ข้ามไปเนื้อหา

กฎราชวงศ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กฎราชวงศ์ (ญี่ปุ่น: 皇室典範โรมาจิKōshitsu Tenpan) เป็นกฎหมายญี่ปุ่นที่ว่าด้วยการสืบราชสมบัติญี่ปุ่น ความเป็นสมาชิกราชวงศ์ญี่ปุ่น และประเด็นอื่น ๆ ที่ว่าด้วยการบริหารราชวงศ์ญี่ปุ่น

กฎราชวงศ์นี้ ผู้ร่าง คือ รัฐบาลชุดที่มีชิเงรุ โยชิดะ เป็นนายกรัฐมนตรีในช่วงที่ญี่ปุ่นถูกสหรัฐยึดครอง โดยมุ่งหมายจะปรับปรุงกฎราชวงศ์ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่สหรัฐร่างให้ญี่ปุ่น สภานิติบัญญัติชุดสุดท้ายของจักรวรรดิญี่ปุ่นให้ความเห็นชอบร่างกฎดังกล่าวเมื่อวันที่ 16 มกราคม ค.ศ. 1947 เพื่อใช้แทนที่กฎราชวงศ์ฉบับ ค.ศ. 1889 ซึ่งมีสถานะเท่าเทียมกับรัฐธรรมนูญเมจิและจะแก้ไขเพิ่มเติมได้ก็แต่โดยจักรพรรดิ ขณะที่กฎหมายฉบับใหม่นี้มีสถานะเป็นรองจากรัฐธรรมนูญอันกำหนดไว้ในมาตรา 2 ว่า ให้การสืบราชสมบัติเป็นไปตามกฎราชวงศ์ที่สภานิติบัญญัติให้ความเห็นชอบ[1]

ใน ค.ศ. 2017 สภานิติบัญญัติแห่งชาติญี่ปุ่นแก้ไขเพิ่มเติมกฎนี้ เพื่ออนุญาตให้จักรพรรดิอากิฮิโตะสละราชสมบัติได้ภายใน 3 ปีนับแต่การแก้ไขเพิ่มเติม[2][3] จักรพรรดิอากิฮิโตะจึงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 2019[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "The Constitution Of Japan". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-14. สืบค้นเมื่อ 2006-09-05.
  2. https://english.kyodonews.net/news/2017/06/e059a2712303-update1-japan-enacts-law-to-allow-1st-abdication-of-emperor-in-200-years.html
  3. https://www.theatlantic.com/news/archive/2017/06/japanese-parliament-passes-law-allowing-its-emperor-to-abdicate/529080/
  4. "Panel stresses clean break once emperor steps down". Nikkei Asian Review. 22 April 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 May 2019. สืบค้นเมื่อ 7 May 2019.