ข้ามไปเนื้อหา

การดับเพลิงทางอากาศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การดับเพลิงทางอากาศ (อังกฤษ: aerial firefighting) การดับเพลิงทางอากาศเป็นการใช้อากาศยานและทรัพยากรทางอากาศอื่น ๆ เพื่อต่อสู้กับไฟป่า ประเภทของอากาศยานที่ใช้ ได้แก่ อากาศยานปีกคงที่และเฮลิคอปเตอร์ ส่วนสโมกจัมเปอร์และนักโรยตัวก็ได้รับการจัดเป็นนักดับเพลิงทางอากาศ โดยส่งไปยังกองไฟด้วยร่มชูชีพจากอากาศยานปีกคงที่หลายแบบ หรือโรยตัวจากเฮลิคอปเตอร์ สารเคมีที่ใช้ในการดับเพลิงอาจรวมถึงน้ำ, สารเพิ่มคุณภาพน้ำ เช่น โฟมและเจล ตลอดจนสารหน่วงไฟสูตรพิเศษ เช่น ฟอส-เช็ก[1]

ดีซี-10 แทงเกอร์ ปฏิบัติการโดยผู้รับเหมาเอกชนสำหรับกรมป่าไม้แห่งสหรัฐ แสดงให้เห็นถึงการทิ้งน้ำในช่วง "ธันเดอร์โอเวอร์ดิเอมไพร์แอร์เฟสต์" ที่ฐานทัพอากาศมาร์ช รัฐแคลิฟอร์เนีย (ค.ศ. 2012)
ล็อกฮีด พี2วี ของสำนักงานบริหารจัดการที่ดินทิ้งสารหน่วงไฟที่ภูเขาไพน์ รัฐออริกอน (ค.ศ. 2014)

คำศัพท์

[แก้]

ความคิดในการต่อสู้ไฟป่าจากอากาศย้อนกลับไปอย่างน้อยถึงการสังเกตของฟรีดริช คาร์ล ฟ็อน เคอนิก-วาร์เทาเซิน เมื่อเห็นเปลวไฟขณะบินข้ามเทือกเขาซานตาลูเซีย ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย ใน ค.ศ. 1929[2]: 142 

มีการใช้คำศัพท์ที่หลากหลายในสื่อยอดนิยมสำหรับอากาศยาน (และวิธีการ) ที่ใช้ในการดับเพลิงทางอากาศ ซึ่งคำว่า แอร์แทงเกอร์ หรือ แอร์ แทงเกอร์ โดยทั่วไปหมายถึงอากาศยานที่มีปีกยึดติดกับลำตัวซึ่งตั้งฐานอยู่ในสหรัฐ โดย "แอร์แทงเกอร์" ได้ใช้ในเอกสารทางการ[3] ส่วนคำว่า "วอเตอร์บอมเบอร์" ใช้ในเอกสารของรัฐบาลแคนาดาสำหรับยานพาหนะประเภทเดียวกัน[4][5] แม้ว่าบางครั้งจะมีความหมายแฝงของสะเทินน้ำสะเทินบกก็ตาม[6]

ส่วน แอร์แอตแทก เป็นคำศัพท์ทางอุตสาหกรรมที่ใช้สำหรับการใช้วิธีการทางอากาศ ทั้งอากาศยานประเภทปีกตรึงและอากาศยานปีกหมุนในเหตุไฟไหม้ อย่างไรก็ตาม ภายในอุตสาหกรรม "แอร์แอตแทก" อาจหมายถึงผู้ควบคุมในอากาศ (โดยปกติจะอยู่ในอากาศยานปีกตรึง) ผู้ดูแลกระบวนการต่อสู้ไฟป่าจากทางอากาศ รวมถึงแอร์แทงเกอร์ปีกตรึง, เฮลิคอปเตอร์ และวิธีการทางอากาศอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมายให้ไปดับเพลิง ส่วนแอร์แทกติคอลกรุปซูเปอร์ไวเซอร์ (ATGS) ซึ่งมักเรียกว่า "แอร์แอตแทก" มักจะบินอยู่ในระดับความสูงเหนือวิธีการอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมายต่อเหตุไฟไหม้ดังกล่าว บ่อยครั้งในเครื่องบินปีกตรึง แต่ในบางครั้ง (ขึ้นอยู่กับวิธีการที่ได้รับมอบหมาย หรือความพร้อมของกำลังพลที่มีคุณสมบัติเหมาะสม) ในเฮลิคอปเตอร์

ขึ้นอยู่กับขนาด, สถานที่ และศักยภาพของไฟป่าที่ประเมินไว้ "แอร์แอตแทก" หรือกำลังพลแอร์แทกติคอลกรุปซูเปอร์ไวเซอร์อาตทำหน้าที่ผจญขั้นแรก (การตอบสนองครั้งแรกของทรัพยากรดับเพลิงในการระงับอัคคีภัย) หรือด้วยการผจญระยะยาว, การตอบสนองและการจัดการไฟป่าครั้งใหญ่อย่างต่อเนื่องซึ่งต้องใช้ทรัพยากรเพิ่มเติมรวมทั้งเครื่องยนต์, ทีมงานภาคพื้นดิน ตลอดจนกำลังพลด้านการบินรวมถึงอากาศยานอื่น ๆ ที่จำเป็นในการควบคุมไฟและสร้างแนวควบคุม หรือแนวกันไฟก่อนเกิดไฟป่า[5]

อุปกรณ์

[แก้]

เฮลิคอปเตอร์และอากาศยานปีกคงที่ที่หลากหลายใช้สำหรับการดับเพลิงทางอากาศ ใน ค.ศ. 2003 มีรายงานว่า "กรมป่าไม้สหรัฐและสำนักงานบริหารจัดการที่ดินเป็นเจ้าของ, เช่า หรือทำสัญญาสำหรับอากาศยานเกือบ 1,000 ลำในแต่ละฤดูที่เกิดเพลิงไหม้ โดยมีค่าใช้จ่ายต่อปีเกินกว่า 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา"[7]

เฮลิคอปเตอร์

[แก้]
มิล เอ็มไอ-8เอ็มทีวี ประจำหน่วยกู้ภัยฉุกเฉินแห่งรัฐของยูเครน (MChS) ขณะหอบหิ้วน้ำใกล้นีชิน

เฮลิคอปเตอร์อาจติดตั้งแท็งก์น้ำ (เฮลิแทงเคอร์) หรืออาจบรรทุกถังได้ เฮลิแทงเคอร์บางรุ่น เช่น เอริกสันแอร์เครน ก็ติดตั้งปืนใหญ่โฟมด้านหน้าด้วยเช่นกัน ถังมักจะเติมโดยการแช่หรือจุ่มลงในทะเลสาบ, แม่น้ำ, อ่างเก็บน้ำ หรือถังแบบพกพา ซึ่งถังที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือถังแบมบีที่ยืดหยุ่นได้ ถังสามารถเติมน้ำบนพื้น (โดยเครื่องฉีดน้ำหรือระบบที่ติดตั้งบนรถบรรทุก) หรือสามารถสูบน้ำจากทะเลสาบ แม่น้ำ, อ่างเก็บน้ำ หรือถังแบบพกพาผ่านท่อที่แขวนอยู่ เฮลิคอปเตอร์ดับเพลิงยอดนิยม ได้แก่ เบลล์ 204, เบลล์ 205, เบลล์ 212, โบอิง เวอร์ทอล 107, โบอิง เวอร์ทอล 234 และเฮลิแทงเคอร์ซิคอร์สกี เอส-64 แอร์เครน ซึ่งมีท่อสำหรับเติมจากแหล่งน้ำธรรมชาติหรือแหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นขณะโผบิน รวมทั้งปัจจุบัน มิล เอ็มไอ-26 ซึ่งเป็นเฮลิคอปเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ใช้ถังแบมบี

เครื่องบินทิ้งระเบิดน้ำและสารหน่วงไฟ

[แก้]
เรือบินทิ้งสารหน่วงไฟสะเทินน้ำสะเทินบก คันซอลิเดเต็ด พีบีวาย แคทาลินา
แคนาแดร์ ซีแอล-415 ของอิตาลีขณะทำงาน
ล็อกฮีด พี-3เอ โอไรออน ซึ่งดำเนินการโดยแอโรยูเนียน
พีแซดแอล เอ็ม-18 โดรเมเดอร์ ขณะปล่อยน้ำใกล้โมบริดจ์ รัฐเซาท์ดาโคตา ในสหรัฐ
บีรีฟ บี-200 กำลังเติมถังเก็บน้ำในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนขณะปฏิบัติการดับไฟป่าบนภูเขาคาร์เมล ค.ศ. 2010 ในประเทศอิสราเอล
อิลยูชิน อิล-76ทีดี ของกองพิทักษ์ปฏิวัติอิสลามของอิหร่าน กำลังสาธิตการดับเพลิงทางอากาศในการแสดงการบิน
อานโตนอฟ อาน-32 ของสำนักงานฉุกเฉินแห่งชาติของยูเครนขณะเทน้ำลงบนไฟป่า

บรรดาแอร์แทงเกอร์ หรือบรรดาวอเตอร์บอมเบอร์ เป็นเครื่องบินปีกที่ติดตั้งถังที่สามารถบรรจุบนพื้นดินที่ฐานเครื่องบินสำหรับบรรทุกของเหลว หรือในกรณีของเรือบินและอากาศยานสะเทินน้ำสะเทินบก โดยการตักน้ำจากทะเลสาบ, อ่างเก็บน้ำ หรือแม่น้ำขนาดใหญ่โดยไม่จำเป็นต้องลงจอด

โบอิง 737-300 ซึ่งดำเนินการโดยโคลสันเอวิเอชัน

หลายปีที่ผ่านมามีการใช้อากาศยานหลายลำในการดับเพลิง ซึ่งใน ค.ศ. 1947 กองทัพอากาศสหรัฐและกรมป่าไม้สหรัฐได้ทดลองให้เครื่องบินทหารทิ้งระเบิดน้ำ โดยการทิ้งระเบิดน้ำดังกล่าวไม่สำเร็จ และมีการใช้ถังเก็บน้ำภายในแทน[8] แม้ว่าเครื่องบินทิ้งระเบิดสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง และยุคสงครามเกาหลีจะเป็นแกนนำของกองบินดับเพลิงทางอากาศมาช้านาน[9] แต่บรรดาแทงเกอร์รุ่นใหม่ ๆ ที่สร้างขึ้นตามวัตถุประสงค์ได้เผยแพร่สู่ระบบออนไลน์ ที่เล็กที่สุดคือเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงเครื่องยนต์เดียว (SEAT) เครื่องพ่นสารเคมีเหล่านี้คือเครื่องพ่นสารเคมีเพื่อการเกษตรที่โดยทั่วไปจะหย่อนน้ำหรือสารหน่วงน้ำประมาณ 800 แกลลอนสหรัฐ (3,000 ลิตร) ตัวอย่าง ได้แก่ แอร์แทรกเตอร์ เอที-802 ซึ่งสามารถส่งน้ำหรือน้ำยาหน่วงไฟได้ประมาณ 800 แกลลอนในแต่ละการปล่อย และเครื่องบินปีกสองชั้นอานโตนอฟ อาน-2 ของโซเวียต อากาศยานทั้งสองรุ่นนี้สามารถติดตั้งทุ่นลอยน้ำที่ตักน้ำจากผิวน้ำได้ ส่วนแคนาแดร์ ซีแอล-215 และซีแอล-415 ซึ่งพัฒนาออกมา คล้ายกันในรูปร่างกับคันซอดิเลเต็ด พีบีวาย แคทาลินา ยุคสงครามโลกครั้งที่สอง ได้รับการออกแบบและสร้างขึ้นสำหรับการดับเพลิงโดยเฉพาะ โดยกองทัพอากาศโครเอเชียใช้ซีแอล-415 หกเครื่อง และเอที 802 หกเครื่องเพื่อวัตถุประสงค์ในการดับเพลิง

หมายเหตุ

[แก้]
  1. "USDA Forest Service Wildland Fire Chemicals". สืบค้นเมื่อ 2008-11-13.
  2. von Koenig-Warthausen, Baron F K (1930). Wings Around the World.
  3. "FindLaw's United States Ninth Circuit case and opinions". สืบค้นเมื่อ 19 November 2016.
  4. Aviation Services - Aviation, Forest Fire and Emergency Services เก็บถาวร 2014-04-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Ontario Ministry of Natural Resources
  5. 5.0 5.1 "Interagency Standards for Fire and Aviation Operations 2007, Chapter 17" (PDF). National Interagency Fire Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2007-08-31. The popular media also frequently use the terms water bomber, fire bomber or borate bomber. Helicopters often are used to drop retardant or water on a wildfire, whether they're functioning as helitankers (a heavy helicopter outfitted with a belly tank for dropping water or retardant on a fire), or medium- or light-weight helicopters equipped with buckets for smaller drops on fires). Some helicopters are used on fires for cargo (helitack) delivering supplies to firefighters, usually with netted cargo slung under a helicopter, and other helicopters are certified for and used for personnel transport -- ferrying wildland firefighters to remote locations where ground transport is either difficult or impossible.
  6. "Wildfire Fighting: Provincial & Territorial Approaches to Air Tankers". Canadian American Strategic Review. May 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-11.
  7. "Statement of Larry Hamilton National Director, Office of Fire and Aviation, Department of the Interior, Bureau of Land Management, National Interagency Fire Center Oversight Hearing". Blue Ribbon Panel Report and Aerial Firefighting Safety Senate Energy and Natural Resources Committee Subcommittee on Public Lands and Forests. March 26, 2003. สืบค้นเมื่อ 2007-09-27.
  8. Hearst Magazines (October 1947). "Water Bombs for Forest Fires". Popular Mechanics. Hearst Magazines. p. 126.
  9. "AT&T - Page Not Available". สืบค้นเมื่อ 19 November 2016.

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]