ข้ามไปเนื้อหา

การระบาดของโรคในเอลูรู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การระบาดของโรคในเอลูรู
ที่ตั้งของอำเภอโคทาวรีตะวันตก ที่ซึ่งเอลูรูตั้งอยู่ ในรัฐอานธรประเทศ
โรคไม่ทราบโรค
แหล่งที่มาไม่ทราบ
การระบาดครั้งแรกเอลูรู, รัฐอานธรประเทศ, ประเทศอินเดีย
รายงานผู้ป่วยรายแรก5 ธันวาคม 2020
ผู้ป่วยยืนยันสะสม585~[1]
ผู้ป่วยปัจจุบัน82[1]
ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา82[1]
ผู้ป่วยอันตรายถึงชีวิต32[1]
หาย503[1]
เสียชีวิต
1
อัตราเสียชีวิต0.18% (สูงสุด)
Territories
เอลูรู, รัฐอานธรประเทศ, ประเทศอินเดีย

ในต้นเดือนธันวาคม 2020 ได้เกิดโรคที่ไม่รู้จักมาก่อนระบาดในเมืองเอลูรู ทางใต้ของรัฐอานธรประเทศ ในประเทศอินเดีย กรณีแรกมีรายงานในวันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม 2020 และภายในสัปดาห์ต่อมาได้มีรายงานผู้ป่วยเพิ่มอีกมากกว่าห้าร้อยรายและมีผู้เสียชีวิตหนึ่งคน ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุโรคแต่มีการต้องสงสัยการปนเปื้อนโลหะหนักในแหล่งน้ำมากที่สุด

การระบาด

[แก้]

ผู้ป่วยกรณีแรกมีบันทึกไว้ในเย็นของวันที่ 5 ธันวาคม 2020 และภายในวันต่อมาได้มีผู้ป่วยส่งเข้าโรงพยาบาลราวสองสามร้อยคนด้วยอาการที่ใกล้เคียงกัน รายงานผู้เสียชีวิตรายเดียวเป็นชายอายุ 45 ปีที่มีอาการใกล้เคียงแต่เสียชีวิตด้วยหัวใจวายซึ่งไม่เกี่ยวกับอาการดังกล่าวในวันที่ 5 ธันวาคม[2][3][4] โรคนั้นเริ่มแรกพบในย่านวันทาวน์ของเมืองเอลูรูก่อนจะแพร่กระจายไปยังพื้นที่อื่น ๆ ของเมือง เช่นเอลูรูชนบทและหมู่บ้านเดนดูลูรู ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลรัฐบาลเอลูรู ในขณะที่บางส่วนที่ต้องการการดูแลเพิ่มเติมจะถูกส่งไปยังสถาบันต่าง ๆ ในวิชัยวาทา และ คุนตูร์[5]

ภายในคืนของวันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม 2020 มีผู้ป่วยมากกว่า 400 คน ถึงแม้จะพบว่ามีผู้ป่วยในทุกช่วงอายุ แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ มากกว่า 300 รายเป็นเด็ก[6][7] จำนวนผู้ป่วยรวมอยู่ที่ 450 ราย และได้รับการปล่อยกลับบ้าน 200 คนในวันที่ 7 ธันวาคม[8][9] ในขณะที่อาการที่ได้รับรายงานมีลักษณะเดียวไม่ว่าจะอายุเท่าไรหรือเพศอะไร ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 20-30 ปี[3][8] ผู้ป่วยใหม่ได้ลดจำนวนลงอย่างขัดเจนในวันที่ 8 ธันวาคม 2020 ในขณะที่ผู้ป่วยที่ได้รับการปล่อยตัวจากโรงพยาบาล 6 คนกลับพบอาการชักซ้ำรอบที่สองและถูกส่งตัวเข้าโรงพยาบาลอีกครั้ง[10]

อาการ

[แก้]

อาการที่มีรายงานได้แก่ปวดหัว, อาเจียน, วิงเวียน, การหดเกร็ง, ชัก, คลื่นเหียน, ความวิตกกังวล, สูญเสียการรับรู้ และอาการทางประสาทวิทยาอื่น ๆ ที่มีการบันทึกไว้ว่าใกล้เคียงกับลมชัก[11][12]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Bandari, Pavan Kumar (9 December 2020). "AP govt. enhances package for three types of treatment in Aarogyasri for Eluru incident victims". www.thehansindia.com. สืบค้นเมื่อ 2020-12-09.
  2. Mogul, Rhea; Mitra, Esha; Sud, Vedika; Rao, Deepak (2020-12-07). "Unidentified illness hospitalizes more than 300 people in India". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-07. สืบค้นเมื่อ 2020-12-07.
  3. 3.0 3.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :1
  4. Ghosh, Raya (2020-12-07). "What is happening in Eluru? Andhra town trends online after mysterious disease outbreak". India Today. สืบค้นเมื่อ 2020-12-07.
  5. "Chemical substance found in pesticides suspected to be behind mysterious illness in AP". The News Minute. 8 December 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-12-08.
  6. Dash, Jatindra; Varadhan, Sudarshan (7 December 2020). "Hundreds rushed to hospital in India, one dead from unknown illness". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-07. สืบค้นเมื่อ 2020-12-07 – โดยทาง uk.reuters.com.
  7. "Mystery illness lands over 300 people in the hospital in southern India". www.cbsnews.com. สืบค้นเมื่อ 2020-12-07.
  8. 8.0 8.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :02
  9. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Ellis-Petersen
  10. "Eluru 'mystery' illness: At least six suffer second seizure, readmitted". The Indian Express. 9 December 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-12-09.
  11. "1 Dead, 292 Fall Sick In Andhra Pradesh Due To Mysterious Disease". NDTV.com. สืบค้นเมื่อ 2020-12-07.
  12. "Andhra Pradesh: 'Mystery' illness puts hundreds in hospital". BBC News. 2020-12-07. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-07. สืบค้นเมื่อ 2020-12-07.