ข้ามไปเนื้อหา

กล้าย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กล้าย
ต้นกำเนิดลูกผสมMusa acuminata × Musa balbisiana
Colla 1820
กลุ่มพันธุ์ปลูกAAB Group (กลุ่มกล้าย)
AAB Group (Maoli-Popoulo subgroup)
AAA-EA subgroup (Mutika/Lujugira)
ABB Group
ต้นกำเนิดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เอเชียใต้

กล้าย หรือ กล้วยกล้าย (อังกฤษ: plantain) เป็นพืชโตชั่วฤดูในสกุลกล้วย ผลนิยมใช้ในการทำอาหาร ต่างจากกล้วยตรงความนุ่มและความหวาน มีความแตกต่างทางพฤกษศาสตร์อย่างเป็นทางการระหว่างกล้วยและกล้าย แม้ว่าจะได้รับการจัดอยู่ในพันธุ์ปลูกในชนิดเดียวกัน

กล้ายได้รับการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Musa acuminata, Musa balbisiana หรือลูกผสม Musa acuminata × balbisiana ขึ้นกับโครงสร้างทางพันธุกรรม มีชื่อวิทยาศาสตร์เดิม Musa paradisiaca ซึ่งไม่มีการใช้งานมานานแล้ว กล้ายส่วนมากเป็นลูกผสมพันธุ์ปลูกกลุ่ม AAB และ ABB

สมาชิกในสกุลกล้วยเป็นพืชพื้นเมืองในเขตร้อนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนีย ประกอบด้วย กลุ่มเกาะมลายู (ประเทศอินโดนีเซีย, มาเลเซีย, บรูไน และฟิลิปปินส์) และประเทศออสเตรเลียตอนเหนือ[1]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

[แก้]
Musa acuminata × balbisiana (ABB) cv. 'Saba'
ดอกของ Musa acuminata × Musa balbisiana

ลักษณะจะคล้ายกับพืชในสกุลกล้วยทั่วไป แต่ผลกล้ายจะแข็งและมีน้ำตาลน้อยกว่ากล้วย กล้วยมักจะกินผลขณะที่กล้ายมักจะใช้ในการประกอบอาหาร โดยใช้ขณะที่ผลยังมีสีเขียวหรือยังห่าม (รสคล้ายแป้ง) หรือสุกงอม (รสหวาน) กล้ายให้พลังงานประมาณ 220 แคลอรี มีโพแทสเซียมและใยอาหารสูง[2]

อนุกรมวิธาน

[แก้]

ระบบจัดจำแนกแบบเก่าได้แยกกล้ายออกเป็นสปีชีส์เนื่องจากมีการนำไปใช้ประกอบอาหารซึ่งไม่ถูกต้อง ปัจจุบันจัดเป็นสปีชีส์เดียวกันกับกล้วย[3] กล้ายส่วนมากเป็นลูกผสมที่มีโครโมโซมหลายชุดและเป็นหมัน ระหว่าง Musa acuminata (จีโนม A) และ Musa balbisiana (จีโนม B) ปัจจุบัน กล้ายจัดอยู่ในกลุ่ม AAB หรือที่รู้จักกันในชื่อ 'กลุ่มกล้าย' และกลุ่ม ABB

กล้ายเคยมีชื่อวิทยาศาสตร์ (ชื่อพ้อง) ว่า:[3]

  • Musa paradisiaca L.
  • Musa × paradisiaca L. cultigroup Plantain

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Musa species (banana and plantain)" (PDF).
  2. "Plantains". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-15. สืบค้นเมื่อ August 25, 2009.
  3. 3.0 3.1 "Musa paradisiaca". users.globalnet.co.uk/.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]