ข้ามไปเนื้อหา

การฟื้นฟูภาษาฮีบรู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หน้าแรกของหนังสือพิมพ์ HaZvi พร้อมหัวข้อย่อยที่เขียนว่า "หนังสือพิมพ์สำหรับข่าว วรรณกรรม และวิทยาศาสตร์"

การฟื้นฟูภาษาฮีบรู เกิดขึ้นในยุโรปและปาเลสไตน์ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 จนเข้าสู่ศตวรรษที่ 20 ซึ่งภาษาฮีบรูถูกเปลี่ยนสถานะจากภาษาศักดิ์สิทธิ์ของศาสนายูดาห์ไปเป็นภาษาที่ใช้พูดใช้เขียนเป็นชีวิตประจำวันในอิสราเอล การฟื้นฟูนี้เริ่มต้นเมื่อชาวยิวจากภูมิภาคอันหลากหลาย ย้ายและมาตั้งถิ่นฐานในภูมิภาคปาเลสไตน์ข้าง ๆ ชาวยิวด้วยกันในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 เมื่อชาวยิวดั้งเดิมและชาวยิวที่ย้ายเข้ามาใหม่เริ่มใช้ภาษาฮีบรูเป็นภาษากลาง,[1][2] ซึ่งเป็นภาษาประวัติศาสตร์ร่วมของชาวยิวทั้งหมด

ในขณะเดียวกันก็ได้มีการพัฒนาคู่ขนานขึ้นในยุโรปซึ่งเปลี่ยนภาษาฮีบรูจากศักดิ์สิทธิ์เป็นภาษาวรรณกรรม[3] ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาแผนการศึกษาชาตินิยม[4] ภาษาฮีบรูใหม่นี้เป็นหนึ่งในสามภาษาราชการของปาเลสไตน์ในอาณัติ และเป็นหนึ่งในสองภาษาทางการของอิสราเอลร่วมกับภาษาอาหรับหลังจากประกาศอิสรภาพของอิสราเอลในปี 1948 และในเดือนกรกฎาคม 2018 อิสราเอลได้ผ่านกฎหมายใหม่ซึ่งกำหนดให้ภาษาฮีบรูเป็นภาษาราชการเพียงหนึ่งเดียวของประเทศ และเปลี่ยนภาษาอาหรับเป็น "สถานะพิเศษ"[5]

นอกจากกระบวกการทางภาษาแล้ว การฟื้นฟูนี้ก็ถูกใช้ในการทำให้ทันสมัยของชาวยิวและการเคลื่อนไหวทางการเมือง ทำให้ผู้คนจำนวนมากเปลี่ยนชื่อของตนเอง[6] และกลายเป็นหลักการของอุดมการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการตั้งถิ่นฐานและการเปลี่ยนชื่อแผ่นดิน ขบวนการไซออนิสต์[7] และนโยบายของอิสราเอล

กระบวนการฟื้นฟูของภาษาฮีบรูเป็นภาษาในชีวิตประจำวันถือเป็นสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์อย่างมาก ไม่เคยมีภาษาธรรมชาติใดใดที่มีผู้พูดเป็นหลักล้านหลังจากไม่หลงเหลือผู้พูดเลย และไม่เคยมีประวัติศาสตร์ของภาษาศักดิ์สิทธิ์กลายเป็นภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

การฟื้นฟูภาษาฮีบรูก็ยังเป็นมีการเปลี่ยนแปลงของภาษาอีกด้วย ถึงแม้ว่าผู้นำกระบวนการนี้แรก ๆ จะเน้นว่าเป็นการดำเนินต่อ "หลังจากชีวิตของชาวฮีบรูสิ้นสุดลง" สิ่งที่เกิดขึ้นคือภาษาที่มีพื้นฐานการยอมรับที่กว้างขวางขึ้น เช่น คุณลักษณะต่าง ๆ ที่ได้รับมาจากภาษาฮีบรูของทุกยุคสมัย เช่นเดียวกับภาษาที่ไม่ใช่ฮีบรูที่ใช้โดยชุมชนชาวยิวทั่วยุโรป แอฟริกาเหนือ และตะวันออกกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากภาษายิดดิช

อ้างอิง

[แก้]
  1. Parfitt, Tudor (1972) 'The Use of Hebrew in Palestine 1800–1822.' Journal of Semitic Studies, 17 (2). pp. 237–252.
  2. Tudor Parfitt; ”The Contribution of the Old Yishuv to the Revival of Hebrew“, Journal of Semitic Studies, Vol. XXIX, Iss. 2, 1 October 1984, pp. 255–265, https://doi.org/10.1093/jss/XXIX.2.255
  3. Parfitt, Tudor (1983) ”Ahad Ha-Am's Role in the Revival and Development of Hebrew.” In: Kornberg, J., (ed.), At the crossroads: essays on Ahad Ha-am. New York: State University of New York Press, pp. 12–27.
  4. Parfitt, Tudor (1995) ”Peretz Smolenskin, the Revival of Hebrew and Jewish Education.” In: Abramson, G. and Parfitt, T., (eds.), Jewish education and learning : published in honour of Dr. David Patterson on the occasion of his seventieth birthday. Chur, Switzerland: Harwood Academic Publishers, pp. 1–11.
  5. Halbfinger, David M.; Kershner, Isabel (19 July 2018). "Israeli Law Declares the Country the 'Nation-State of the Jewish People'". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2018-07-21.
  6. "The Hebraization of Surnames". Jewish Agency for Israel. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-21. สืบค้นเมื่อ 2009-01-07.
  7. Paul Johnson, A History of the Jews, p. 442. " Yet in all [of young David Ben-Gurion's] activity, three salient principles remained constant. First, Jews must make it their priority to return to the land; ‘the settlement of the land is the only true Zionism, all else being self-deception, empty verbiage and merely a pastime’. [Quoted in Encyclopaedia Judaica, iv 506.] Second, the structure of the new community must be designed to assist this process within a socialist framework. Third, the cultural binding of the Zionist society must be the Hebrew language.