ท่าอากาศยานเทนซิง-ฮิลลารี
ท่าอากาศยานเทนซิง-ฮิลลารี तेन्जिङ हिलारी विमानस्थल | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ข้อมูลสำคัญ | |||||||||||
การใช้งาน | รัฐ | ||||||||||
เจ้าของ | รัฐบาลเนปาล | ||||||||||
ผู้ดำเนินงาน | กรมการบินพลเรือนเนปาล | ||||||||||
พื้นที่บริการ | ลุกลา ประเทศเนปาล | ||||||||||
ฐานการบิน | |||||||||||
เขตเวลา | NST (UTC+05:45) | ||||||||||
เหนือระดับน้ำทะเล | 9,337 ฟุต / 2,846 เมตร | ||||||||||
พิกัด | 27°41′16″N 086°43′53″E / 27.68778°N 86.73139°E | ||||||||||
แผนที่ | |||||||||||
ทางวิ่ง | |||||||||||
| |||||||||||
ท่าอากาศยานเทนซิง-ฮิลลารี (อังกฤษ: Tenzing-Hillary Airport; (IATA: LUA, ICAO: VNLK)) หรือรู้จักในชื่อ ท่าอากาศยานลุกลา (อังกฤษ: Lukla Airport) เป็นท่าอากาศยานในประเทศและท่าอากาศยานที่สูง ตั้งอยู่ในเมืองลุกลา[2] คุมบูปาซางลามู อำเภอโซลูคูมบู รัฐโกศี ประเทศเนปาล เป็นที่รู้จักไปทั่วโลกในฐานะท่าอากาศยานที่อันตรายที่สุดในโลกเป็นเวลามากกว่า 20 ปี[3]
ท่าอากาศยานเป็นที่นิยมเนื่องจากถือเป็นจุดเริ่มต้นของการไต่เขาไปยังค่ายเบสของเขาเอเวอร์เรสต์ ปัจจุบันท่าอากาศยานมีบริการเที่ยวบินวันละเที่ยวไปกลับตริภูวันในกาฐมาณฑุในเวลากลางวันหากสภาพอากาศดี ถึงแม้ระยะทางการบินของเที่ยวบินจะสั้น แต่ในลุกลามักฝนแม้ที่กาฐมาณฑุจะแดดสว่าง ลมแรง, เมฆทึบ และสภาพการมองเห็นที่เปลี่ยนแปร มักทำให้เที่ยวบินต้องถูกดีเลย์ หรือปิดท่าอากาศยานไปเลยชั่วคราว[3] ท่าอากาศยานล้อมรอบด้วยรั้วโซ่เหล็ก และมีกองกำลังจากตำรวจติดอาวุธ กับ ตำรวจพลเรือน คอยตรวจตราตลอดเวลา
ประวัติศาสตร์
[แก้]ท่าอากาศยานสร้างขึ้นในปี 1964 ภายใต้การควบคุมของเอดมันด์ ฮิลลารี ผู้เดิมทีตั้งใจจะสร้างท่าอากาศยานขึ้นบนพื้นที่ที่เป็นที่นาเรียบ ๆ แต่ชาวนาท้องถิ่นปฏิเสธไม่อยากขายที่นาให้ จึงจำต้องสร้างท่าอากาศยานตรงจุดที่อยู่ในปัจจุบัน ฮิลลารีซื้อที่ดินนี้จากขาวเชอร์ปาท้องถิ่นด้วยมูลค่า US$2,650 รวมถึงยังจ้างชาวเชอร์ปาท้องถิ่นมาช่วยก่อสร้างท่าอากาศยานด้วย[4] ว่ากันว่าฮิลลารีพอใจแรงต้านทานของดินตรงรันเวย์ เขาจึงเลือกซื้อสุราท้องถิ่นไปให้กับชาวเชอร์ปาและร้องขอให้พวกเขาเต้นกระทืบเท้าบนรันเวย์ เพื่อให้ดินตรงนั้นเรียบและใข้งานเป็นรันเวย์ได้[5] รันเวย์นี้ไม่ถูกปูด้วยยางมะตอยจนถึงปี 2001[6]
ในเดือนมกราคม 2008 ได้มีการเปลี่ยนชื่อท่าอากาศยานใหม่เพื่อเป็นเกียรติแก่ชาวเชอร์ปา เทนซิง โนร์กาย และ เซอร์เอ็ดมันด์ ฮิลลารี ผู้พิชิตเขาเอเวอเรสต์คนแรก และผู้มีส่วนร่วมในการก่อสร้างท่าอากาศยานนี้[7]
ลักษณะ
[แก้]ท่าอากาศยานประกอบด้วยรันเวย์เดียว เป็นรันเวย์ปูยางมะตอย ซึ่งสามารถรองรับได้แค่เฮลิคอปเตอร์และอากาศยาน สโตล เช่น DHC-6 ทวินออตเตอร์, ดอร์เนียร์ 228, แอล-410 เทอร์โบเลต และ พีลาทัส พีซี-6 รันเวย์มีขนาด 527 m (1,729 ft) × 30 m (98 ft) และความชัน 11.7%[1] ความสูงจากระดับน้ำทะเลของท่าอากาศยานอยู่ที่ 9,334 ft (2,845 m)[1]
เที่ยวบิน
[แก้]สายการบิน | จุดหมายปลายทาง
|
---|---|
สีตาแอร์ | กาฐมาณฑุ,[8] มันตลี[9] |
ซัมมิตแอร์ | กาฐมาณฑุ, มันตลี[9][10] |
ตาราแอร์ | กาฐมาณฑุ,[11] มันตลี[9] เช่าเหมาลำได้จาก: ผาปลู |
นอกจากนี้ยังมีแอร์ไดนัสตีที่ให้บริการเฮลิคอปเตอร์โดยมีฮับอยู่ที่นี่[12]
อุบัติเหตุ
[แก้]- 15 ตุลาคม 1973: รอยัลเนปาลแอร์ไลนส์ DHC-6 ทวินออตเตอร์ 300 (ป้าย 9N-ABG) ได้รับความเสียหายเกินซ่อมได้ขณะลงจอด ผู้โดยสารและลูกเรือไม่ได้รับบาดเจ็บใด ๆ[13]
- 9 มิถุนายน 1991 เนปาลแอร์ไบนส์ DHC-6 ทวินออตเตอร์ 300 (ป้าย 9N-ABA) จากกาฐมาณฑุพุ่งชนหลังลงจอดโดยไม่สมดุลเนื่องจากวภาพอากาศแย่ ลูกเรือและผู้โดยสารปลอดภัยทั้งหมดมีเพียงได้รับบาดเจ็บ[14]
- 26 กันยายน 1992 รอยัลแอร์เนปาล ฮอาร์บิน ยุนซูจี Y-12-II (ป้าย 9N-ACI) หล่นขณะเทคออฟ ลูกเรือและผู้โดยสารปลอดภัยทั้งหมด[15]
- 25 พฤษภาคม 2004 เยติแอร์ไลนส์ DHC-6 ทวินออตเตอร์ 300 (ป้าย 9N-AFD) ชนเข้ากับเขาลัมจุรา (Lamjura Hill) เพราะเมฆหนา ลูกเรือและผู้โดยสารปลอดภัยทั้งหมด[16]
- 1 ตุลาคม 2004 สีตาแอร์ ดอร์เนียร์ 228 ส่วนจมูกพังเสียกายขณะไถไปตามรันเวย์ ท่าอากาศยานต้องปิดสองวัน[17]
- 30 มิถุนายน 2005 โกรข่าแอร์ไลนส์ ดอร์เนียร์ 228 ไถลออกนอกรันเวย์ ลูกเรือและผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย[18][19]
- 8 ตุลาคม 2008 เยติแอร์ไลนส์ เที่ยวบินที่ 103 DHC-6 ทวินออตเตอร์ 300 (ป้าย 9N-AFE) ชนและลุกติดไฟ ลูกเรือและผู้โดยสาร 18 คนเสียชีวิต ยกเว้นกัปตันคนเดียว[20]
- 12 ตุลาคม 2010 สีตาแอร์ ดอร์เนียร์ 228 (ป้าย 9N-AHB) เบรกไม่ทำงาน ชนเข้ากับผนังปลายรันเวย์ ลูกเรือและผู้โดยสารปลอดภัยทั้งหมด ส่วนจมูกของเครื่องบินเสียหาย[21]
- 26 กันยายน 2013 เฮลิคอปเตอร์ของแอร์ไดนัสตี (ป้าย 9N-AEX) ชนหลังเกี่ยวเข้ากับลวดหนามของสนามบิน ลูกเรือและผู้โดยสารปลอดภัยทั้งหมด[22]
- 27 พฤษภาคม 2017 ซัมมิตแอร์ เที่ยวบินที่ 409 บินขนส่งคาร์โกด้วยเครื่อง Let L-410 สภาพการมองเห็นเลวร้าย สูญเสียการคงคะดับ ไถลลงจากเนินของเขาไป 200 เมตร ลูกเรือเสียชีวิตสองราย รอดชีวิตหนึ่งคน[23][24][25]
- 14 เมษายน 2019 ซัมมิตแอร์ Let L-410 Turbolet ป้าย 9N-AMH ไม่มีผู้โดยสาร ชนเข้ากับเฮลิคอปเตอร์ ยูโรคอปเตอร์ AS 350B3e ของมานังแอร์ ป้าย 9N-ALC บนลานจอดเฮลิคอปเตอร์ 30 ถึง 50 เมตรจากรันเวย์ ทั้งสองอากาศยานเสียหาย เฮลิคอปเตอร์อีกลำของศรีแอร์ไลนส์ ยูโรคอปเตอร์ AS 350 ป้าย 9N-ALK เสียหายเล็กน้อย กัปตันและรองกัปตันเสียชีวิตรวม 3 ราย[26][27][28][29]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "National Airports Plan – Current Situation and Diagnostic" (PDF). Civil Aviation Authority of Nepal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2 April 2015. สืบค้นเมื่อ 7 March 2015.
- ↑ 2.0 2.1 Airport information for Lukla, Nepal – Tenzing–Hillary Airport (VNLK / LUA) at Great Circle Mapper.
- ↑ 3.0 3.1 "Most Extreme Airports". History Specials. ฤดูกาล 1. ตอน 104. The History Channel. 26 August 2010.
- ↑ Ibišbegović, Denis; Vesić, Zoran; Dikić, Nenad (2012). Inspirisani trenutkom: put za Everest bazni kamp. Belgrade: Nenad Dikić. pp. 49–50. ISBN 9788691549107. สืบค้นเมื่อ 30 October 2017.
- ↑ "Nepal quake tough test for 'world's most dangerous airport'". The Himalayan Times. สืบค้นเมื่อ 30 October 2017.
- ↑ Drescher, Cynthia (12 April 2016). "This Is the World's Most Dangerous Airport". CN Traveler. สืบค้นเมื่อ 30 October 2017.
- ↑ "Nepal to name Everest airport after Edmund Hillary and Tenzing Norgay". International Herald Tribune. 15 January 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 February 2008. สืบค้นเมื่อ 27 April 2010.
- ↑ "Flight Schedule". Sita Air. สืบค้นเมื่อ 1 May 2018.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 "Regular flight started from Ramechhap to Lukla". República. 1 October 2022. สืบค้นเมื่อ 8 October 2022.
- ↑ "Flight Schedule". Summit Air. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-01. สืบค้นเมื่อ 1 April 2019.
- ↑ "Flight Schedule". Tara Air. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-06. สืบค้นเมื่อ 1 October 2018.
- ↑ "Air dynasty operating service from three bases around the country". Aviation Nepal. สืบค้นเมื่อ 1 November 2017.
- ↑ Aviation Safety Network เก็บถาวร 2010-02-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 18 November 2006.
- ↑ "ASN Aircraft accident de Havilland Canada DHC-6 Twin Otter 300 9N-ABA Lukla Airport (LUA)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-20. สืบค้นเมื่อ 23 June 2011.
- ↑ "ASN Aircraft accident Harbin Yunshuji Y-12-II 9N-ACI Lukla Airport (LUA)". Aviation-safety.net. 26 September 1992. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-25. สืบค้นเมื่อ 9 February 2012.
- ↑ Aviation Safety Network เก็บถาวร 2011-10-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 18 November 2006.
- ↑ "Lukla airport still closed". Nepali Times. สืบค้นเมื่อ 1 November 2020.
- ↑ Airline Industry Information เก็บถาวร 2016-01-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 30 June 2005.
- ↑ Aviation Safety Network เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 18 November 2006.
- ↑ BBC News. Retrieved 8 October 2008.
- ↑ Air Crash Observer "Air Crash Observer: News". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2011.. Retrieved 15 December 2010
- ↑ "Chopper crashes in Lukla, minor injuries". Nepalnews.com. 26 September 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2016.
- ↑ Hradecky, Simon (27 May 2017). "Accident: Summit L410 at Lukla on May 27th 2017, contacted trees and impacted ground before runway". The Aviation Herald. สืบค้นเมื่อ 28 May 2017.
- ↑ Pokhrel, Rajan (28 May 2017). "Lukla air crash toll reaches 2 as co-pilot dies for want of treatment". The Himalayan Times. สืบค้นเมื่อ 30 May 2017.
- ↑ Kelly, Michael (29 May 2017). "Kiwi 'heroes' in dramatic Mt Everest rescue after cargo plane slams into mountain". New Zealand Herald. สืบค้นเมื่อ 18 June 2017.
- ↑ Pokhrel, Rajan (14 April 2019). "Three killed, four injured in Lukla crash". No. 14 April 2019. The Himalayan Times. สืบค้นเมื่อ 14 April 2019.
- ↑ Prasain, Sangam (14 April 2019). "At least three killed in Summit Air plane crash at Lukla airport". No. 14 April 2019. The Kathmandu Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-15. สืบค้นเมื่อ 14 April 2019.
- ↑ "Lukla plane–chopper collision kills 3". No. 14 April 2019. Nepali Times. 14 April 2019. สืบค้นเมื่อ 14 April 2019.
- ↑ "Developing story". Aviation Safety Network. Flight Safety Foundation. สืบค้นเมื่อ 14 April 2019.