ข้ามไปเนื้อหา

การรั่วไหลของน้ำมันดิบจากแท่นขุดเจาะดีพวอเทอร์ฮอไรซัน

พิกัด: 28°44′12″N 88°23′14″W / 28.73667°N 88.38716°W / 28.73667; -88.38716
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพถ่ายอาณาบริเวณคราบน้ำมันจากดาวเทียมTerra ของนาซา เมื่อ 24 พฤษภาคม 2553

การรั่วไหลของน้ำมันดิบจากแท่นขุดเจาะดีพวอเทอร์ฮอไรซัน (หรือที่เรียกในชื่ออื่นว่า การรั่วไหลของน้ำมันดิบของบีพี หรือ การรั่วไหลของน้ำมันดิบในอ่าวเม็กซิโก) [1][2][3][4] เป็นเหตุการณ์น้ำมั่นรั่วขนาดใหญ่ในอ่าวเม็กซิโก ระหว่างวันที่ 20 เมษายน - 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 (86 วัน) ซึ่งนับว่าเป็นการรั่วไหลนอกชายฝั่งที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา[5] บางแหล่งประเมินเมื่อประมาณปลายเดือนพฤษภาคมว่าเป็นการรั่วไหลของน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วยปริมาณน้ำมั่นรั่วรวมหลายสิบล้านแกลลอน[6] การรั่วครั้งนี้เกิดมาจากการที่น้ำมันพุ่งขึ้นจากใต้ทะเล ซึ่งเป็นผลจากการระเบิดของแท่นขุดเจาะน้ำมันดีพวอเตอร์ฮอไรซัน เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2553 การระเบิดครั้งนี้ทำให้คนงานเสียชีวิต 11 คน และบาดเจ็บ 17 คน[7]

แท่นขุดแห่งนี้เป็นสัมปทานของบริติชปีโตรเลียม (BP) เป็นแท่นเจาะแบบเคลื่อนที่ ขณะเกิดเหตุระเบิด กำลังขุดเจาะน้ำมันดิบจากระดับความลึก 1,500 เมตร [8] และจมลงเมื่อวันที่ 22 เมษายน 36 ชั่วโมงหลังการระเบิด [9]

นกกระทุงที่ได้รับผลกระทบจากน้ำมันดิบ จับได้ที่เกาะแกรนด์ไอเซิล รัฐลุยเซียนา

ในช่วงของการรั่วไหล ประมาณการว่ามีน้ำมันดิบรั่วไหลออกมาจากช่องเปิดใต้ทะเลระหว่างวันละ 12,000 ถึง 100,000 บาร์เรล (1.9 ล้าน ถึง 16 ล้านลิตรต่อวัน) ก่อให้เกิดภาวะปนเปื้อนเป็นอาณาบริเวณระหว่าง 6,500 ถึง 24,000 ตารางกิโลเมตร [10] และภายหลังเหตุการณ์นี้ มีประมาณการว่ามีน้ำมันรั่วไหลทั้งสิ้น 4.9 ล้านบาร์เรล[11]

องค์การคุ้มครองสิ่งแวดล้อมประกาศว่า บีพีได้ถูกสั่งห้ามในการทำสัญญาใหม่กับรัฐบาลสหรัฐชั่วคราว กระทรวงยุติธรรมสหรัฐได้ตกลงกับบีพีในการตั้งค่าปรับและค่าใช้จ่ายอื่นๆในเหตุการณ์นี้ถึง 4.525 พันล้านเหรียญ[12][13][14] ซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์ แต่การดำเนินการด้านกฎหมายยังไม่มีความชัดเจนจนกว่าจะได้ข้อสรุปภายในปี พ.ศ. 2557 เพื่อที่จะตรวจสอบค่าใช้จ่ายในการพื้นฟูและประเมินความเสียหายของทรัพยากรธรรมชาติ[15][16] ซึ่งในเดือนกุมภาพันธุ์ พ.ศ. 2556 สินไหมทางอาญาและทางแพ่งแก่กองทุนที่รับผิดชอบ มีค่าใช้จ่ายตกกับบีพี ราว 42.2 พันล้านเหรียญ[17]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "The Ongoing Administration-Wide Response to the Deepwater BP Oil Spill". Whitehouse.gov. 2010-05-05. สืบค้นเมื่อ 2010-05-08.
  2. White, Stephen (2010-05-03). "BP's oil slickers; Bosses who earn millions claimed they could handle rig explosions". Daily Mirror. p. 14. สืบค้นเมื่อ 2010-05-13.
  3. "BP 'army' battles Macondo flow". Upstream Online. NHST Media Group. 2010-05-10. สืบค้นเมื่อ 2010-05-21.
  4. "Interpreting NOAA's Trajectory Prediction Maps for the Deepwater Horizon Oil Spill" (PDF). National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ 2010-05-24.
  5. "Gulf oil spill now largest offshore spill in U.S. history as BP continues plug effort". USA Today. 2010-05-27. สืบค้นเมื่อ 2010-05-27.
  6. [ http://www.google.com/hostednews/ap/article/ALeqM5i-yfHJzPLDeBIhG5JDEF6VbaPR8QD9FVFR7G1 เก็บถาวร 2010-06-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Some oil spill events from Thursday, May 27, 2010]
  7. Welch, William; Joyner, Chris (2010-05-25). "Memorial Services Honors 11 Dead Oil Rig Workers". USA Today. สืบค้นเมื่อ 2010-05-26.
  8. "Macondo Prospect, Gulf of Mexico, USA". offshore-technology.com. 2005-10-20. สืบค้นเมื่อ 9 May 2010.
  9. Resnick-Ault, Jessica; Klimasinska, Katarzyna (2010-04-22). "Transocean Oil-Drilling Rig Sinks in Gulf of Mexico". Bloomberg L.P.]]. สืบค้นเมื่อ 2010-04-22.
  10. Burdeau, Cain; Holbrook, Mohr (2010-05-01). "Expert: Surface area of Gulf oil spill has tripled". Edmonton Sun. Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-07. สืบค้นเมื่อ 2010-05-13.
  11. On Scene Coordinator Report on Deepwater Horizon Oil Spill (PDF) (Report). 2011. สืบค้นเมื่อ 22 February 2013. {{cite report}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  12. Krauss, Clifford; Schwartz, John (15 November 2012). "BP Will Plead Guilty and Pay Over $4 Billion". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 3 February 2013.
  13. Muskal, Michael (29 January 2013). "BP pleads guilty to manslaughter in 2010 gulf oil spill". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 3 February 2013.
  14. Proctor, Carleton (1 August 2010). "Big price tag for recovery of Gulf Coast". Pensacola News Journal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-27. สืบค้นเมื่อ 2010-08-01.
  15. Thompson, Richard (5 April 2013). "BP to begin presenting its defense Monday in Gulf oil spill trial". The Times-Picayune. สืบค้นเมื่อ 13 April 2013.
  16. Oberman, Mira (19 February 2013). "BP vows to 'vigorously defend' itself at US oil spill trial". Agence France-Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-09. สืบค้นเมื่อ 13 April 2013.
  17. BP Fighting A Two Front War As Macondo Continues To Bite And Production Drops - Forbes

28°44′12″N 88°23′14″W / 28.73667°N 88.38716°W / 28.73667; -88.38716