พันธุ์กล้วย
กล้วยและกล้ายที่รับประทานได้ในปัจจุบันส่วนมากมีโครโมโซมมากกว่า 2 ชุด (polyploid) และเป็นลูกผสมระหว่าง Musa acuminata และ Musa balbisiana ซึ่งส่วนมากจะไม่มีเมล็ด (parthenocarpic) และเป็นหมัน สืบพันธุ์โดยไม่อาศัยเซลล์สืบพันธุ์ กล้วยเหล่านี้ถูกจัดกลุ่มโดยใช้ระบบจีโนมเป็นหลักซึ่งคิดค้นโดย เออเนส์ต ชีสแมน (Ernest Cheesman), นอร์แมน ซิมมอนด์ (Norman Simmonds), และ เคน เชปเฟิด (Ken Shepherd)
จีโนม 'A' เป็นลักษณะทางพันธุกรรมของ Musa acuminata ขณะที่ 'B' เป็นลักษณะทางพันธุกรรมของ Musa balbisiana การซ้ำของจีโนมหมายถึงการมีโครโมโซมมากกว่า 2 ชุด และการมีทั้ง A และ B หมายถึงเป็นลูกผสม[1][2][3][4]
เนื้อหา
กลุ่ม AA[แก้]
กล้วยในกลุ่มนี้มีโครโมโซม 2 ชุด มีขนาดเล็ก รสหวาน กลิ่นหอม รับประทานสด ได้แก่
- กล้วยไข่
- กล้วยเล็บมือนาง
- กล้วยหอมจันทร์
- กล้วยไข่ทองร่วง
- กล้วยไข่จีน
- กล้วยน้ำนม
- กล้วยไล
- กล้วยสา
- กล้วยหอม
- กล้วยหอมจำปา
- กล้วยทองกาบดำ[5]
กลุ่ม AAA[แก้]
กล้วยกลุ่มนี้มีจำนวนโครโมโซม 3 ชุด ผลจึงมีขนาดใหญ่กว่ากลุ่มแรก รูปร่างผลเรียวยาว มีเนื้อนุ่ม รสหวาน กลิ่นหอม รับประทานสด ได้แก่
- กล้วยหอมทอง
- กล้วยนาก
- กล้วยครั่ง
- กล้วยหอมเขียว
- กล้วยกุ้งเขียว
- กล้วยหอมแม้ว
- กล้วยไข่พระตะบอง
- กล้วยคลองจัง[5]
กลุ่ม AAAA[แก้]
- Musa acuminata โครโมโซม 4 ชุด
- Bodles Altafort banana
- Golden Beauty banana
กลุ่ม AAAB[แก้]
- Atan banana
- Goldfinger banana
กลุ่ม AAB[แก้]
กล้วยกลุ่มนี้เมื่อผลสุกมีรสชาติดีกว่ากล้วยกลุ่ม ABB ได้แก่
- กล้วยน้ำ
- กล้วยน้ำฝาด
- กล้วยนมสวรรค์
- กล้วยนิ้วมือนาง
- กล้วยไข่โบราณ
- กล้วยทองเดช
- กล้วยศรีนวล
- กล้วยขม
- กล้วยนมสาว
แต่มีกล้วยกลุ่ม AAB บางชนิดที่มีความคล้ายกับ ABB กล่าวคือ เนื้อจะค่อนข้างแข็ง มีแป้งมาก เมื่อสุกเนื้อไม่นุ่ม ทั้งนี้อาจได้รับเชื้อพันธุกรรมของกล้วยป่าที่ต่างชนิดย่อยกัน จึงทำให้ลักษณะต่างกัน กล้วยในกลุ่มนี้เรียกว่า กลุ่มย่อยกล้าย หรือกล้ายแท้ ซึ่งจะต้องทำให้สุกโดยการต้ม ปิ้ง เผา เช่นเดียวกับกลุ่ม ABB ได้แก่
- กล้าย
- กล้วยงาช้าง
- กล้วยนิ้วจระเข้
- กล้วยหิน
- กล้วยพม่าแหกคุก[5]
กลุ่ม AABB[แก้]
กล้วยกลุ่มนี้มีจำนวนโครโมโซมเพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่า ผลจึงมีขนาดใหญ่
- Kalamagol banana
- Pisang Awak (Ducasse banana)
กลุ่ม AB[แก้]
- Ney Poovan banana
กลุ่ม ABB[แก้]
กล้วยกลุ่มนี้มีแป้งมาก ขนาดผลใหญ่ ไม่นิยมรับประทานสด เพราะเมื่อสุกรสไม่หวานมาก บางครั้งมีรสฝาด เมื่อนำมาต้ม ปิ้ง ย่าง และเชื่อม จะทำให้รสชาติดีขึ้น ได้แก่
- กล้วยหักมุกเขียว
- กล้วยหักมุกนวล
- กล้วยเปลือกหนา
- กล้วยส้ม
- กล้วยนางพญา
- กล้วยนมหมี
- กล้วยน้ำว้า[5]
กลุ่ม ABBB[แก้]
กล้วยในกลุ่มนี้มีแป้งมาก และมีอยู่พันธุ์เดียวคือ กล้วยเทพรส หรือกล้วยทิพรส ผลมีขนาดใหญ่มาก บางครั้งมีดอกเพศผู้หรือปลี หากไม่มีดอกเพศผู้ จะไม่เห็นปลี และมีผลขนาดใหญ่ ถ้ามีดอกเพศผู้ ผลจะมีขนาดเล็กกว่า มีหลายหวีและหลายผล การมีปลีและไม่มีปลีนี้เกิดจากการกลายพันธุ์แบบกลับไปกลับมาได้ ดังนั้นจะเห็นว่าในกอเดียวกันอาจมีทั้งกล้วยเทพรสมีปลี และไม่มีปลี หรือบางครั้งมี 2 - 3 ปลี ในสมัยโบราณเรียกกล้วยเทพรสที่มีปลีว่า กล้วยทิพรส กล้วยเทพรสที่สุกงอมจะหวาน เมื่อนำไปต้มมีรสฝาด[5]
กลุ่ม BB[แก้]
กล้วยตานีที่มีโครโมโซม 2 ชุด รับประทานผลอ่อนได้ โดยนำมาใส่แกงเผ็ด ทำส้มตำ ไม่นิยมรับประทานผลแก่ เพราะมีเมล็ดมาก ส่วนใหญ่รับประทานปลีและหยวก[5]
กลุ่ม BBB[แก้]
กล้วยในกลุ่มนี้เกิดจากกล้วยตานีมีโครโมโซม 3 ชุด เนื้อไม่ค่อยนุ่ม ประกอบด้วยแป้งมาก เมื่อสุกก็ยังมีแป้งมาก ไม่ค่อยหวาน ขนาดผลใหญ่ เมื่อนำมาทำให้สุกด้วยความร้อน จะทำให้รสชาติดีขึ้น เนื้อเหนียวนุ่ม เช่น
- กล้วยเล็บช้างกุด[5]
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Banana cultivar names and synonyms in Southeast Asia by Ramón V. Valmayor ที่ Google Books
- ↑ Michel H. Porcher; Prof. Snow Barlow (19/07/2002). "Sorting Musa names". The University of Melbourne, [1]. สืบค้นเมื่อ 11 January 2011. Check date values in:
|date=
(help); External link in|publisher=
(help) - ↑ "Musa paradisiaca". http://www.users.globalnet.co.uk/. External link in
|publisher=
(help) - ↑ Michel H. Porcher; Prof. Snow Barlow. "Sorting Musa names". http://www.ars-grin.gov/. External link in
|publisher=
(help) - ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 พันธุ์กล้วยในประเทศไทย, สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 30