ข้ามไปเนื้อหา

การปิดล้อม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เครื่องบินซี-47 กำลังลำเลียงทรัพยากรที่ท่าอากาศยานเท็มเพิลโฮฟในเบอร์ลิน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขนส่งเสบียงทางอากาศที่ทำลายการปิดกั้นทางบกของสหภาพโซเวียตเมื่อ ค.ศ. 1948 ในเบอร์ลินตะวันตก

การปิดล้อม (อังกฤษ: blockade) เป็นการกระทำอย่างเข้มงวดเพื่อป้องกันไม่ให้ประเทศหรือภูมิภาคได้รับหรือส่งออกอาหาร เสบียง อาวุธ การสื่อสาร และผู้คนด้วยกำลังทหาร การปิดล้อมแตกต่างจากการคว่ำบาตรที่เป็นอุปสรรคทางกฎหมายต่อการค้ามากกว่าทางกายภาพ นอกจากนี้การปิดล้อมยังแตกต่างจากการล้อม (siege) ตรงที่การปิดล้อมมักจะมุ่งเน้นไปทั้งประเทศหรือภูมิภาคแทนที่จะเป็นป้อมปราการหรือเมือง และเป้าหมายการปิดล้อมอาจไม่ใช่เพื่อยึดครองพื้นที่เสมอไป

ในอดีตส่วนใหญ่จะเป็นการปิดล้อมทางทะเล เช่น อาร์มีเนียที่เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลและถูกปิดล้อมโดยประเทศตุรกีกับอาเซอร์ไบจาน[1] ทำให้อาร์มีเนียไม่สามารถดำเนินการค้าระหว่างประเทศผ่านทั้งสองประเทศนี้ได้ และส่วนใหญ่จะทำการค้ากับประเทศจอร์เจีย ซึ่งเป็นการจำกัดการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Opening Borders: Armenia's Economic Risks". www.evnreport.com (ภาษาอังกฤษ). 9 March 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-05-12.
  2. Sahakyan, Armen (2014-02-20). "Economic Blockades and International Law: The Case of Armenia". The Armenian Weekly (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-05-12.