การตีความฝัน (หนังสือ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การตีความฝัน  
หน้าปกฉบับตีพิมพ์ครั้งแรกในภาษาเยอรมัน
ผู้ประพันธ์ซิกมุนด์ ฟรอยด์
ชื่อเรื่องต้นฉบับDie Traumdeutung
ผู้แปลภาษาอังกฤษ: เอ. เอ. บริลล์ (ฉบับแรกสุด)
เจมส์ สเทรชี (ฉบับที่ได้รับอนุญาต)
จอยซ์ คริก (ฉบับล่าสุด)
ประเทศออสเตรีย
ภาษาเยอรมัน
หัวเรื่องการตีความฝัน
สำนักพิมพ์Franz Deuticke, Leipzig & Vienna
วันที่พิมพ์4 พฤษจิกายน ค.ศ. 1899
(ลงวันที 1900)
พิมพ์ในภาษาอังกฤษ
1913
ชนิดสื่อรูปเล่ม
ข้อความการตีความฝัน ที่ วิกิซอร์ซ

การตีความฝัน (อังกฤษ: The Interpretation of Dreams; เยอรมัน: Die Traumdeutung) เป็นหนังสือโดย ซิกมุนด์ ฟรอยด์ นักจิตวิทยา หนังสือนี้แนะนำทฤษฎีจิตไร้สำนึกที่เกี่ยวข้องกับการตีความฝัน และยังเป็นหนังสือเล่มแรกที่อภิปรายถึงสิ่งที่ต่อมาเป็นทฤษฎีปมเอดิเพิส (Oedipus complex) ฟรอยด์ทบทวนหนังสือนี้อย่างน้อยแปดครั้ง และในฉบับพิมพ์ครั้งที่สาม ได้เพิ่มส่วนกว้างขวางซึ่งกล่าวถึงสัญลักษณ์นิยมฝันเป็นตัวอักษรมาก ตามอิทธิพลของวิลเฮล์ม ซทีเคิล (Wilhelm Stekel) ฟรอยด์กล่าวถึงงานนี้ว่า "วิจารณญาณนี้ตกแก่ผู้หนึ่งเพียงครั้งหนึ่งในชีวิต" (Insight such as this falls to one's lot but once in a lifetime.) หนังสือฉบับพิมพ์ครั้งแรกขายได้น้อยมาก กว่าจะขายได้ 600 เล่มแรกก็ใช้เวลาหลายปี ทว่า งานนี้ได้รับความนิยมตามฟรอยด์ และมีการจัดพิมพ์อีกเจ็ดครั้งในชั่วชีวิตของเขา

เอ. เอ. บริลล์ นักจิตวิเคราะห์แบบฟรอยด์ เป็นผู้แปลจากภาษาเยอรมันเป็นภาษาอังกฤษครั้งแรก หลายปีต่อมา มีการจัดพิมพ์การแปลที่ได้รับอนุญาต โดยเจมส์ สเทรชี (James Strachey) การแปลภาษาอังกฤษครั้งล่าสุดโดย จอยซ์ คริก เพราะหนังสือนี้ยาวและซับซ้อนมาก ฟรอยด์จึงเขียนฉบับย่อชื่อ ว่าด้วยฝัน (On Dreams)

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Marinelli, Lydia (2003). Dreaming by the book : Freud's The interpretation of dreams and the history of the psychoanalytic movement. Andreas Mayer. New York: Other Press. ISBN 1-59051-009-7. OCLC 52728852. ผู้เขียนสำรวจความเปลี่ยนแปลงในแต่ละฉบับของ Die Traumdeutung และอธิบายภาพรวมว่าทำไมหนังสือเล่มนี้จึงเป็นหนังสือสำคัญของจิตวิทยาแบบจิตวิเคราะห์