เวงกเฏศวรมนเทียร (ติรุปติ)
ศรีเวงกเฏศวรมนเทียร | |
---|---|
శ్రీ వేంకటేశ్వర స్వామి వారి ఆలయం | |
ศาสนา | |
ศาสนา | ศาสนาฮินดู |
เขต | จุตตูร์ |
เทพ | พระเวงกเฏศวร (พระวิษณุ) |
เทศกาล | พรหโมตสวัม, ไวกูณฐเอกทาสี, รถสัปตมี |
หน่วยงานกำกับดูแล | ติรุมลาติรุปตีเทวัสถานัม |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | ติรุปติ |
รัฐ | รัฐอานธรประเทศ |
ประเทศ | อินเดีย |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 13°40′59.7″N 79°20′49.9″E / 13.683250°N 79.347194°E |
สถาปัตยกรรม | |
ประเภท | สถาปัตยกรรมทราวิฑ |
ผู้สร้าง | วีระ นรสิงเทวะ ยาทวรายะ (Veera Narasingadeva Yadavaraya) วีระ รากษสะ ยาทวรายะ (Veera Rakshasa Yadavaraya) รังคนาถ ยาทวรายะ (Ranganatha Yadavaraya)[1] |
ลักษณะจำเพาะ | |
วัด | 1 |
จารึก | ภาษาทราวิฑและภาษาสันสกฤต[2] |
ระดับความสูง | 853 m (2,799 ft) |
เว็บไซต์ | |
www |
เวงกเฏศวรมนเทียร (Venkateswara Temple) เป็นโบสถ์พราหมณ์ที่ตั้งอยู่ในเมืองหุบเขาติรุมลา นครติรุปติ อำเภอจิตตูร์ รัฐอานธรประเทศ ประเทศอินเดีย สร้างขึ้นเพื่อบูชาพระเวงกเฏศวร ปางหนึ่งของพระวิษณุที่เชื่อว่าอวตารลงมา ณ สถานที่นี้เพื่อปกป้องมนุษย์จากปัญหาทั้งปวงในกลียุค จึงทำให้ที่นี่มีอีกชื่อว่า กาลียุคไวกูณฐ์ หรือ กาลียุควิษณุโลก และองค์เทพก็มีอีกพระนามว่า กลียุคปรัถยักษไทวัม (Kaliyuga Prathyaksha Daivam)[3] คณะกรรมการผู้บริหารมนเทียรนี้คือติรุมลาติรุปตีเทวัสถานัม (TTD) ซึ่งอยู่ใต้การควบคุมของรัฐบาลรัฐอานธประเทศโดยตรง และรายได้จากมนเทียรก็เข้าสู่รัฐบาลรัฐอานธรประเทศเช่นกัน[4]
หุบเขาติรุมาละเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาเศษจลัม และมีความสูง 853 เมตร (2,799 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเล หุบเขานี้ประกอบด้วยยอดเขาเจ็ดยอด (สัปตคีรี) ซึ่งสื่อถึงศีรษะทั้งเจ็ดของอาทิเศษะ มนเทียรนี้ตั้งอยู่บนยอดเขาที่เจ็ดซึ่งชื่อว่า เวงกฏคีรี
มนเทียรนี้เป็นศาสนสถานที่ร่ำรวยที่สุดในโลกในแง่ของเงินบริจาคและความมั่งคั่ง[5][6][7] มนเทียรมีผู้เดินทางมาแสวงบุญอยู่ที่ 50,000 ถึง 100,000 คนต่อวัน (30 ถึง 40 ล้านคนต่อปีโดยเฉลี่ย) และจำนวนนี้อาจสูงขึ้นมากเป็นพิเศษในช่วงเทศกาลสำคัญของมนเทียร เช่น พรหโมสวัมที่ซึ่งมียอดผู้เดินทางมาแสวงบุญสูงถึง 500,000 คน ส่งผลให้เป็นที่เลื่องลือว่าที่นี่อาจจะเป็นศาสนสถานที่มีผู้มาเยี่ยมชมมากที่สุดในโลก[8] ในปี 2016 มีรายงานจำนวนผู้เดินทางมาแสวงุญอยู่ที่ 27.3 ล้านคน[9]
มนเทียรนี้มีความเกี่ยวพันกับตำนานแห่งติรุมลาในฐานะความเกี่ยวข้องกับองค์เทพเจ้าที่อวตารลงมาในติรุมลา หนึ่งในตำนานเหล่านั้นระบุว่ามูรติของพระเวงกเฏศวรที่ประทับอยู่ที่ในมนเทียรนี้ เชื่อกันว่าจะคงอยู่ที่นี่ตราบจนสิ้นกลียุค
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Yadavas hail restoration of 'Golla Mirasi". www.thehindu.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2020. สืบค้นเมื่อ 12 June 2020.
- ↑ Alexandra Mack. Spiritual Journey, Imperial City: Pilgrimage to the Temples of Vijayanagara. Vedams eBooks (P) Ltd, 2002 - Hindu pilgrims and pilgrimages - 227 pages. p. 80.
- ↑ "Tirumala Temple". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2007. สืบค้นเมื่อ 13 September 2007.
- ↑ PGurus, Team (24 February 2020). "All is not well in Tirumala!". PGurus (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 1 October 2020.
- ↑ "NDTV Report". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-22. สืบค้นเมื่อ 13 September 2007.
- ↑ Sivaratnam, C (1964). An Outline of the Cultural History and Principles of Hinduism (1 ed.). Colombo: Stangard Printers. OCLC 12240260.
Koneswaram temple. Tiru-Kona-malai, sacred mountain of Kona or Koneser, Iswara or Siva. The date of building the original temple is given as 1580 BCE according to a Tamil poem by Kavi Raja Virothayan translated into English in 1831 by Simon Cassie Chitty ...
- ↑ Ramachandran, Nirmala (2004). The Hindu legacy to Sri Lanka. Pannapitiya: Stamford Lake (Pvt.) Ltd. 2004. ISBN 9789558733974. OCLC 230674424.
Portuguese writer De Queyroz compares Konesvaram to the famous Hindu temples in Rameswaram, Kanchipuram, Tirupatti-Tirumalai, Jagannath and Vaijayanthi and concludes that while these latter temples were well visited by the Hindus, the former had surpassed all the latter temples by the early 1600s
- ↑ "Ghazal programme at Tirumala temple". The Hindu. Chennai, India. 30 September 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-10-03. สืบค้นเมื่อ 2021-01-06.
- ↑ "2.73 cr devotees visited Tirumala last year: TTD". The Times of India. Hyderabad, India. 7 January 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-20. สืบค้นเมื่อ 2021-01-06.
บรรณานุกรม
[แก้]- S. Krishnasvami Aiyangar (1939). A History of the Holy Shrine of Sri Venkatesa in Tirupati. Ananda Press, Madras.
- "Tirumala Temple History". Tirumala Tirupati Devasthanams. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-21. สืบค้นเมื่อ 27 August 2015.
- "Sri Bhu Varaha Swamy Temple". Tirumala Tirupati Devasthanams. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 27 August 2015.
- "Sri Bedi Anjaneya Swamy Temple". Tirumala Tirupati Devasthanams. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-24. สืบค้นเมื่อ 27 August 2015.
- Feminism and World Religions. SUNY Press. 1999. p. 48. ISBN 9780791440230.
- "Gold-coat-to-hide-Tirumala-carvings".