, Elleke (2004). Notes to 2004 edition. Oxford: Oxford University Press.
- ↑ "Woodcraft Indians". Order of the Arrow, Boy Scouts of America. สืบค้นเมื่อ 29 September 2014.
- ↑ Smith, David (22 April 2007). "Scouts uncool? Not in my book". The Observer. สืบค้นเมื่อ 2007-08-17.
- ↑ Hislop, Ian (10 June 2007). "The Edwardians". BBC Four. สืบค้นเมื่อ 2007-10-31.
- ↑ Rohrer, Finlo (27 July 2007). "What would Baden-Powell do?". BBC News Magazine. สืบค้นเมื่อ 2007-10-30.
- ↑ "Copyright. A guide to reproducing material owned by The Scout Association" (PDF). The Scout Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-03. สืบค้นเมื่อ 2010-02-26.
- ↑ Jeal, Tim (1989). Baden-Powell. London: Hutchinson. ISBN 0-09-170670-X.
- ↑ โพเอ็ลล์ แห่งกิลเวลล์, ลอร์ดบาเดน. การลูกเสือ สำหรับเด็กชาย (อภัย จันทวิมล แปล). กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.
- ↑ [1]