กระถินนา
กระถินนา | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Monocots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Commelinids |
อันดับ: | Poales |
วงศ์: | Xyridaceae |
สกุล: | Xyris |
สปีชีส์: | X. indica |
ชื่อทวินาม | |
Xyris indica L. | |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
กระถินนา[2] เป็นพืชสกุลหญ้าบัว ในวงศ์กระถินทุ่ง (Xyridaceae) มีชื่อพื้นเมืองอื่นคือ กระจับแดง (นราธิวาส), กระถินทุ่ง (กลาง, ตราด), หญ้ากระเทียม (ปราจีนบุรี), หญ้าขี้กลาก (สระบุรี) และหญ้าบัว (ปราจีนบุรี, อุบลราชธานี)
ลักษณะทั่วไป
[แก้]กระถินนาเป็นไม้ล้มลุกปีเดียว ใบขึ้นจากดิน มีขนาดเล็กคล้ายใบหญ้า ช่อดอกมีก้านยาวขึ้นมาจากดินล้อมรอบด้วยใบ ดอกสีเหลืองสด ติดอยู่ตรงปลายของช่อดอก กลีบดอกมี 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ ผลเล็ก ติดอยู่รวมกันที่ปลายช่อดอก และจะร่วงเมื่อแก่เต็มที่[3] มักขึ้นอยู่กลางท้องทุ่ง หรือทุ่งนา หรือพื้นที่ชุมน้ำในที่เป็นดินเค็ม มักขึ้นอยู่กับดุสิตา (Utricularia delphinioides) หรือหญ้าเหลือง ออกดอกในช่วงปลายฤดูฝนต่อต้นฤดูหนาว[4]
ประโยชน์
[แก้]เหตุที่ได้ชื่อว่า หญ้าขี้กลาก เนื่องจากถูกจัดว่าเป็นวัชพืช โดยชาวนามักจะถอนทิ้งก่อนที่จะทำนา แต่มีประโยชน์ในการทำสมุนไพร ส่วนหัวนำมาตำผสมกับน้ำซาวข้าวเหนียว นำไปทาแผลที่เป็นกลากเกลื้อนได้
เมื่อออกดอก กระถินนา จะมีความสวยงามมาก ดอกมีสีเหลือง เมื่อบานจะบานเต็มท้องทุ่งพร้อมกัน ในประเทศไทยพบทุ่งกระถินนาได้หลายจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นิยมใช้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและถ่ายภาพ[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Karuppasamy, S.; Sadasivaiah, B. (2013). "Xyris indica". IUCN Red List of Threatened Species. 2013. 2013.
- ↑ เต็ม สมิตินันทน์ (2006). "ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย". สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 พฤษภาคม 2010.
- ↑ กระถินนา สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ↑ 4.0 4.1 "รับลมหนาว! ดอกกระถินทุ่งบานนักท่องเที่ยวแห่เซลฟี่". กรุงเทพธุรกิจ. 9 พฤศจิกายน 2017.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Xyris indica ที่วิกิสปีชีส์