ท่าอากาศยานเทนซิง-ฮิลลารี

พิกัด: 27°41′16″N 086°43′53″E / 27.68778°N 86.73139°E / 27.68778; 86.73139
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Tenzing-Hillary Airport)
ท่าอากาศยานเทนซิง-ฮิลลารี

तेन्जिङ हिलारी विमानस्थल
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานรัฐ
เจ้าของรัฐบาลเนปาล
ผู้ดำเนินงานกรมการบินพลเรือนเนปาล
พื้นที่บริการลุกลา ประเทศเนปาล
ฐานการบิน
เขตเวลาNST (UTC+05:45)
ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล2846 เมตร / 9337 ฟุต
พิกัด27°41′16″N 086°43′53″E / 27.68778°N 86.73139°E / 27.68778; 86.73139
แผนที่
LUAตั้งอยู่ในประเทศเนปาล
LUA
LUA
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
เมตร ฟุต
06/24 527 1729 ยางมะตอย
ที่มา:[1][2]

ท่าอากาศยานเทนซิง-ฮิลลารี (อังกฤษ: Tenzing-Hillary Airport; (IATA: LUAICAO: VNLK)) หรือรู้จักในชื่อ ท่าอากาศยานลุกลา (อังกฤษ: Lukla Airport) เป็นท่าอากาศยานในประเทศและท่าอากาศยานที่สูง ตั้งอยู่ในเมืองลุกลา[2] คุมบูปาซางลามู อำเภอโซลูคูมบู รัฐโกศี ประเทศเนปาล เป็นที่รู้จักไปทั่วโลกในฐานะท่าอากาศยานที่อันตรายที่สุดในโลกเป็นเวลามากกว่า 20 ปี[3]

ท่าอากาศยานเป็นที่นิยมเนื่องจากถือเป็นจุดเริ่มต้นของการไต่เขาไปยังค่ายเบสของเขาเอเวอร์เรสต์ ปัจจุบันท่าอากาศยานมีบริการเที่ยวบินวันละเที่ยวไปกลับตริภูวันในกาฐมาณฑุในเวลากลางวันหากสภาพอากาศดี ถึงแม้ระยะทางการบินของเที่ยวบินจะสั้น แต่ในลุกลามักฝนแม้ที่กาฐมาณฑุจะแดดสว่าง ลมแรง, เมฆทึบ และสภาพการมองเห็นที่เปลี่ยนแปร มักทำให้เที่ยวบินต้องถูกดีเลย์ หรือปิดท่าอากาศยานไปเลยชั่วคราว[3] ท่าอากาศยานล้อมรอบด้วยรั้วโซ่เหล็ก และมีกองกำลังจากตำรวจติดอาวุธ กับ ตำรวจพลเรือน คอยตรวจตราตลอดเวลา

ประวัติศาสตร์[แก้]

ท่าอากาศยานสร้างขึ้นในปี 1964 ภายใต้การควบคุมของเอดมันด์ ฮิลลารี ผู้เดิมทีตั้งใจจะสร้างท่าอากาศยานขึ้นบนพื้นที่ที่เป็นที่นาเรียบ ๆ แต่ชาวนาท้องถิ่นปฏิเสธไม่อยากขายที่นาให้ จึงจำต้องสร้างท่าอากาศยานตรงจุดที่อยู่ในปัจจุบัน ฮิลลารีซื้อที่ดินนี้จากขาวเชอร์ปาท้องถิ่นด้วยมูลค่า US$2,650 รวมถึงยังจ้างชาวเชอร์ปาท้องถิ่นมาช่วยก่อสร้างท่าอากาศยานด้วย[4] ว่ากันว่าฮิลลารีพอใจแรงต้านทานของดินตรงรันเวย์ เขาจึงเลือกซื้อสุราท้องถิ่นไปให้กับชาวเชอร์ปาและร้องขอให้พวกเขาเต้นกระทืบเท้าบนรันเวย์ เพื่อให้ดินตรงนั้นเรียบและใข้งานเป็นรันเวย์ได้[5] รันเวย์นี้ไม่ถูกปูด้วยยางมะตอยจนถึงปี 2001[6]

ในเดือนมกราคม 2008 ได้มีการเปลี่ยนชื่อท่าอากาศยานใหม่เพื่อเป็นเกียรติแก่ชาวเชอร์ปา เทนซิง โนร์กาย และ เซอร์เอ็ดมันด์ ฮิลลารี ผู้พิชิตเขาเอเวอเรสต์คนแรก และผู้มีส่วนร่วมในการก่อสร้างท่าอากาศยานนี้[7]

ลักษณะ[แก้]

ท่าอากาศยานประกอบด้วยรันเวย์เดียว เป็นรันเวย์ปูยางมะตอย ซึ่งสามารถรองรับได้แค่เฮลิคอปเตอร์และอากาศยาน สโตล เช่น DHC-6 ทวินออตเตอร์, ดอร์เนียร์ 228, แอล-410 เทอร์โบเลต และ พีลาทัส พีซี-6 รันเวย์มีขนาด 527 m (1,729 ft) × 30 m (98 ft) และความชัน 11.7%[1] ความสูงจากระดับน้ำทะเลของท่าอากาศยานอยู่ที่ 9,334 ft (2,845 m)[1]

เที่ยวบิน[แก้]

ตาราแอร์ ดอร์เนียร์ 228 ที่ท่าอากาศยานเทนซิง-ฮิลลารี
สายการบิน จุดหมายปลายทาง
สีตาแอร์ กาฐมาณฑุ,[8] มันตลี[9]
ซัมมิตแอร์ กาฐมาณฑุ, มันตลี[9][10]
ตาราแอร์ กาฐมาณฑุ,[11] มันตลี[9]
เช่าเหมาลำได้จาก: ผาปลู

นอกจากนี้ยังมีแอร์ไดนัสตีที่ให้บริการเฮลิคอปเตอร์โดยมีฮับอยู่ที่นี่[12]

อุบัติเหตุ[แก้]

อนุสรณ์สายการบินเยติแอร์ไลนส์ เที่ยวบินที่ 103 (ชนเมื่อ 8 ตุลาคม 2008)
  • 15 ตุลาคม 1973: รอยัลเนปาลแอร์ไลนส์ DHC-6 ทวินออตเตอร์ 300 (ป้าย 9N-ABG) ได้รับความเสียหายเกินซ่อมได้ขณะลงจอด ผู้โดยสารและลูกเรือไม่ได้รับบาดเจ็บใด ๆ[13]
  • 9 มิถุนายน 1991 เนปาลแอร์ไบนส์ DHC-6 ทวินออตเตอร์ 300 (ป้าย 9N-ABA) จากกาฐมาณฑุพุ่งชนหลังลงจอดโดยไม่สมดุลเนื่องจากวภาพอากาศแย่ ลูกเรือและผู้โดยสารปลอดภัยทั้งหมดมีเพียงได้รับบาดเจ็บ[14]
  • 26 กันยายน 1992 รอยัลแอร์เนปาล ฮอาร์บิน ยุนซูจี Y-12-II (ป้าย 9N-ACI) หล่นขณะเทคออฟ ลูกเรือและผู้โดยสารปลอดภัยทั้งหมด[15]
  • 25 พฤษภาคม 2004 เยติแอร์ไลนส์ DHC-6 ทวินออตเตอร์ 300 (ป้าย 9N-AFD) ชนเข้ากับเขาลัมจุรา (Lamjura Hill) เพราะเมฆหนา ลูกเรือและผู้โดยสารปลอดภัยทั้งหมด[16]
  • 1 ตุลาคม 2004 สีตาแอร์ ดอร์เนียร์ 228 ส่วนจมูกพังเสียกายขณะไถไปตามรันเวย์ ท่าอากาศยานต้องปิดสองวัน[17]
  • 30 มิถุนายน 2005 โกรข่าแอร์ไลนส์ ดอร์เนียร์ 228 ไถลออกนอกรันเวย์ ลูกเรือและผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย[18][19]
  • 8 ตุบาคม 2008 เยติแอร์ไบนส์ เที่ยวบินที่ 103 DHC-6 ทวินออตเตอร์ 300 (ป้าย 9N-AFE) ชนและลุกติดไฟ ลูกเรือและผู้โดยสาร 18 คนเสียชีวิต ยกเว้นกัปตันคนเดียว[20]
  • 12 ตุลาคม 2010 สีตาแอร์ ดอร์เนียร์ 228 (ป้าย 9N-AHB) เบรกไม่ทำงาน ชนเข้ากับผนังปลายรันเวย์ ลูกเรือและผู้โดยสารปลอดภัยทั้งหมด ส่วนจมูกของเครื่องบินเสียหาย[21]
  • 26 กันยายน 2013 เฮลิคอปเตอร์ของแอร์ไดนัสตี (ป้าย 9N-AEX) ชนหลังเกี่ยวเข้ากับลวดหนามของสนามบิน ลูกเรือและผู้โดยสารปลอดภัยทั้งหมด[22]
  • 27 พฤษภาคม 2017 ซัมมิตแอร์ เที่ยวบินที่ 409 บินขนส่งคาร์โกด้วยเครื่อง Let L-410 สภาพการมองเห็นเลวร้าย สูญเสียการคงคะดับ ไถลลงจากเนินของเขาไป 200 เมตร ลูกเรือเสียชีวิตสองราย รอดชีวิตหนึ่งคน[23][24][25]
  • 14 เมษายน 2019 ซัมมิตแอร์ Let L-410 Turbolet ป้าย 9N-AMH ไม่มีผู้โดยสาร ชนเข้ากับเฮลิคอปเตอร์ ยูโรคอปเตอร์ AS 350B3e ของมานังแอร์ ป้าย 9N-ALC บนลานจอดเฮลิคอปเตอร์ 30 ถึง 50 เมตรจากรันเวย์ ทั้งสองอากาศยานเสียหาย เฮลิคอปเตอร์อีกลำของศรีแอร์ไลนส์ ยูโรคอปเตอร์ AS 350 ป้าย 9N-ALK เสียหายเล็กน้อย กัปตันและรองกัปตันเสียชีวิตรวมสามราย[26][27][28][29]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "National Airports Plan – Current Situation and Diagnostic" (PDF). Civil Aviation Authority of Nepal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2 April 2015. สืบค้นเมื่อ 7 March 2015.
  2. 2.0 2.1 Airport information for Lukla, Nepal – Tenzing–Hillary Airport (VNLK / LUA) at Great Circle Mapper.
  3. 3.0 3.1 "Most Extreme Airports". History Specials. ฤดูกาล 1. ตอน 104. The History Channel. 26 August 2010.
  4. Ibišbegović, Denis; Vesić, Zoran; Dikić, Nenad (2012). Inspirisani trenutkom: put za Everest bazni kamp. Belgrade: Nenad Dikić. pp. 49–50. ISBN 9788691549107. สืบค้นเมื่อ 30 October 2017.
  5. "Nepal quake tough test for 'world's most dangerous airport'". The Himalayan Times. สืบค้นเมื่อ 30 October 2017.
  6. Drescher, Cynthia (12 April 2016). "This Is the World's Most Dangerous Airport". CN Traveler. สืบค้นเมื่อ 30 October 2017.
  7. "Nepal to name Everest airport after Edmund Hillary and Tenzing Norgay". International Herald Tribune. 15 January 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 February 2008. สืบค้นเมื่อ 27 April 2010.
  8. "Flight Schedule". Sita Air. สืบค้นเมื่อ 1 May 2018.
  9. 9.0 9.1 9.2 "Regular flight started from Ramechhap to Lukla". República. 1 October 2022. สืบค้นเมื่อ 8 October 2022.
  10. "Flight Schedule". Summit Air. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-01. สืบค้นเมื่อ 1 April 2019.
  11. "Flight Schedule". Tara Air. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-06. สืบค้นเมื่อ 1 October 2018.
  12. "Air dynasty operating service from three bases around the country". Aviation Nepal. สืบค้นเมื่อ 1 November 2017.
  13. Aviation Safety Network เก็บถาวร 2010-02-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 18 November 2006.
  14. "ASN Aircraft accident de Havilland Canada DHC-6 Twin Otter 300 9N-ABA Lukla Airport (LUA)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-20. สืบค้นเมื่อ 23 June 2011.
  15. "ASN Aircraft accident Harbin Yunshuji Y-12-II 9N-ACI Lukla Airport (LUA)". Aviation-safety.net. 26 September 1992. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-25. สืบค้นเมื่อ 9 February 2012.
  16. Aviation Safety Network เก็บถาวร 2011-10-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 18 November 2006.
  17. "Lukla airport still closed". Nepali Times. สืบค้นเมื่อ 1 November 2020.
  18. Airline Industry Information เก็บถาวร 2016-01-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 30 June 2005.
  19. Aviation Safety Network เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 18 November 2006.
  20. BBC News. Retrieved 8 October 2008.
  21. Air Crash Observer "Air Crash Observer: News". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2011.. Retrieved 15 December 2010
  22. "Chopper crashes in Lukla, minor injuries". Nepalnews.com. 26 September 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2016.
  23. Hradecky, Simon (27 May 2017). "Accident: Summit L410 at Lukla on May 27th 2017, contacted trees and impacted ground before runway". The Aviation Herald. สืบค้นเมื่อ 28 May 2017.
  24. Pokhrel, Rajan (28 May 2017). "Lukla air crash toll reaches 2 as co-pilot dies for want of treatment". The Himalayan Times. สืบค้นเมื่อ 30 May 2017.
  25. Kelly, Michael (29 May 2017). "Kiwi 'heroes' in dramatic Mt Everest rescue after cargo plane slams into mountain". New Zealand Herald. สืบค้นเมื่อ 18 June 2017.
  26. Pokhrel, Rajan (14 April 2019). "Three killed, four injured in Lukla crash". No. 14 April 2019. The Himalayan Times. สืบค้นเมื่อ 14 April 2019.
  27. Prasain, Sangam (14 April 2019). "At least three killed in Summit Air plane crash at Lukla airport". No. 14 April 2019. The Kathmandu Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-15. สืบค้นเมื่อ 14 April 2019.
  28. "Lukla plane–chopper collision kills 3". No. 14 April 2019. Nepali Times. 14 April 2019. สืบค้นเมื่อ 14 April 2019.
  29. "Developing story". Aviation Safety Network. Flight Safety Foundation. สืบค้นเมื่อ 14 April 2019.